นกศัตรูข้าว
นกศัตรูข้าวที่สำคัญมี 10 ชนิด ได้แก่ นกกระติ๊ดขี้หมู นกกระติ๊ดตะโพกขาว นกกระจอกบ้าน นกกระจอกตาล นกกระจอกใหญ่ นกกระจาบธรรมดา นกกระจาบทอง นกเขาชวา นกเขาใหญ่ และนกพิราบป่า
ลักษณะการทำลาย
นกจะเริ่มทำลายข้าวตั้งแต่ระยะข้าวเริ่มเป็นน้ำนมใหม่ๆ จนไปถึงระยะก่อนเก็บเกี่ยว ถ้าข้าวอยู่ในระยะน้ำนมและมีส่วนเป็นไตแข็งเพียงเล็กน้อย นกจะจิกที่รวงแล้วขบเมล็ดข้าวกินเฉพาะเนื้อแข็งและน้ำนม รวงข้าวจะยังมีเมล็ดติดอยู่กับรวง แต่มีรอยแตกเห็นชัดเจน รวงข้าวที่ถูกนกกิน รวงจะตั้งขึ้น (ภาพที่ 1) ถ้าข้าวเลยระยะน้ำนมจนแข็งหมดทั้งเมล็ดแล้ว นกจะใช้ปากรูดเมล็ดออกจากรวง แล้วคาบเมล็ดมาขบกินแต่เนื้อภายใน ส่วนเปลือกปล่อยทิ้งไว้ใต้ต้นข้าวนั้นเอง
ภาพที่ 1 รวงข้าวที่ถูกนกกิน รวงจะตั้งขึ้น
การป้องกันกำจัดนกศัตรูข้าว
1. การใช้คนไล่
2. การใช้เสียง จะทำให้นกตกใจและหนีไป เช่น ใช้ประทัด
3. ใช้การมองเห็น เช่น การใช้สิ่งที่เคลื่อนไหวเมื่อลมพัด หรือสิ่งของที่สามารถสะท้อนแสงได้หรือการใช้หุ่นไล่กา การใช้หุ่นที่เคลื่อนไหวได้จะให้ผลดีกว่าหุ่นที่หยุดนิ่ง และถ้าเคลื่อนไหวพร้อมเสียงด้วยจะได้ผลดีที่สุด
4. การกันไม่ให้นกเข้า เช่น ใช้ตาข่าย
5. การจัดการแปลงนาให้ไม่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของนก โดยทำการกำจัดหญ้า และวัชพืช รอบคันนา
** ซึ่งวิธีการต่างๆ นั้น ใช้ได้ผลในระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น เมื่อใช้ไปนานๆ นกจะเกิดความเคยชิน และไม่กลัวสิ่งเหล่านี้ เนื่องจากนกเป็นสัตว์ที่ฉลาด สามารถเรียนรู้และจดจำได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น การใช้วิธีการป้องกันกำจัดนกศัตรูข้าวหลายวิธีมาบูรณาการรวมกัน จึงมีแนวโน้มจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งเพียงอย่างเดียว
กลุ่มนกกระติ๊ด
นกกระติ๊ดชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ฝูงใหญ่ๆ และลงกินข้าวพร้อมๆ กัน ตามปกติข้าว 1 กอ จะมีนกมาเกาะและจิกกินเมล็ดข้าวประมาณ 5-7 ตัว และใช้เวลาในการกินข้าว แต่ละครั้งนาน 5-15 นาที (ถ้าไม่มีสิ่งใดมารบกวน) ในขณะที่จิกกินนั้นก็จะสังเกตไปรอบๆ ตัวเองเป็นการระวังภัย พร้อมทั้งส่งเสียงร้องไปด้วย หลังจากกินอิ่มนกจะใช้เวลาย่อยอาหารประมาณ 100 นาที นกจะกินอาหารประมาณ 5 กรัมต่อตัวต่อวัน และมักจะกินรวงข้าวที่เดิมเป็นประจำจนเกือบหมดแล้วจึงขยับไปยังรวงข้างเคียง (ทักษิณ, 2533)
นกกระติ๊ดขี้หมู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lonchura punctulata
วงศ์ : Estrildidae
อันดับ : Passeriformes
ชื่ออื่นๆ -
นกกระติ๊ดขี้หมู (Scaly-breasted Munia) ขนาดประมาณ 12-12.5 เซนติเมตร ปาก หัว อก และลำตัวด้านบนน้ำตาลเข้ม ลำตัวด้านล่างขาวแกมเทามีลายเกล็ดสีน้ำตาล กลางท้องและก้นขาว หางน้ำตาลแกมเหลือง
นกวัยอ่อน : ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนกว่า ไม่มีลายเกล็ดที่อก ปากล่างสีจางกว่าปากบน
ถิ่นอาศัย
ทุ่งนา ทุ่งหญ้า ป่าละเมา และพื้นที่เปิดโล่งใกล้ชุมชนเมือง ที่ราบความสูง 1,500 เมตร เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยมาก
ภาพที่ 1 นกกระติ๊ดขี้หมู (Scaly-breasted Munia; Lonchura punctulata)
ที่มาข้อมูล : จารุจินต์ นภีตะภัฏ กานต์ เลขะกุล และวัชระ สงวนสมบัติ. 2550. คู่มือดูนก หมอบุญส่ง เลขะกุล
นกเมืองไทย, คณะบุคคล นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล. กรุงเทพฯ. 439 หน้า.
