การผลิตข้าวอินทรีย์

        ทำไมต้องมีการตรวจสอบและรับรอง??? เพื่อให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจว่าเป็นข้าวอินทรีย์ที่ผลิตได้ตามมาตรฐาน มีระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ถูกต้องตามหลักการเกษตรอินทรีย์และได้ผลิตผลที่มีคุณภาพปลอดภัยจากสารพิษจำเป็นต้องมีระบบการตรวจสอบที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับหลักการของเกษตรอินทรีย์ และใช้หน่วยตรวจสอบและรับรองที่ได้รับความเชื่อถือ

ระบบการตรวจสอบข้าวอินทรีย์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอนสำคัญคือ

1. การตรวจสอบขั้นตอนการผลิตในไร่นา มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบวิธีการผลิตข้าวอินทรีย์ในไร่นาว่ามีการปฎิบัติดูแลรักษาว่าถูกต้องตามหลักการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์หรือไม่
 

การตรวจรายกลุ่ม (ที่บ้าน)
การตรวจแปลงรายเดี่ยวในระยะหลังข้าวแตกกอ
 
การสุ่มตรวจแปลงรายกลุ่ม
การตรวจแปลงในระยะก่อนเก็บเกี่ยว

2. การตรวจสอบการรวบรวมผลผลิต การขนย้าย การเก็บรักษาและแปรรูป เพื่อให้แน่ใจว่าปริมาณข้าวเปลือกที่นำมาแปรรูป มาจากนาที่ผ่านการรับรองมาตรฐานแล้ว

การตรวจยุ้งฉางที่จะใช้เก็บผลผลิตข้าวอินทรีย์


3. การตรวจสอบรับรองคุณภาพผลผลิตในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้แน่ใจว่าผลผลิตที่ได้จากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์มีคุณภาพดี ปลอดภัยจากสารพิษ สอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนด

        เพื่อให้ระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ในประเทศไทยมีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามหลักเกษตรอินทรีย์ มีคุณภาพดีได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ จำเป็นต้องมีระบบการตรวจสอบ ควบคุมกำกับ และรับรองคุณภาพของผลผลิตที่เป็นมาตรฐานสากล ปัจจุบันในประเทศไทยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนการผลิตข้าวอินทรีย์ โดยกำหนดมาตรฐาน (Standard Setting) การตรวจสอบ (Inspection) และการออกใบรับรอง (Certification) ผลผลิตข้าวอินทรีย์ เช่น

มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร (ภายใต้การกำกับของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ : มกอช.)

การฝึกอบรมหลักสูตรผู้ตรวจสอบภายในเกษตรอินทรีย์มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์
ของกรมวิชาการเกษตร
 
การฝึกอบรมเกษตรกรและการรับสมัครเพื่อ
ขอตรวจรับรองแปลง
ผู้ตรวจพืชอินทรีย์และผู้ตรวจสอบภายใน
เกษตรอินทรีย์
 
คณะผู้ตรวจพืชอินทรีย์ออกปฎิบัติ
งานตรวจแปลงนาอินทรีย์
การตรวจเอกสารและคัดกรองเกษตรกรที่ปฏิบัติ
ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานก่อนการตรวจฟาร์ม
 

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สุรินทร์ (มกสร.) ของจังหวัดสุรินทร์
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ประเทศไทย (มกท.)
หมายเหตุ นอกจากมาตรฐานของทางราชการไทยแล้ว มีมาตรฐานต่างประเทศที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล หากเกษตรกรมีความสนใจสามารถติดต่อใช้ได้ โดยตรง
 

ขั้นตอนการออกใบรับรองพืชอินทรีย์ ของ มกอช.
 
ตัวอย่างใบรับรองของกรมวิชาการเกษตร