ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากข้าว

ขนมขี้หนู

 

ลักษณะขนม

เนื้อขนมนุ่มเป็นปุย  รสหวาน หอมน้ำตาลมะพร้าว  และควันเทียน  สามารถทำแล้วปั้นเป็นก้อนได้

ส่วนผสมแป้ง
แป้งข้าวเจ้า 100         กรัม
กะทิกลาง 80         กรัม
ส่วนผสมน้ำเชื่อม
น้ำตาลทราย 185         กรัม
น้ำลอยดอกมะลิ   200         กรัม
ส่วนผสมโรยหน้า
มะพร้าวทึนทึก    200         กรัม
เกลือ 3         กรัม
วิธีทำ

1. นวดแป้งข้าวเจ้ากับกะทิให้เข้ากัน  นวดพอแป้งจับตัวเป็นก้อน
2. ชุบผ้าขาวบางกับน้ำพอหมาดปูลังถึง นำแป้งมายีบนแร่งร่อนแป้ง ให้แป้งร่อนพรู
3. นึ่งไฟแรงประมาณ  15  นาที
4. เทแป้งร้อน ๆ ลงในน้ำเชื่อมที่ยังร้อนอยู่ในน้ำเชื่อม  200-220  กรัม 
    (ที่ยังร้อนอยู่) แล้วแต่ชนิดของแป้งโดยสังเกตว่าเมื่อใส่น้ำเชื่อมแล้ว
    ถ้าขนมยังร่วนอยู่ต้องเพิ่มน้ำเชื่อมอีก จนแป้งอิ่มน้ำ
5. ปิดฝาทิ้งไว้สัก 20 นาที เมื่อแป้งดูดน้ำเชื่อม เปิดออกใช้ส้อมเขี่ยแป้งให้กระจาย
    แล้วอบควันเทียน
6. นึ่งมะพร้าวทึนทึกขูดฝอย  10  นาที  โรยเกลือป่นคลุก ให้เข้ากัน
7. รับประทานกับมะพร้าวขูดฝอย

 

 

หมายเหตุ

1. ขนมขี้หนูต้องใช้ข้าวอมิโลสสูง เพราะถ้าข้าวอมิโลสต่ำ ขนมจะเกาะตัวเป็นก้อน
    ไม่ร่วนฟู  และแป้งต้องมีความสามารถอมน้ำได้ดี  ขนมจึงจะนิ่ม
2. ข้าวที่มีอมิโลสสูง  เหมือนกัน ยังมีความสามารถในการอมน้ำไม่เท่ากัน  ต้อง
    สังเกตขณะที่เทน้ำเชื่อมว่าแป้งยังมีความสามารถในการดูดน้ำอีกหรือไม่
3. น้ำที่ใช่นึ่ง เพียงครึ่งลังถึง ถ้ามากไปแป้งจะแฉะ

สรุป ขนมขี้หนู สุพรรณบุรี 2 และพิษณุโลก 2 (อมิโลสปานกลางและสูง)