พันธุ์ข้าว

ลูกแดงปัตตานี ( Look Daeng Pattani )

 

ชื่อพันธุ์
-
ลูกแดงปัตตานี ( Look Daeng Pattani )
ชนิด
-
ข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์
-
ได้จากการเก็บรวบรวมข้าวพันธุ์พื้นเมือง จากบริเวณชายฝั่งซึ่งน้ำทะเลท่วมถึง และพื้นที่ที่มีสภาพเป็นดินเปรี้ยวจากตำบลกำชำ ตำบลบางเขา และตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เมื่อปี พ.ศ. 2528 นำไปปลูกทดสอบในเรือนทดลอง พร้อมทั้งปลูกศึกษาและ คัดเลือกพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวปัตตานี
การรับรองพันธุ์
-
คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์ แนะนำ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2537

 

 

ลักษณะประจำพันธุ์
-
เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตร
 
-
ไวต่อช่วงแสง
 
-
อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ มกราคม - กุมภาพันธ์
 
-
ต้นค่อนข้างแข็ง ใบสีเขียวอ่อน และตั้งตรง ใบธงแผ่เป็นแนวนอน รวงยาว ระแง้ถี่
 
-
เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาลแดงเข้ม
 
-
ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์
 
-
เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 7.5 x 2.5 x 1.8 มิลลิเมตร
 
-
เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.5 x 2.5 x 1.8 มิลลิเมตร
 
-
ท้องไข่ค่อนข้างมาก
 
-
ปริมาณอมิโลส 25 %
ผลผลิต
-
ประมาณ 418 กิโลกรัมต่อไร่
ลักษณะเด่น
-
ทนต่อสภาพดินเค็มและดินเปรี้ยวได้ดี
 
-
ค่อนข้างต้านทานโรคไหม้
 
-
คุณภาพการสีดี
 
-
คุณภาพหุงต้มข้าวสุก นุ่ม
ข้อควรระวัง
-
ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว
 
-
ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง
พื้นที่แนะนำ
-
พื้นที่นาดินเปรี้ยวและดินเค็มภาคใต้ ในเขตจังหวัดพัทลุง สงขลา สตูล ปัตตานี และนราธิวาส