Previous
Next
×
คำที่ต้องการค้นหา
พันธุ์ข้าว
เฉี้ยงพัทลุง (Chiang Phatthalung)
ชื่อพันธุ์
-
เฉี้ยงพัทลุง (Chiang Phatthalung)
ชนิด
-
ข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์
-
เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง มีชื่อเดิมหลายชื่อได้แก่ ขาวกาหวิน เปอร์วิต ขาวมาเล บางแก้ว นายเฉี้ยง ทองเรือง ชาวนาอำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง ได้นำข้าวพันธุ์นี้จากอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ไปปลูกที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอระโนด เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2517 เพื่อแก้ปัญหาความแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วงปลายฤดู และเป็นที่นิยมปลูกแพร่หลายในเวลาต่อมา ในปี พ.ศ. 2530 สถานีทดลองข้าวปัตตานีได้เก็บรวบรวมข้าวพันธุ์ดังกล่าวจากแปลงนาเกษตรกรในอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา และคัดเลือกแบบหมู่จนได้สายพันธุ์เฉี้ยงพัทลุง
การรับรองพันธุ์
-
คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2537
ลักษณะประจำพันธุ์
-
เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 150 เซนติเมตร
-
ไวต่อช่วงแสง
-
อายุเก็บเกี่ยว ประมาณกลางเดือนมกราคม
-
ใบสีเขียว ใบธงแผ่เป็นแนวนอน คอรวงยาว รวงยาวปานกลาง ระแง้ค่อนข้างถี่
-
เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
-
ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 1 สัปดาห์
-
เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 9.8 x 2.5 x 1.8 มิลลิเมตร
-
เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 6.7 x 2.1 x 1.6 มิลลิเมตร
-
มีท้องไข่ปานกลาง
-
ปริมาณอมิโลส 27%
ผลผลิต
-
ประมาณ 470 กิโลกรัมต่อไร่
ลักษณะเด่น
-
ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง
-
สามารถปรับตัวได้ดีทั้งในพื้นที่ที่เป็นนาดอน และนาลุ่ม
-
คุณภาพการสีดี
ข้อควรระวัง
-
อ่อนแอต่อโรคไหม้
พื้นที่แนะนำ
-
ภาคใต้