แมลงศัตรูข้าว และการป้องกันกำจัด

เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก(zigzag leafhopper)

 
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Recilia dorsalis (Motsuchulsky)
วงศ์ : Cicadellidae
อันดับ : Homoptera 
ชื่อสามัญอื่น : -
 
 
 

        เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก  Recilia dorsalis  (Motsuchulsky)  ตัวเต็มวัยลักษณะคล้ายเพลี้ยจักจั่นสีเขียว แต่ขนาดเล็กกว่า  ลำตัวยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร สีขาว ปีกสองข้างมีลายหยักสีน้ำตาลเป็นทาง เพศเมียวางไข่บริเวณเส้นกลางใบ  ประมาณ 100-200 ฟองในระยะตัวเต็มวัยนาน 10- 14 วัน  วางไข่เดี่ยวๆระยะไข่นาน 4-5 วัน ตัวอ่อนมีสีขาว ในขณะที่เพลี้ยจักจั่นมีสีเขียวอ่อน  ตัวอ่อนมี  5 ระยะ  

ตัวเต็มวัยเพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก  Recilia dorsalis (Motsuchulsky)

ลักษณะการทำลาย
         เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก  ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและกาบใบข้าว ข้าวที่ถูกทำลายปลายใบจะแห้งและขอบใบเปลี่ยนเป็นสีส้ม ต่อมาข้าวทั้งใบจะ เป็นสีส้มและขอบใบหงิกงอ  อาการของโรคจะปรากฏที่ใบแก่ก่อน  นอกจากนี้ยังเป็นพาหะนำโรคใบสีส้ม (yellow orange leaf virus) โรคใบสีส้ม (orange leaf microplasma)  และโรคหูด (gall dwarf virus) มาสู่ต้นข้าว พบแพร่กระจายทั่วไปในนาข้าว โดยพบในฤดูนาปีมากกว่านาปรัง                                                            

ต้นข้าวแสดงอาการโรคใบสีส้ม
ต้นข้าวแสดงอาการโรคหูด

การป้องกันกำจัด

              ใช้วิธีการเดียวกับเพลี้ยจักจั่นสีเขียว