ทักษิณ อาชวาคม. 2533. นกศัตรูข้าวและการป้องกันกำจัด. นสพ.กสิกร 63 (2) : 157-160.
นกกระติ๊ดตะโพกขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lonchura striata
วงศ์ : Estrildidae
อันดับ : Passeriformes
ชื่ออื่นๆ -
ภาพที่ 1 นกกระติ๊ดตะโพก (White-rumped Munia)
นกกระติ๊ดตะโพก (White-rumped Munia) ขนาดประมาณ 11-11.5 เซนติเมตร ปากสีเทา ตะโพกและท้องขาว ตัดกับหัว อก และลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเข้ม หน้าและปีกน้ำตาลดำ มีลายขีดสีจางที่หลังและอก ปลายขนหางเป็นติ่งแหลมกว่านกกระติ๊ดชนิดอื่น
ถิ่นอาศัย
ทุ่งหญ้า พื้นที่เกษตรกรรม ป่าละเมา ชายป่า ที่ราบความสูง 1,500 เมตร เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อย
ที่มาข้อมูล : จารุจินต์ นภีตะภัฏ กานต์ เลขะกุล และวัชระ สงวนสมบัติ. 2550. คู่มือดูนก หมอบุญส่ง เลขะกุล
นกเมืองไทย, คณะบุคคล นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล. กรุงเทพฯ. 439 หน้า.
นกกระจอกบ้าน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Passer montanus
วงศ์ : Passeridae
อันดับ : Passeriformes
ชื่ออื่นๆ : -
ภาพที่ 1 นกกระจอกบ้าน (Eurasian Tree Sparrow)
นกกระจอกบ้าน (Eurasian Tree Sparrow) ขนาดประมาณ 14-14.5 เซนติเมตร ปากดำ หัวน้ำตาลแดงเข้ม แก้มขาวมีแต้มดำ คอดำ ลำตัวด้านบนน้ำตาลแดงมีลายดำ ปีกน้ำตาลแดงมีแถบแคบๆ สีขาวพาด ลำตัวด้านล่างน้ำตาลแกมเทา เสียงร้อง “ชิบ ชิบ” หรือ “ชิชิบ ชิชิบ”
ถิ่นอาศัย
พื้นที่เกษตรกรรม ชุมชนเมือง ที่ราบความสูง 1,830 เมตร เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อย
ที่มาข้อมูล : จารุจินต์ นภีตะภัฏ กานต์ เลขะกุล และวัชระ สงวนสมบัติ. 2550. คู่มือดูนก หมอบุญส่ง เลขะกุล
นกเมืองไทย, คณะบุคคล นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล. กรุงเทพฯ. 439 หน้า.
นกกระจอกตาล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Passer flaveolus
วงศ์ : Passeridae
อันดับ : Passeriformes
ชื่ออื่นๆ : -
ภาพที่ 1 นกกระจอกตาล (Plain-backed Sparrow)
นกกระจอกตาล (Plain-backed Sparrow) ขนาดประมาณ 13.5-15 เซนติเมตร ตัวผู้ : หลังสีน้ำตาลแดงไม่มีลาย หลังตาถึงข้างหัวน้ำตาล กระหม่อมและหลังตอนบนเทา คอดำ แก้มและลำตัวด้านล่างเหลืองอ่อน
ตัวเมีย : คล้ายนกกระจอกใหญ่ตัวเมีย แต่หลังไม่มีลาย ลำตัวด้านล่างเหลืองอ่อนแกมน้ำตาล เสียงร้อง ใส “ชิ-รัป” หรือ “ชิ-ริบ”
ถิ่นอาศัย
พื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่เปิดโล่ง ชายป่า เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อย
ที่มาข้อมูล : จารุจินต์ นภีตะภัฏ กานต์ เลขะกุล และวัชระ สงวนสมบัติ. 2550. คู่มือดูนก หมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย, คณะบุคคล นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล. กรุงเทพฯ. 439 หน้า.
นกกระจอกใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Passer domesticus
วงศ์ : Passeridae
อันดับ : Passeriformes
ชื่ออื่นๆ : -
ภาพที่ 1 นกกระจอกใหญ่ (House Sparrow)
นกกระจอกใหญ่ (House Sparrow) ขนาดประมาณ 15-15.5 เซนติเมตร ตัวผู้ : หน้าผากและกระหม่อมเทา หลังตาถึงท้ายทอยน้ำตาลแดงมีลายขีดดำและเทา ตะโพกเทาแก้มน้ำตาล ลำตัวด้านล่างเทาแกมขาว
ตัวเมีย : ปากสีเนื้อ หัวและลำตัวน้ำตาลแกมเทา มีคิ้วสีจางกว่า ปีกและหลังน้ำตาลแกมเหลืองอ่อน คล้ายตัวเมียของนกกระจอกตาล แต่หลังมีลายขีดน้ำตาลจางๆ เสียงร้อง “ชีรับ ชีรับ ชีรับ” หรือ “ชรีป” “ชิ-ริบ”
ถิ่นอาศัย
ชุมชนเมือง พื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่เปิดโล่ง เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยมาก และกำลังขยายถิ่นแพร่กระจายไปเรื่อยๆ
ที่มาข้อมูล : จารุจินต์ นภีตะภัฏ กานต์ เลขะกุล และวัชระ สงวนสมบัติ. 2550. คู่มือดูนก หมอบุญส่ง เลขะกุล
นกเมืองไทย, คณะบุคคล นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล. กรุงเทพฯ. 439 หน้า.
นกกระจาบธรรมดา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ploceus philippinus
วงศ์ : Ploceidae
อันดับ : Passeriformes
ชื่ออื่นๆ -
ภาพที่ 1 นกกระจาบธรรมดา (Baya Weaver)
นกกระจาบธรรมดา (Baya Weaver) ขนาดประมาณ 14.5-15 เซนติเมตร ปากดำค่อนข้างยาว หน้าผากถึงท้ายทอยเหลืองสด หน้าสีคล้ำ หลังปีก และลำตัวด้านบนน้ำตาลดำมีลายจากขอบขนสีน้ำตาลอ่อน ลำตัวด้านล่างน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง ตัวผู้นอกฤดูผสมพันธุ์และตัวเมีย : ปากสีเนื้อ ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง ข้างแก้มเรียบไม่มีลาย หัวมีลายสีคล้ำ ลำตัวด้านบนน้ำตาลเข้มมีลายจากขอบขนสีจาง
ถิ่นอาศัย
ทุ่งนา ทุ่งหญ้า พื้นที่ชุ่มน้ำ ที่ราบถึงความสูง 1,220 เมตร ทำรังทรงกลม มีทางเข้าทางเป็นท่อยาว ห้อยอยู่บนต้นไม้สูง เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อย
ที่มาข้อมูล : จารุจินต์ นภีตะภัฏ กานต์ เลขะกุล และวัชระ สงวนสมบัติ. 2550. คู่มือดูนก หมอบุญส่ง เลขะกุล
นกเมืองไทย, คณะบุคคล นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล. กรุงเทพฯ. 439 หน้า.
นกกระจาบทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ploceus hypoxanthus
วงศ์ : Ploceidae
อันดับ : Passeriformes
ชื่ออื่นๆ -
ภาพที่ 1 นกกระจาบทอง (Asian Golden Weaver)
นกกระจาบทอง (Asian Golden Weaver) ขนาดประมาณ 14.5-15 เซนติเมตร ตัวผู้ชุดขนฤดูผสมพันธุ์ : หัว ตะโพก และลำตัวด้านล่างเหลืองสด ตัดกับแถบหน้าและคอดำ ลำตัวด้านบนดำแกมน้ำตาลมีลายเหลือง หางดำ ตัวผู้นอกฤดูผสมพันธุ์และตัวเมีย : คล้ายนกกระจาบธรรมดามาก แต่ปากหนาอวบและสั้นกว่า
ถิ่นอาศัย
ทุ่งนา ทุ่งหญ้า พื้นที่ชุ่มน้ำ ที่ราบถึงความสูง 1,220 เมตร ทำรังทรงกลมมีทางเข้าทางด้านข้าง อยู่ในระดับต่ำ เป็นนกประจำถิ่น พบไม่บ่อย หรือพบบ่อยบางพื้นที่
ที่มาข้อมูล : จารุจินต์ นภีตะภัฏ กานต์ เลขะกุล และวัชระ สงวนสมบัติ. 2550. คู่มือดูนก หมอบุญส่ง เลขะกุล
นกเมืองไทย, คณะบุคคล นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล. กรุงเทพฯ. 439 หน้า.
นกเขาชวา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Geopelia striata
วงศ์ : Columbidae
อันดับ : Columbiformes
ชื่ออื่นๆ -
ภาพที่ 1 นกเขาชวา (Zebra Dove)
นกเขาชวา (Zebra Dove) ขนาดประมาณ 21-21.5 เซนติเมตร ลำตัวสีน้ำตาแกมเทา มีลายขวางสีดำที่คอ หลัง ปีก และด้านข้างลำตัว กลางอกและท้อง สีน้ำตาลแกมเทาหรือชมพู แต้งและตีนแดง ตัวผู้ : หน้าสีเทาแกมฟ้า ข้างคอเทา ตัวเมีย : หน้าสีน้ำตาลมากกว่า มีลายตั้งแต่อกถึงท้อง เสียงร้อง : “อุด-อุอุอุอู้” รัวเป็นจังหวะ ก้องกังวาน
ถิ่นอาศัย
บ้านเรือนชุมชน สวน พื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่เปิดโล่งต่างๆ ที่ราบถึงความสูง 2030 เมตร เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยมาก
ที่มาข้อมูล : จารุจินต์ นภีตะภัฏ กานต์ เลขะกุล และวัชระ สงวนสมบัติ. 2550. คู่มือดูนก หมอบุญส่ง เลขะกุล
นกเมืองไทย, คณะบุคคล นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล. กรุงเทพฯ. 439 หน้า.
นกเขาใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spilopelia chinensis
วงศ์ : Columbidae
อันดับ : Columbiformes
ชื่ออื่นๆ -
ภาพที่ 1 นกเขาใหญ่ (Spotted Dove)
นกเขาใหญ่ (Spotted Dove) ขนาดประมาณ 30-31 เซนติเมตร หัวเทา คอ และลำตัวด้านล่างสีน้ำตาแกมม่วง หลังคอเป็นแถบดำมีจุดขาวกระจาย หลังสีน้ำตาล หางยาว ปลายขาว เสียงร้อง : “วุ่ก-วุค-ครู่ วุ่ก-วุค-ครู่” ก้องกังวาน
ถิ่นอาศัย
พื้นที่เกษตรกรรม สวน แหล่งชุมน ชายป่าและพื้นที่เปิดโล่งต่างๆ ที่ราบถึงความสูง 2,040 เมตร เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยมาก
ที่มาข้อมูล : จารุจินต์ นภีตะภัฏ กานต์ เลขะกุล และวัชระ สงวนสมบัติ. 2550. คู่มือดูนก หมอบุญส่ง เลขะกุล
นกเมืองไทย, คณะบุคคล นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล. กรุงเทพฯ. 439 หน้า.
นกพิราบป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Columba livia
วงศ์ : Columbidae
อันดับ : Columbiformes
ชื่ออื่นๆ -
ภาพที่ 1 นกพิราบป่า (Rock Pigeon)
นกพิราบป่า (Rock Pigeon) ขนาดประมาณ 33-34 เซนติเมตร หัวสีเทาเข้ม หลังและอกเข้มกว่า ปีกเทาอ่อน แถบปีกดำ ปลายหางดำ ตัวผู้ ใหญ่กว่าตัวเมีย คอเหลือบเขียวมากกว่า ปัจจุบันมีการผสมและคัดเลือกสายพันธุ์จนมีสีขนที่หลากหลายแตกต่างไปจากพันธุ์ดั้งเดิม เช่น สีน้ำตาล ขาว หรือมีลวดลายต่างๆ เสียงร้อง : แหบ
“อุอุครู่”
ถิ่นอาศัย
บ้านเรือน แหล่งชุมชน พื้นที่เกษตรกรรม หน้าผาหิน เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยมาก
ที่มาข้อมูล : จารุจินต์ นภีตะภัฏ กานต์ เลขะกุล และวัชระ สงวนสมบัติ. 2550. คู่มือดูนก หมอบุญส่ง เลขะกุล
นกเมืองไทย, คณะบุคคล นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล. กรุงเทพฯ. 439 หน้า.
