แมลงศัตรูข้าว และการป้องกันกำจัด

หนอนกระทู้กล้า

 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spodoptera mauritia (Boisduval)
วงศ์ : Noctuidae
อันดับ : Lepidoptera
 
 
 
 

 

ผีเสื้อหนอนกระทู้กล้า Spodoptera mauritia (Boisduval)
ตัวหนอนกระทู้กล้า
 

    ผีเสื้อหนอนกระทู้กล้า Spodoptera mauritia (Boisduval) เป็นผีเสื้อกลางคืนปีกคู่หน้าสีเทาปนน้ำตาล  ความกว้างของปีกกลางออกประมาณ 3.5-4 เซนติเมตร ปีกคู่หลังสีขาว บินเก่งสามารถอพยพได้ไกลเป็นระยะทางหลายสิบ หรือหลายร้อยกิโลเมตร  วางไข่เป็นกลุ่มบริเวณยอดอ่อนของข้าว ตัวหนอนมีสีเทาถึงเขียวแกมดำ ด้านหลังมีลายตามความยาวของลำตัวจากหัวจรดท้าย  แต่ละปล้องมีจุดสีดำ   ตัวหนอนฟักจากไข่ช่วงเช้าตรู่ และรวมกลุ่มกันกัดกินส่วนปลายใบข้าว กลางวันจะหลบอยู่ในดินใต้เศษใบพืช  ในพื้นนาที่แห้ง บางส่วนอยู่บนต้นข้าวส่วนที่อยู่เหนือน้ำในนาที่ลุ่ม  ชอบเข้าดักแด้ในดินหรือบนต้นหญ้าตามขอบแปลง ตัวหนอนโตเต็มที่ยาวประมาณ  3.5-4 มิลลิเมตร กว้าง 5-6 มิลลิเมตร  ชีพจักรจะแตกต่างกันตามพื้นที่ระบาด

ลักษณะการทำลายและการระบาด

        โดยทั่วไปหนอนจะทำลายข้าวในเวลากลางคืนหนอนระยะแรกจะกัดกินผิวข้าวเมื่อโตขึ้นจะกัดกินกัดกินทั้งใบ และต้นข้าวเหลือไว้แต่ก้านใบตัวหนอนจะกัดกินต้นกล้าระดับพื้นดินนาข้าวจะถูกทำลายแหว่งเป็นหย่อมๆและอาจเสียหายได้ภายใน 1-2 วัน    ความเสียหายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หนอนมีการเคลื่อนย้ายเป็นกลุ่มคล้ายกองทัพ จากการขยายพันธุ์หลายๆ รุ่นบนวัชพืชพวกหญ้า และเคลื่อนเข้าสู่แปลงกล้าและนาข้าวจากแปลงหนึ่งไปยังอีกแปลงหนึ่ง  มักพบระบาดในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะหลังจากผ่านช่วงแล้งที่ยาวนาน แล้วตามด้วยฝนตกหนัก การระบาดจะรุนแรงเป็นบางปี บางพื้นที่

ลักษณะต้นข้าวที่ถูกหนอนกระทู้ทำลายอย่างรุนแรง

การป้องกันกำจัด

1). กำจัดวัชพืชตามคันนาหรือบริเวณใกล้เคียงเพื่อทำลายแหล่งอาศัย
2). ใช้สารฆ่าแมลง มาลาไทออน (มาลาไธออน 83% อีซี) อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เฟนิโตรไทออน (ซูมิไทออน 50% อีซี) อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเมื่อพบใบข้าวถูกทำลายมากกว่า 15 เปอร์เซ็นต์