พันธุ์ข้าว

ข้าวญี่ปุ่น กวก.2 (Khao’ Yipun DOA2)

ชื่อพันธุ์ - ข้าวญี่ปุ่น กวก.2 (Khao’Yipun DOA2)
ชนิด - ข้าวญี่ปุ่น
ประวัติพันธุ์ - สถาบันวิจัยข้าว เริ่มดำเนินงานเพื่อศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้น ตลอดจนความเป็นไปได้ใน
การปลูกข้าวญี่ปุ่นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507
  - พ.ศ. 2530 สถานีทดลองข้าวพานได้รวบรวมพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นจากแหล่งต่างๆ และส่วนหนึ่งรับเมล็ดพันธุ์ข้าวเพิ่มเติมจากอดีตผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านข้าว (นายประพาส วีระแพทย์) เพื่อนำไปปลูกขยายเมล็ดพันธุ์
  - พ.ศ. 2531 – 2532 ปลูกศึกษาพันธุ์ขั้นต้นที่สถานีทดลองข้าวพาน จำนวน 96 พันธุ์ โดยพิจารณาคัดเลือกไว้ดำเนินการศึกษาพันธุ์ต่อจำนวน 44 พันธุ์
  - พ.ศ. 2532 – 2533 ปลูกศึกษาพันธุ์ขั้นสูงที่สถานีทดลองข้าวพานและสถานีทดลองข้าวสันป่าตอง
  - พ.ศ. 2533 – 2534 ปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ระหว่างสถานี
  - พ.ศ. 2534 – 2538 ปลูกทดสอบผลผลิตในนาเกษตรกรในหลายจังหวัด พร้อมทั้งบันทึกผลผลิต ลักษณะทางการเกษตรที่สำคัญ ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาในช่วงฤดูปลูก ตรวจสอบคุณภาพเมล็ดทางกายภาพ และทางเคมี ตลอดจนทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคและแมลง พบว่าพันธุ์อกิตะโกมาชิ (Akitakomachi) มีคุณภาพใกล้เคียงกับพันธุ์โคชิฮิการิ (Koshihikari) ซึ่งเป็นข้าวชั้น 1 ของญี่ปุ่น มีความเหมาะสมและปลูกได้ผลดีในเขตภาคเหนือตอนบน
การรับรองพันธุ์ - คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็น พันธุ์แนะนำเมื่อวันที่ 22
กันยายน 2538
ลักษณะประจำพันธุ์ - เป็นข้าวเจ้านาสวน ไม่ไวต่อช่วงแสง สูงประมาณ 80 เซนติเมตร
  - อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 117 วัน
  - ต้นแข็ง ทรงกอตั้งตรง ใบแก่ช้าสีเขียวและมีขน กาบใบและปล้องสีเขียว ใบธงค่อนข้างตั้งตรง รวงแน่น ระแง้ถี่คอรวงสั้น
  - เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีขนสั้น ยอดเมล็ดสีฟาง มีหางบางเมล็ด
  - เมล็ดข้าวกล้อง ยาว 5.13 มิลลิเมตร ที่ท้องไข่น้อย
  - ปริมาณอมิโลส 15.6%
 
-
เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 7.3 x 3.3 x 2.2 มิลลิเมตร
ผลผลิต - ประมาณ 707 กิโลกรัมต่อไร่
ลักษณะเด่น - ให้ผลผลิตสูงในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์
  - สามารถปรับตัวได้ดีในพื้นที่ดินนาเขตภาคเหนือตอนบน
  -

คุณภาพการสีดีมาก ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวประมาณ 52%

  - คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี ตรงตามมาตรฐาน สำหรับผู้บริโภคข้าวญี่ปุ่น
  - ราคาสูงกว่าข้าวทั่วไป
ข้อควรระวัง - ในสภาพที่มีอากาศร้อนและความชื้นสูงจะไม่ต้านทานโรคไหม้
  - มีระแง้เหนียวมาก การนวดโดยการฟาดข้าวแบบธรรมดาจะนวดยาก หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วควรตากข้าวในนา 3 – 4 วัน แล้วนวดด้วยเครื่องนวดทันที
  - เมล็ดข้าวเปลือกเสื่อมความงอกเร็ว การเก็บเมล็ดพันธุ์ควรลดความชื้นเมล็ดให้เหลือ 8 – 10% และเก็บในปีบ หรือภาชนะที่สามารถปิดผนึกได้
  - ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคใบสีส้มและโรคขอบใบแห้ง
  - ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว เพลี้ยกระโดดหลังขาว
พื้นที่แนะนำ -

แนะนำให้ปลูกในเขตภาคเหนือตอนบน