ปูนา
ลักษณะการทำลาย
ปูนา (Ricefield crabs) กัดทำลายข้าวกล้าตั้งแต่อยู่ในแปลงตกกล้าและทันทีหลังจากระยะปักดำ ในนาหว่านจะเกิดความเสียหายหลังจากที่เกษตรกรระบายน้ำเข้าสู่นา ความเสียหายนี้จะค่อยลดลงเมื่อต้นข้าวมีอายุมากขึ้น ปูสามารถกัดทำลายข้าวได้ตลอดวัน ยกเว้นช่วงเวลาที่แดดร้อนจัดมากๆ จะสามารถพบต้นข้าวที่ถูกกัดลอยน้ำเป็นแพใกล้ๆ กับรูปู ระยะออกหากินของปูจะไม่ไกลจากคันนามาก ปกติปูจะทำลายข้าวในนาที่มีน้ำขุ่นหรือโคลนมากกว่าในนาที่มีน้ำใส นอกจากนั้นรูปูตามคันนาทำให้น้ำรั่วควบคุมระดับน้ำไม่สะดวกและอาจทำให้คันนาพังทลาย ปูนาจะขุดรูอาศัยอยู่ตามคันนาคันคูน้ำหรือคลองชลประทานเป็นรูดิ่งลึกประมาณ 1 เมตร เมื่อปูกัดข้าวหมดไปทำให้ที่ดินบริเวณนั้นว่าง ถ้าหากไม่มีการปักดำซ่อมแซม วัชพืชก็จะขึ้นงอกงามเป็นแหล่งขยายพันธุ์ของวัชพืชได้ ทำให้ผลผลิตข้าวลดลง และปริมาณข้าวต่อหน่วยเนื้อที่นาลดน้อยลง
ภาพที่ 1 ปูนา และแปลงนาที่ได้รับความเสียหายจากการทำลายของปูนา
การป้องกันกำจัดปูนา
1. ดักจับ ขุด ลอบ ไซ ตาข่าย ไห/ปี๊บฝังดิน
2. ระบายน้ำออกจากนาทันทีหลังปักดำ หรือ ระบายน้ำออกเมื่อต้นข้าวตั้งตัวหลังจากนั้นประมาณ 15 - 20 วันจึงปล่อยน้ำเข้ามาใหม่ นาที่จะปฏิบัติเช่นนี้ได้ต้องมีการระบายน้ำเข้าออกได้สะดวก สามารถควบคุมระดับน้ำได้ และมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง
3. ในพื้นที่ที่ไม่สามารถระบายน้ำออกได้เนื่องจากสภาพพื้นที่ไม่อำนวยให้ใช้ต้นกล้าที่แข็งแรงและอายุมากเกินกว่า 30 - 35 วันมาปลูกเพราะปูเข้าทำลายต้นข้าวที่มีอายุน้อยมากกว่าต้นข้าวอายุมาก
4. ใช้สารเคมีกำจัดปู ได้แก่
- Fenitrothion (Sumithion 50% EC)
- Etofenprox (Trebon 5% EC) 40 มิลลิลิตร/ไร่
- Fenthion (Lebaycid 500 EC) 80 มิลลิลิตร/ไร่
- ผสมน้ำ ฉีดน้ำในนาข้าว ทันทีหลังปักดำ หรือวันแรกที่ระบายน้ำเข้านา ในนาหว่าน
- ใช้ขณะมีน้ำสูง 10 เซนติเมตร
ที่มาข้อมูล : ชมพูนุท จรรยาเพศ ทักษิณ อาชวาคม วิยะดา สีหบุตร และ เกษม ทองทวี. 2527. ชีววิทยาปูนาศัตรูข้าว.
รายงานผลการค้นคว้าและวิจัยปี 2527, กองกีฏและ