|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์: Heteronychus lioderes
|
Alissonotum cribratellum
|
วงศ์ :Scarabaeidae
|
อันดับ :Coleoptera
|
ชื่อสามัญอื่น : -
|
|
|
|
ด้วง ดำเป็นแมลงจำพวกด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่งซึ่งเป็นศัตรูที่สำคัญของการปลูกข้าว โดยวิธีหว่านข้าวแห้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ ยโสธร และอุบลราชธานี พบมี 2 ชนิดคือ ด้วงดำขนาดตัวใหญ่ Heteronychus lioderes (ภาพที่1)และขนาดตัวเล็ก Alissonotum cribratellum โดย ทั้ง 2 ชนิดชอบบินมาเล่นแสงไฟตามบ้านเกษตรกรช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน และ พฤศจิกายน ถึง ธันวาคม ชนิดที่พบทำลายข้าวในนาส่วนมากเป็นด้วงดำขนาดตัวใหญ่ เกษตรกรในพื้นที่ระบาดรู้จักในชื่อ ด้วงซัดดัม หรือด้วงซัดดำ มักพบทำลายข้าวที่หว่านเร็วกว่าปรกติระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง มิถุนายน และมีฝนทิ้งช่วง15-45 วันหลังข้าวงอก
ความสำคัญและลักษณะการทำลาย
ด้วงดำเป็นแมลงศัตรูข้าวสำคัญของข้าวไร่และข้าวนาน้ำฝนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ นาข้าวที่พบระบาดรุนแรงจากการสำรวจเป็นพื้นที่ที่มีการหว่านข้าวแห้งเกือบ
100 เปอร์เซ็นต์ และหว่านข้าวเร็วกว่าฤดูปลูกปกติ โดยหว่านข้าวในช่วงปลายเดือนเมษายน ถึงมิถุนายน ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณด้วงดำที่พบมาเล่นแสงไฟในกับดักที่ติดตั้งไว้ ลักษณะการทำลายของด้วงดำ H. lioderes จะกัดกินส่วนอ่อนของต้นข้าวที่ชิดติดกับรากข้าวแต่อยู่ในดิน ที่เรียกว่า mesocotyl นอกจากต้นข้าวแล้วด้วงชนิดนี้ยังสามารถกัดกินวัชพืชพวกกก และวัชพืชในนาที่ขึ้นปะปนกับข้าวด้วย โดยลักษณะการทำลายจะเหมือนกับในข้าว ต้นข้าวที่ยังเล็กอายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ จะเสียหายมากเนื่องจากต้นกล้าข้าวยังไม่ทันตั้งตัวเมื่อถูกด้วงชนิดนี้ทำลาย จะเหี่ยวและเแห้งตาย คล้ายอาการเพลี้ยไฟทำลายแต่การแพร่กระจายไม่เหมือน เมื่อถอนต้นข้าวขึ้นมารากข้าวจะหลุดทำให้เข้าใจว่าด้วงชนิดนี้ทำลายรากข้าว ด้วย แต่ ถ้าใช้วิธีขุดต้นข้าวที่แสดงอาการใบเหลือง เหี่ยว จะพบว่ารากข้าวไม่ถูกกัดกินแต่อย่างไร ด้วงดำจะเคลื่อนย้ายทำลายข้าวต้นอื่นๆโดยการทำโพรงอยู่ใต้ดินในระดับใต้ราก ข้าวทำให้เห็นรอยขุยดินเป็นแนว ส่วนใหญ่มักพบตัวเต็มวัยของด้วงดำชนิดนี้ 1 ตัวต่อจุดที่ขุดสำรวจ และพบไข่มีลักษณะกลมสีขาวขุ่นขนาดเท่าเม็ดสาคูขนาดเล็ก 5-6 ฟอง ลักษณะการแพร่กระจายไม่แน่นอน
พืชอาหาร
ข้าว พืชตระกูลหญ้าและพวกกก
การป้องกันกำจัด
1. ควรหว่านข้าวตามฤดูกาล (สิงหาคม) ไม่ควรหว่านช่วงระหว่างปลายเมษายนถึงต้นมิถุนายน เพื่อหลีกเลี่ยงตัวเต็มวัยของด้วงดำที่ฟักออกจากดักแด้ในดินหลังฝนแรกของฤดู
2. ล่อและทำลายตัวเต็มวัยของด้วงดำ โดยใช้หลอดไฟชนิดแบล็กไลท์ที่เกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมใช้ล่อแมลงดานา
3. สำรวจนาข้าวเมื่อพบตัวเต็มวัยด้วงดำในกับดักแสงไฟปริมาณมากกว่าปกติ