การจัดการดินและปุ๋ยในนาข้าว

การขาดแมกนีเซียม (Magnesium deficiency)

        แมกนีเซียม (Mg) ช่วยในการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด เป็นองค์ประกอบหนึ่งของคลอโรฟิลล์จึงมีส่วนในการสังเคราะห์แสง และการสังเคราะห์โปรตีนด้วย แมกนีเซียมเป็นธาตุที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย อาการขาดจึงมักเกิดกับใบแก่ก่อน ต้นข้าวที่ขาดแมกนีเซียมจะมีอาการคล้ายการขาดโพแทสเซียม คือจะมีสีซีด พื้นที่ระหว่างเส้นใบจะเป็นสีเขียวซีด โดยจะเกิดกับใบแก่ก่อนและเมื่อขาดมากขึ้นจะลามมาถึงใบอ่อน ในกรณีที่ขาดรุนแรงใบแก่ของข้าวจะกลายเป็นสีเหลือง ข้าวมีการแตกกอ จำนวนใบและขนาดใบปกติ แต่ใบจะบิดไปมาและโน้มลง (Droopy) ข้าวจะมีจำนวนและน้ำหนักเมล็ดลดลง คุณภาพเมล็ดไม่ดี การขาดแมกนีเซียมมักพบในดินที่เป็นกรดและมี CEC ต่ำ และดินทรายที่มีอัตราการซึมน้ำและการชะล้างสูง

 

ตารางแสดงแหล่งปุ๋ยแมกนีเซียมสำหรับใช้ในนาข้าวที่สำคัญ
ชนิด
สูตร
ปริมาณธาตุอาหาร
หมายเหตุ
Kie serite MgSO4 · H2O
17% Mg
23% S
ละลายดี, ออกฤทธิ์เร็ว
Langbeinte K2SO4 · MgSO4
18% K
11% Mg
22% S
ออกฤทธิ์เร็ว
Magnesium chloride MgCl2

9% Mg
ละลายดี, ออกฤทธิ์เร็ว
Magnesia (Mg oxide) MgO

55 - 60% Mg
ออกฤทธิ์ช้า, ใช้เป็นปุ๋ยทางใบ
Magnesite MgCO3
25 - 28% Mg
ออกฤทธิ์ช้า
Dolomite MgCO3 + CaCO3
13% Mg
21% Ca
ออกฤทธิ์ช้า, ปริมาณ Ca และ Mg ไม่แน่นอน

 

        สาเหตุของการขาดแมกนีเซียมเกิดจากดินมีปริมาณแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ไม่เพียงพอต่อการเจริญ
เติบโตของข้าว การจัดการเพื่อการป้องกันและแก้ไขการขาดแมกนีเซียมสามารถทำได้โดยใส่ปุ๋ยแมกนีเซียม ปุ๋ยคอกและวัสดุอินทรีย์อื่นๆ ให้กับข้าวอย่างพอเพียง เพื่อชดเชยกับธาตุอาหารที่สูญเสียไปจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต
 

 

อาการขาดธาตุแมกนีเซียมในข้าว
 
 
ใบมีสีเหลืองในพื้นที่ระหว่างเส้นใบ เกิดกับใบแก่ก่อน
ใบธงอาจมีสีเหลืองด้วยเช่นกัน

การขาดแมกนีเซียมอาจเกิดได้ เมื่อใส่โพแทซในดินที่มีปริมาณแมกนีเซียมต่ำ