ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากข้าว

กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมไทยจากแป้งข้าว

ขนมไทย เป็นภูมิปัญญาของคนไทย ที่ใช้ส่วนประกอบหลัก 3 อย่าง คือ แป้งข้าว น้ำตาลและมะพร้าว นำมาดัดแปลง ทำขนมได้หลายรูปแบบ เช่น ทอด นึ่ง ปิ้งและกวน ซึ่งต้องการคุณสมบัติทางเคมีของข้าวที่แตกต่างกัน เช่น ปริมาณอมิโลส การแตกตัวของเม็ดแป้ง และการดูดน้ำของแป้ง แป้งที่ทำขนมจะใช้แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้าผสมแป้งข้าวเหนียว และจากเมล็ดข้าว ลักษณะของแป้งข้าวเจ้าเมื่อทำให้สุกจะขุ่น ร่วน ทิ้งไว้ให้เย็นจะอยู่ตัวเป็นก้อน ไม่เหนียว เหมาะสำหรับทำอาหารที่ต้องการความอยู่ตัว เช่น ขนมกล้วย ขนมขี้หนู เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นขนมจีน ส่วนลักษณะของแป้งข้าวเหนียวเมื่อทำให้สุกจะขุ่น ข้น จับตัวเป็นก้อน ค่อนข้างเหนียว เหมาะสำหรับอาหารที่ต้องการความเหนียว เกาะตัว เช่น ขนมเหนียว ขนมถั่วแปบ สูตรขนมไทยทั่วไปใช้วิธีการตวงเป็นปริมาตรเป็นสูตรไม่แน่นอน ปรับตามความชำนาญของคนทำ จึงได้ปรับสูตรเป็นระบบน้ำหนัก และหาคุณสมบัติแป้งข้าวสำหรับทำขนมไทยประเภทต่างๆ ทำให้การทำขนมง่าย สะดวก และตรงตามวัตถุประสงค์ของการทำขนมแต่ละประเภท

 

1. ข้าวเกรียบปากหม้อ

2. ขนมถ้วย

3. ขนมชั้น

4. น้ำดอกไม้

5. ขนมกล้วย

6. ข้าวเกรียบอ่อน

7. ขนมขี้หนู

8. สอดไส้ หรือขนมสามไฟ

9. ขนมเทียน

10. ถั่วแปบ

11. ถ้วยฟู

12. ขนมเหนียว

13. ครองแครงกะทิ

14. กะละแม

15. เปียกอ่อน

16. ตะโก้

17. ขนมโก๋

18. ปลากริมไข่เต่า

19. ลอดช่องไทย

20. ช่อม่วง-จีบไทย

21. เปียกปูน

22. หม้อแกง

23. เสน่ห์จันทน์

24. แดกงา

25. ขนมดอกอัญชัน

26. จ่ามงกุฎ

27. ขนมหัวผักกาดหวาน

28. ขนมไข่หงส์

29. ขนมดอกจอก

30. ขนมเกลียวทอง

31. ขนมกรุบ

32. กรอบเค็ม

33. ขนมฝักบัว

34. ขนมด้วงกรอบ

35. ขนมแป้งถั่วทอด

36. ขนมกล้วยแขก

37. ขนมกล้วยแผ่

38. ขนมงาทอด

39. ขนมสามเกลอ

40. ขนมไข่ลายงา

41. ขนมทอง

42. ขนมทองม้วน

43. ขนมแป้งจี่

44. ขนมต้ม

45. ขนมด้วง

46. ขนมบัวลอย

47. ขนมจาก

48. ขนมเบื้องไทย

49. ขนมรังผึ้ง

50. ขนมครก