ชื่อพันธุ์ |
- |
ข้าวหอมแดง (Red Hawn Rice) |
ชนิด |
- |
ข้าวเจ้า |
ประวัติพันธุ์ |
- |
พ.ศ. 2525 – 2526 จากการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของข้าวพันธุ์หลัก ขาวดอกมะลิ 105 ที่สถานีทดลองข้าวสุรินทร์ ซึ่งมีนายบุญโฮม ชำนาญกุล เป็นผู้อำนวยการสถานีในขณะนั้น พบว่า ในรวงข้าวจำนวนหนึ่งมีเมล็ดที่เป็นข้าวเหนียวปนอยู่ จึงแยกเมล็ดที่เป็นข้าวเหนียวปนอยู่ จึงแยกเมล็ดแต่ละรวงไปปลูกศึกษาลักษณะต่างๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 จากการแยกเมล็ดที่ปนอยู่กับข้าวขาวดอกมะลิ 105 ออกปลูกเป็นกอๆ และทำการศึกษาลักษณะของเมล็ดข้าวกล้อง พบว่ากอหนึ่งมีเยื่อหุ้มเมล็ด (Pericarp) ของข้าวกล้องสีแดงเรื่อๆ ซึ่งมีทั้งข้าวเหนียวและข้าวเจ้า ทางสถานีทดลองข้าวสุรินทร์จึงแยกชนิดข้าวเจ้า และข้าวเหนียวไว้ และให้ความสนใจเฉพาะที่เป็นข้าวเจ้า |
|
- |
พ.ศ. 2529 – 2530 เมล็ดข้าวแดงที่เชื่อว่ากลายพันธุ์มาจากข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยธรรมชาติ ถูกแบ่งและส่งไปปลูกที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ และสถานีทดลองขาวโคกสำโรง โดยนักวิชาการที่สนใจใช้เวลาว่างปลูกบริเวณพื้นที่หัว / ท้ายแปลงทดลอง เพื่อศึกษาคัดเลือกและพัฒนาพันธุ์ต่อเป็นสายพันธุ์ต่างๆ |
|
- |
พ.ศ. 2531 นายบุญโฮม ชำนาญกุล ย้ายไปเป็นผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ได้นำเอาเฉพาะเมล็ดข้าวเจ้าที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงไปปลูกคัดเลือกรวงและปลูกแบบรวงต่อแถว โดยมีข้าวแดงประมาณ 100 กว่าสายพันธุ์ และได้ทำการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวแดงหอมไว้ 50 สายพันธุ์ |
|
- |
พ.ศ. 2533 มีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดรุนแรง ปรากฏว่า มี 5 สายพันธุ์ ที่ไม่ถูกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลาย และได้ทำการคัดเลือกสายพันธุ์ดีเด่นเพียง 2 สายพันธุ์ คือ KDML105R-PSL-1 ซึ่งเป็นข้าวหนักและ KDML105R-PSL-2 ซึ่งเป็นข้าวเบา |
|
- |
พ.ศ. 2535 เกษตรกรที่อยู่ใกล้ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกได้นำเมล็ดข้าวสายพันธุ์ดีเด่น ไปปลูกและแปรรูปเป็นข้าวกล้องข้าวแดง จำหน่ายในชื่อ “ข้าวเสวย” |
|
- |
พ.ศ. 2536 พบว่า อายุสุกเก็บเกี่ยวของข้าวแดงหอมในแปลงเกษตรกรยังมีการกระจายตัว ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกจึงได้นำสายพันธุ์ข้าวเบาและข้าวหนักกลับมาคัดเลือกใหม่ |
|
- |
พ.ศ. 2538 ได้สายพันธุ์ KDML105R-PSL-E-14 |
|
- |
พ.ศ. 2542 สถาบันวิจัยข้าวเสนอขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร เป็น พันธุ์ข้าวทั่วไป โดยใช้ชื่อว่า ข้าวหอมแดง (Red Hawm Rice) |
ลักษณะประจำพันธุ์ |
- |
เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 120 – 130 เซนติเมตร |
|
- |
ไวต่อช่วงแสง |
|
- |
อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 20 พฤศจิกายน |
|
- |
ลำต้นแข็ง กอตั้ง |
|
- |
ใบสีเขียวอ่อน ใบโน้ม ใบธงตก |
|
- |
เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง |
|
- |
ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 8 สัปดาห์ |
|
- |
ท้องไข่น้อย |
|
- |
เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 9.6 x 3.9 x 2.3 มิลลิเมตร |
|
- |
เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.5 x 2.1 x 1.7 มิลลิเมตร |
|
- |
ปริมาณอมิโลส 16.9 % |
ผลผลิต |
- |
ประมาณ 643 กิโลกรัมต่อไร่ |
ลักษณะเด่น |
- |
เป็นข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงเข้ม |
|
- |
ข้าวสุกนุ่ม เหนียว และมีกลิ่นหอมเหมือนขาวดอกมะลิ 105 |
|
- |
ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในสภาพธรรมชาติได้ดี |
|
- |
ค่อนข้างต้านทานโรคไหม้ |
ข้อควรระวัง |
- |
อ่อนแอต่อโรคใบสีส้ม โรคขอบใบแห้ง และโรคใบขีดโปร่งแสง |
พื้นที่แนะนำ |
- |
ควรปลูกในพื้นที่เฉพาะ เพราะเป็นข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง การนำไปปลูกในแปลงข้าวขาวอาจทำให้ปะปนกัน |