พันธุ์ข้าว

เล็บมือนาง 111 (Leb Meu Nahng 111)


 

 

ชื่อพันธุ์ - เล็บมือนาง 111 (Leb Meu Nahng 111)
ชนิด - ข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์ - ได้จากการรวบรวมพันธุ์พื้นเมืองโดยนายสุรศักดิ์ แสงสวาสดิ์ จากอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ ปี พ.ศ.2493 จำนวน 127 รวง ปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ ที่สถานีทดลองข้าวหันตรา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คัดได้สายพันธุ์ เล็บมือนาง 14 – 12 – 111
การรับรองพันธุ์ - คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2502

 

 

ลักษณะประจำพันธุ์ - เป็นข้าวเจ้าพันธุ์พื้นเมือง สามารถขึ้นน้ำได้ในน้ำลึกไม่เกิน 4 เมตร
  - ไวต่อช่วงแสง
  - อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 19 ธันวาคม
  - ลำต้นสูง แตกกอปานกลาง ลำต้นและกาบใบสีเขียวอ่อน ใบกว้างและยาวสีเขียว รวงใหญ่ เมล็ดร่วงง่าย มีความสามารถยืดตัวตามน้ำได้ ชูรวงดี
  - เมล็ดข้าวเรียวยาว
  - ข้าวเปลือกสีฟาง ท้องไข่ค่อนข้างมาก
  - ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์
  - เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.3 x 2.8 x 2.1 มิลลิเมตร
  - เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.1 x 2.3 x 1.7 มิลลิเมตร
  - ปริมาณอมิโลส 29 – 32 %
  - คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง
ผลผลิต - ประมาณ 328 กิโลกรัมต่อไร่
ลักษณะเด่น - ขึ้นน้ำได้ดี ชูรวงดี
  - ทนแล้ง ทนดินเปรี้ยวได้ดี
  - ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล
ข้อควรระวัง - ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง โรคใบสีส้ม
  - ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว
พื้นที่แนะนำ - พื้นที่ข้าวขึ้นน้ำในภาคกลาง