แมลงศัตรูข้าว และการป้องกันกำจัด

แมลงบั่ว (rice gall midge, RGM)

แมลงบั่ว (rice gall midge, RGM) 

 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Orseolia oryzae (Wood-Mason)
วงศ์ :Cecidomyiidae
อันดับ :Diptera
ชื่อสามัญอื่น : -
วงจรชีวิตและระยะทำลายพืช
ไข่ หนอน ดักแด้ ตัวเต็มวัย
 

        แมลงบั่ว Orseolia oryzae (Wood-Mason) ตัว เต็มวัยของแมลงบั่ว มีลักษณะคล้ายยุงหรือริ้นลำตัวยาวประมาณ3-4มิลลิเมตรหนวด และขามีสีดำ  เวลากลางวันตัวเต็มวัย จะเกาะซ่อนตัวอยู่ใต้ใบข้าวบริเวณกอข้าวและจะบินไปหาที่มีแสงไฟเพื่อผสม พันธุ์เพศผู้มีลำตัวสีน้ำตาลปนเหลืองขนาดเล็กกว่าเพศเมียเพศเมียส่วนท้องมี สีแดงส้มวางไข่ใต้ใบข้าวเป็นส่วนใหญ่ในตอนกลางคืนโดยวางเป็นฟองเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม 3-4 ฟอง เพศเมีย 1 ตัวสามารถวางไข่ได้หลายร้อยฟองในชั่ว อายุ 4 วัน ไข่มีลักษณะคล้ายกล้วยหอม สีชมพูอ่อน ยาวประมาณ 0.45 มิลลิเมตร กว้าง 0.09มิลลิเมตร ระยะไข่ประมาณ 3-4 วัน ไข่ต้องการความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ในการฟักออกเป็นตัวหนอน ตัวหนอนคล้ายหนอนแมลงวันหัวท้ายเรียวหนอนมี3ระยะ ตัวหนอนที่ฟักจากไข่จะคลานตามบริเวณกาบใบเพื่อแทรกตัวเข้าไปในกาบใบ เข้าไปอาศัยกัดกินที่จุดเจริญ (growing point)ของตายอดหรือตาข้างที่ข้อ ระยะหนอนนาน 11 วัน ขณะที่หนอนอาศัยกขัดกินอยู่ภายในตาที่กำลังเจริญเติบโตต้นข้าวจะสร้างหลอด หุ้มตัวหนอนไว้ทำให้เกิดเป็นช่องกลวงที่เรียกว่า“หลอดบั่วหรือหลอดหอม”หลอด จะยิ่งขยายใหญ่ขึ้นตรงส่วนที่ถูกหนอนบั่วทำลาย มีลักษณะเป็นหลอดยาว มีสีเขียวอ่อน แตกต่างจากหน่อข้าวปรกติ  ต้นข้าวและกอข้าวที่ถูกทำลายมีอาการแคระแกร็น เตี้ย ลำต้นกลม สีเขียวเข้ม ไม่ออกรวง


    ดักแด้มีสีชมพูอ่อนและกลายเป็นสีแดงก่อนออกเป็นตัวเต็มวัย เมื่อดักแด้ใกล้จะฟักออกเป็นตัวเต็มวัยจะเคลื่อนย้ายมาอยู่ส่วนปลายของหลอด ข้าวนั้น และเจาะออกเป็นตัวเต็มวัยที่ปลายหลอดนั่นเอง พร้อมทั้งทิ้งคราบดักแด้ไว้ที่รอยเปิดนั้น โดยปรกติจะออกเป็นตัวเต็มวัยในเวลากลางคืน ระยะดักแด้นาน 6 วัน แมลงบั่วจะพักตัวในระยะดักแด้ในช่วงฤดูแล้ง โดยอาศัยอยู่ที่ส่วนตาของพืชอาศัย ระยะตัวเต็มวัยนาน 3-4 วัน ฤดูปลูกหนึ่งๆแมลงบั่ว สามารถขยายพันธุ์ได้ 6-7 ชั่วอายุๆที่ 2 3 และ 4 จะเป็นชั่วอายุที่สามารถทำความเสียหายให้ข้าวได้มากที่สุด

 

        ตัวเต็มวัยของแมลงบั่ว มีลักษณะคล้ายยุงแต่ลำตัวมีสีส้มยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตรหนวด และขามีสีดำ เวลากลางวันตัวเต็มวัยจะเกาะซ่อนตัวอยู่ใต้ใบข้าว บริเวณกอข้าวและจะบินไปหาที่มีแสงไฟเพื่อผสมพันธุ์ ตัวเมียวางไข่ใต้ใบข้าวเป็นส่วนใหญ่ในตอนกลางคืนโดยวางเป็นฟองเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม ไข่มีลักษณะคล้ายกล้วยหอม สีชมพูอ่อน ยาวประมาณ 0.45 มิลลิเมตร กว้าง 0.09มิลลิเมตร ระยะไข่ประมาณ 3-4 วัน ตัวหนอนที่ฟักจากไข่จะคลานตามบริเวณกาบใบเพื่อแทรกตัวเข้าไปในกาบใบ เข้าไปอาศัยกัดกินที่จุดกำเนิดของหน่ออ่อน (growing point) หนอนมี 3 ระยะ ระยะหนอนนาน 11 วัน ขณะที่หนอนอาศัยกัดกินหน่ออ่อนนั้น ต้นข้าวจะสร้างหลอดหุ้มตัวหนอนไว้ ทำให้ข้าวแสดงอาการ ที่เรียกว่า “หลอดบั่ว หรือ หลอดธูป” หนอนก็เจริญและเข้าดักแด้ภายในหลอดข้าวนั้น โดยระหว่างที่หนอนโตขึ้นหลอดก็จะมีขนาดใหญ่และยืดออก และเมื่อหนอนเข้าดักแด้ หลอดนั้นก็จะยืดโผล่พ้นกาบใบข้าวจนมองเห็นจากภายนอกได้ ระยะดักแด้นาน 6 วัน เมื่อดักแด้ใกล้จะฟักออกเป็นตัวเต็มวัยจะเคลื่อนย้ายมาอยู่ส่วนปลายของหลอดข้าวนั้น และเจาะออกเป็นตัวเต็มวัยที่ปลายหลอดนั่นเอง พร้อมทั้งทิ้งคราบดักแด้ไว้ที่รอยเปิดนั้น ระยะตัวเต็มวัยนาน 2-3 วันฤดูหนึ่งบั่ว สามารถขยายพันธุ์ได้ 6-7 ชั่วอายุๆที่ 2, 3 และ 4 จะเป็นชั่วอายุที่สามารถทำความเสียหายให้ข้าวได้มากที่สุด

 

ระยะการเจริญเติบโตของแมลงบั่ว

ลักษณะการทำลายและการระบาด

       แมลงบั่วเป็นแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญในภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะที่จังหวัดตาก แพร่ ลำปาง น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน เชียงราย และเชียงใหม่ ระบาดรุนแรงในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ จังหวัดเลย อุบลราชธานี หนองคาย นครพนม และ สกลนคร เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการเพิ่มปริมาณของแมลงบั่ว กล่าวคือ มีความชื้นสูง มีพื้นที่เป็นเขาหรือเชิงเขาล้อมรอบ ทั้งนี้เพราะความชื้นมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการวางไข่ จำนวนไข่ การฟักไข่ การอยู่รอดหลังจากฟักจากไข่ของหนอนและการเข้าทำลายยอดข้าวอ่อน

       แมลงบั่วจะออกเป็นตัวเต็มวัยเมื่อเริ่มฤดูฝน โดยจะอาศัยและเจริญเติบโตอยู่บนพืชอาศัยพวกข้าวป่าและหญ้าต่างๆ 1-2 ชั่วอายุ จนกระทั่งเริ่มมีการปลูกข้าว ตัวเต็มวัยแมลงบั่วจะเข้าแปลงนาตั้งแต่ระยะกล้า หรือช่วงระยะเวลา 25-30 วัน เพื่อวางไข่หลังจากฟักออกตัวหนอนจะคลานลงสู่ซอกของใบยอดและกาบใบเพื่อเข้า ทำลายยอดที่กำลังเจริญทำให้เกิดเป็นหลอดลักษณะคล้ายหลอดหอม หลอดจะปรากฏภายใน 1 สัปดาห์ หลังจากที่ตัวหนอนเข้าไปที่จุดเจริญของข้าว ต้นข้าวและกอข้าวที่ถูกทำลายจะมีอาการแคระแกร็น เตี้ย ลำต้นกลม มีสีเขียวเข้ม ยอดที่ถูกทำลายไม่สามารถออกรวงได้ ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงมาก ระยะข้าวแตกกอจะเป็นระยะที่บั่วเข้าทำลายมาก เมื่อข้าวเกิดช่อดอก (primodia) แล้วจะไม่ถูกหนอนบั่ว พบระบาดมากในช่วงฤดูฝน ในสภาพที่มีเมฆมากหรือมีฝนตก 

ลักษณะการทำลายของแมลงบั่ว


พืชอาหาร


         ข้าว ข้าวป่า หญ้าไซ หญ้าปล้องเขียว หญ้าปล้องหิน หญ้าชันกาดและหญ้าตีนติด

 

 

การป้องกันกำจัด

        1) ขจัดวัชพืชรอบแปลงนา เช่น ข้าวป่า หญ้าข้าวนก หญ้าไซ หญ้าแดง หญ้าชันกาด และหญ้านกสีชมพู ก่อนตกกล้าหรือหว่านข้าวเพื่อทำลายพืชอาศัยของแมลงบั่ว

        2) ภาคเหนือ ควรปลูกข้าวหรือปักดำช่วงวันที่ 15 กรกฎาคม - สิงหาคม หรือปรับวิธีปลูกโดยการปักดำ 2 ครั้ง เพื่อลดความรุนแรงที่เกิดจากการทำลายของแมลงบั่ว หลังปักดำจนถึงข้าวอายุ 45 วัน ส่วน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ควรปลูกหรือปักดำระหว่างเดือนมิถุนายน – 15 กรกฎาคม

        3) ไม่ควรปลูกข้าวโดยวิธีหว่านหรือปักดำถี่ (ระยะปักดำ 10x15 และ 15x15 เซนติเมตร) ในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีการระบาดของแมลงบั่วเป็นประจำ

        4) ทำลายตัวเต็มวัยที่บินมาเล่นแสงไฟตามบ้านช่วงเวลาตั้งแต่ 19:00-21:00 น. โดยใช้ไม้ตีแมลงวัน

        5) ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงใดๆ ในการป้องกันกำจัดแมลงบั่วเนื่องจากไม่ได้ผลและยังทำลายศัตรูธรรมชาติ