การจัดการดินและปุ๋ยในนาข้าว

การขาดโพแทสเซียส (Potassium deficiency)

        โพแทสเซียม (K) มีส่วนสำคัญในการเคลื่อนย้ายสารอาหารหรือผลผลิตจากการสังเคราะห์แสง ในพืช โพแทสเซียมจะช่วยทำให้ผนังเซลล์แข็งแรง เพิ่มพื้นที่ใบและปริมาณคลอโรฟิลล์ ชะลอการร่วงของใบ ช่วยเพิ่มจำนวนเมล็ดและจำนวนเมล็ดดีต่อรวง เพิ่มน้ำหนักเมล็ด แต่ไม่ช่วยในการแตกกอ
        ข้าวที่ขาดโพแทสเซียมต้นจะแคระแกรน การแตกกอลดลง ใบสั้น เหี่ยวแห้ง ใบโน้มลง (Droopy) และมีสีเขียวเข้ม ใบล่างจะมีปลายใบสีน้ำตาลเหลือง มีสีเหลืองระหว่างเส้นใบโดยเริ่มจากปลายใบและขอบใบแล้วค่อยๆ ลุกลามสู่โคนใบในที่สุด ต่อมาใบจะแห้งและกลายเป็นสีน้ำตาล ถ้าการขาดรุนแรงมากขึ้นบางครั้งจะมีจุดประสีน้ำตาลบนใบที่เป็นสีเขียวเข้มโดยเริ่มที่ปลายใบก่อนจะขยายสู่ส่วนอื่นๆ ของใบ รวงข้าวจะผอมยาว อาจมีจุดด่าง ขนาดและน้ำหนักของเมล็ดลดลง การหักล้มสูง มักจะเกิดในระยะหลังของการเจริญเติบโต อาการขาดโพแทสเซียมนี้อาจสังเกตเห็นได้ยากในข้าวทั่วไป
  สาเหตุของการขาดโพแทสเซียมเกิดจากการปลูกข้าวในดินทรายหรือดินที่มีปริมาณดินเหนียวต่ำ มีธาตุโพแทสเซียมในดินต่ำหรือไม่อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ หรือดินที่มีการชะล้างสูง นอกจากนี้อาจพบอาการขาดโพแทสเซียมในดินอินทรีย์ เช่นดินพีท (Peat) ดินมัก (Muck)

 

ตารางแสดงแหล่งปุ๋ยโพแทสเซียมสำหรับใช้ในนาข้าวที่สำคัญ

ชนิด

สูตร

ปริมาณธาตุอาหาร

หมายเหตุ

Potassium chloride KCL

50% K

Muriat of potash (60% K2O)
Potassium nitrate KNO3

37% K 
13% N

สารประกอบ (44% K2O)
Potassium sulfate K2SO4

40 - 43% N 
18% S

สารประกอบ (50% K2O)
Langbeinite K2SO4 ·  MgSO4

18% K
11% Mg
22% S

ออกฤทธิ์เร็ว
Compound fertilizers N + P + K

ไม่แน่นอน

ใช้มากในข้าว

 

 

        การจัดการเพื่อการป้องกันและแก้ไขการขาดโพแทสเซียมสามารถทำได้โดย

ควรไถกลบฟางข้าวลงในแปลง เพราะถึงแม้ว่าปริมาณโพแทสเซียมในฟางข้าวจะมีน้อย แต่จะช่วยรักษาระดับโพแทสเซียมในดินในระยะยาว

ใส่ปุ๋ยโพแทซ ปุ๋ยคอกและวัสดุอินทรีย์อื่นๆ ให้กับข้าวอย่างพอเพียง เพื่อชดเชยกับธาตุอาหารที่สูญเสียไปจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต

 

อาการขาดธาตุโพแทสเซียมในข้าว

 

   

ขอบใบเริ่มกลายเป็นสีน้ำตาล

 

 

 

   

โพแทสเซียมเป็นตัวจำกัดการเจริญของข้าวแม้ว่าจะมีไนโตรเจนและฟอสฟอรัสพอเพียง

 

 

จุดสีน้ำตาลบนใบที่เขียวเข้ม

ดาวน์โหลด [เอกสารความรู้]