ลักษณะประจำพันธุ์ |
- |
ความสูงประมาณ 88 เซนติเมตร |
|
- |
ไม่ไวต่อช่วงแสง |
|
- |
อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120 วัน |
|
- |
ต้นค่อนข้างแข็ง ทรงกอตั้งตรง ใบแก่ช้าสีเขียวและมีขน กาบใบและปล้อง สีเขียวใบธงค่อนข้างตั้งตรง รวงแน่น ระแง้ถี่คอรวงสั้น |
|
- |
เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีขนสั้น ยอดเมล็ดสีฟางและมีหางเล็กน้อย |
|
- |
เมล็ดข้าวกล้อง ยาว 5.18 มิลลิเมตร มีท้องไข่ระดับปานกลาง |
|
- |
ปริมาณอมิโลส 16.4% |
|
-
|
เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 7.4 x 3.5 x 2.2 มิลลิเมตร |
ผลผลิต |
- |
ประมาณ 718 กิโลกรัมต่อไร่ |
ลักษณะเด่น |
- |
ให้ผลผลิตสูงในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ |
|
- |
สามารถปรับตัวได้ดีในพื้นที่ดินนาเขตภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน |
|
- |
ทนทานต่อสภาพอากาศร้อนได้ดีกว่าข้าวญี่ปุ่นพันธุ์อื่นๆ
|
|
- |
คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดีตรงตามมาตรฐานสำหรับผู้บริโภคข้าวญี่ปุ่น |
|
- |
คุณภาพการสีดี ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวประมาณ 48% |
|
- |
ราคาสูงกว่าข้าวทั่วไป |
ข้อควรระวัง |
- |
ในสภาพที่มีอากาศร้อนและความชื้นสูงจะไม่ต้านทานโรคไหม้ |
|
- |
มีระแง้เหนียวมาก การนวดโดยการฟาดข้าวทำได้ยาก หลังจากเก็บเกี่ยวควรตากข้าวในนา 3 – 4 วัน แล้วนวดด้วยเครื่องนวดทันที |
|
- |
เมล็ดข้าวเปลือกเสื่อมความงอกเร็ว การเก็บเมล็ดพันธุ์ควรลดความชื้นเมล็ดให้เหลือ 8 – 10% และเก็บในภาชนะปิดผนึก |
|
- |
ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และโรคใบสีส้ม |
|
- |
ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว และเพลี้ยกระโดดหลังขาว |
พื้นที่แนะนำ |
- |
แนะนำให้ปลูกในเขตภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตอนบน |