พันธุ์ข้าว

ข้าวเหนียวลืมผัว ( Leum Pua)

ชื่อพันธุ์ - ข้าวเหนียวลืมผัว
ชนิด - ข้าวเหนียว
ประวัติพันธุ์


 
-


 
ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวเหนียวนาปีของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวม้ง จากจังหวัดตาก ปลูกเปรียบเทียบกับข้าวที่ปลูกจากแหล่งเดิม (อำเภอพบพระ) และคัดเลือกพันธุ์ให้บริสุทธิ์ ระหว่างปี 2534-2538
การรับรองพันธุ์
 
-
 
คณะกรรมการบริหาร กรมการข้าว มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2555

ลักษณะประจำพันธุ์ - เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 151 เซนติเมตร
  - ไวต่อช่วงแสง อายุเบา เก็บเกี่ยวประมาณกลางเดือนตุลาคม
  - ทรงกอตั้ง ต้นแข็ง ไม่ล้มง่าย ปล้องสีเหลืองอ่อน กาบใบและใบสีเขียว ลิ้นใบสีน้ำตาลอ่อน หูใบสีเหลืองน้ำตาล ใบธงหักลง คอรวงยาว รวงค่อนข้างแน่น
  -


 
กลีบดอกระยะออกรวง 50 % มีสีเขียวอ่อน เมื่อระยะน้ำนมกลีบดอกจะเปลี่ยนเป็นแถบสีม่วงบนพื้นสีเขียวอ่อน เมื่อเข้าสู่ระยะแป้งแข็งสีกลีบดอกจะเปลี่ยนเป็นสีฟางแถบม่วงดำ และเมื่อระยะข้าวสุกแก่สีเปลือกเมล็ดเปลี่ยนสีฟางแถบดำหรือสีฟาง
  - เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางแถบดำ
  - ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์
  - เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.7 x 3.7 x 2.2 มิลลิเมตร
  - เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.9 x 2.8 x 1.9 มิลลิเมตร
  - คุณภาพการสีดีได้ข้าวเต็มเมล็ด
ผลผลิต - -
ลักษณะเด่น - ข้าวกล้องเมื่อหุงสุก มีกลิ่นหอม ลักษณะสัมผัสแรกเดี้ยวจะกรุบ หนึบ ภายในนุ่มเหนียว
  - คุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะสารต้านอนุมูลอิสระรวม สารเหล่านี้ ได้แก่ แอนโทไซยานิน และแกมมา โอไรซานอล กรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น โอเมกา 3 โอเมกา 6 และโอเมกา 9 วิตามิน เข่น วิตามิน อี ธาตุอาหาร เช่น เหล็ก แคลเซียม แมกกานีส
ข้อควรระวัง - อ่อนแอต่อโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว
พื้นที่แนะนำ -

สภาพไร่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินดี ที่ระดับความสูงประมาณ 400-800 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง