ชื่อพันธุ์ |
-
|
บางแตน (Bahng Taen) |
ชนิด |
-
|
ข้าวเจ้า |
คู่ผสม |
-
|
สุพรรณบุรี 60 / IR60 // IR64 |
ประวัติพันธุ์ |
-
|
ได้จากการผสมพันธุ์แบบ 3 ทางระหว่างข้าวลูกผสมชั่วที่ 1 ของ
พันธุ์สุพรรณบุรี 60 และ IR60 กับ IR64 ที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท ในฤดูนาปี พ.ศ. 2532 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ CNT89020-9-2-2-3 |
การรับรองพันธุ์ |
-
|
คณะกรรมการบริหาร กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2547 |
|
ลักษณะประจำพันธุ์ |
-
|
เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 110 เซนติเมตร |
|
-
|
ไม่ไวต่อช่วงแสง |
|
-
|
อายุเก็บเกี่ยว 90–95 วัน ถ้าปลูกในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง มีนาคม และ 110-115 วัน ถ้าปลูกในช่วงเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม |
|
-
|
ทรงกอตั้ง ฟางแข็ง ใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง รวงยาว คอรวงยาว ระแง้ถี่ |
|
-
|
เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง |
|
-
|
ระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ ประมาณ 5 สัปดาห์ |
|
- |
เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา =10.1 x 2.6 x 2.1 มิลลิเมตร |
|
-
|
เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.6 x 2.3 x 1.9 มิลลิเมตร |
|
-
|
ปริมาณอมิโลสสูง (26.24 %) |
|
-
|
คุณภาพข้าวสุก ร่วน ค่อนข้างแข็ง |
ผลผลิต |
-
|
ประมาณ 705 กิโลกรัมต่อไร่ ในฤดูนาปี และประมาณ 827 กิโลกรัมต่อไร่ ในฤดูนาปรัง |
ลักษณะเด่น |
-
|
ต้านทานต่อโรคไหม้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่นสีเขียว ที่จังหวัดปราจีนบุรี |
ข้อควรระวัง |
-
|
ไม่ต้านทานต่อโรคกาบใบแห้ง และโรคไหม้คอรวง จึงควรระมัดระวังเมื่อนำไปปลูกในพื้นที่ที่มีโรคนี้เคยระบาด |
|
-
|
ไม่ต้านทานโรคไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคเหนือตอนล่าง ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคกลาง |
พื้นที่แนะนำ |
-
|
นาน้ำฝนโดยเฉพาะพื้นที่นาน้ำลึกในภาคตะวันออก ที่มีการชลประทานสนับสนุนการปลูกข้าวหลังน้ำลด (นาปี – นาปรัง) |
|
-
|
นาน้ำลึกในจังหวัดปราจีนบุรีที่ปรับระบบการปลูกข้าว เป็น นาปรัง – นาปรัง(ก่อนน้ำท่วม – หลังน้ำลด) เว้นพื้นที่นาว่างเปล่าในช่วงน้ำท่วมสูงสุดเพื่อเลี่ยงความเสียหาย |