พันธุ์ข้าว

เล็บนกปัตตานี ( Leb Nok Pattani )

 

ชื่อพันธุ์
-
เล็บนกปัตตานี ( Leb Nok Pattani )
ชนิด
-
ข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์
-
ได้จากการเก็บรวบรวมข้าวพันธุ์พื้นเมือง ที่นิยมปลูกทางภาคใต้ โดยนักวิชาการ จากสถานีทดลองข้าวปัตตานี เมื่อปี พ.ศ. 2527 จำนวน 307 พันธุ์ จาก 107 อำเภอ 14 จังหวัด ปลูกคัดเลือกพันธุ์แบบหมู่และคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์ จนได้สายพันธุ์เล็บนก (PTNC84210)
การรับรองพันธุ์
-
คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2537

 

 

ลักษณะประจำพันธุ์
-
เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 170 เซนติเมตร
 
-
ไวต่อช่วงแสง
 
-
อายุเก็บเกี่ยว ประมาณกุมภาพันธ์
 
-
ใบธงแผ่เป็นแนวนอน คอรวงยาว รวงยาวแน่น ระแง้ถี่
 
-
เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ก้นจุด
 
-
ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์
 
-
เมล็ดข้าวเปลือ ยาว x กว้าง x หนา = 8.4 x 2.4 x 1.8 มิลลิเมตร
 
-
เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 6.0 x 2.1 x 1.7 มิลลิเมตร
 
-
ท้องไข่ปานกลาง
 
-
ปริมาณอมิโลส 26 %
 
-
คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม
ผลผลิต
-
ประมาณ 480 กิโลกรัมต่อไร่
ลักษณะเด่น
-
คุณภาพการสี และหุงต้มดี
 
-
แปรรูปเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว คุณภาพดี มีความนุ่มเหนียว
ข้อควรระวัง
-
มีอายุการเก็บเกี่ยวล่า ไม่ควรปลูกในพื้นที่นาดอน
 
-
ไม่ต้านทานโรคไหม้ในระยะกล้า จึงควรหลีกเลี่ยงการตกกล้าแห้ง
พื้นที่แนะนำ
-
พื้นที่นาลุ่ม น้ำแห้งช้าในเขตจังหวัดสุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง