วัชพืชในนาข้าว

หญ้าตีนกา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Eleusine indica (L.) Gaertn.
ชื่อสามัญ goosegrass
ชื่ออื่น -
ประเภท/ชีพจักร หญ้า/อายุปีเดียว
ลักษณะทางชีววิทยา   ลำต้นทอดนาบกับพื้นและยกสูงขึ้นได้ประมาณ 50-60 ซ.ม. แผ่นใบแคบยาว มักพับทบครึ่ง กาบใบแบนเป็นสัน  ผิวเรียบไม่มีขน  หรือมีขนกระจายห่างๆ บนขอบกาบใบ ช่อดอกมี 2-10 ช่อดอกย่อยซี่งอยู่ติดกันตรงปลายโคนก้าน ออกดอกตลอดปีเมื่ออายุ 3-4 เดือน และออกดอกมากในช่วงเดือนตุลาคม-มิถุนายน  เมื่อดอกแก่มีสีฟาง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ขึ้นหนาแน่นตามที่แห้งถึงชื้นโดยทั่วไปแล้วจะงอกพร้อมข้าวและมักพบในที่รกร้างและริมถนน
การป้องกันกำจัด

เขตกรรม
    1. เมื่อเริ่มมีฝนหรือจะเริ่มทำนา ควรรอให้หญ้าตีนกางอกขึ้นมาพอสมควรก่อน แล้วจึงทำการไถดะ
    2. หลังจากนั้นเว้นช่วงให้มีฝนตกและหญ้าตีนกางอกมาอีกแล้วจึงไถแปร
    3. และหากจะคราดควรจะทิ้งให้หญ้าตีนกางอกมาอีกครั้ง หลังจากนั้นจึงหว่านข้าวแห้งและคราดกลบ
    4.สำหรับนาหยอดหลังข้าวงอกให้กำจัดด้วยการใช้จอบถากก่อนที่ใบข้าวจะเจริญเติบโตยาวปกคลุมผิวดินจนหมดโดยทำ 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 หลังข้าวงอก 2 สัปดาห์  และครั้งที่ 2  หลังข้าวงอก 4 สัปดาห์

สารกำจัดวัชพืช
    ประเภทก่อนวัชพืชงอก
       เช่น ออกซาไดอะซอน, เพนดิเมทาลิน
    ประเภทหลังวัชพืชงอก
        เช่น โพรพานิล