ข้อมูลจากศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี 1. พันธุ์ข้าวและเมล็ดพันธุ์ พ.ศ. 2540-44 ใช้พันธุ์ข้าวตามความต้องการของตลาด คือ ขาวดอกมะลิ 105 ช่วงหลังปี พ.ศ. 2545-47 มีพันธุ์ข้าวหอมที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ร่วมด้วย หลายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวหอมสุพรรณบุรี ข้าวหอมคลองหลวง1 และ ปทุมธานี1 รวมทั้งข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ที่ผ่านการทดสอบว่ามีศักยภาพในการผลิตเป็นข้าวอินทรีย์ ได้แก่ ข้าวพันธุ์พิษณุโลก2 2. การเตรียมดินและวิธีปลูก ใช้รถแทรกเตอร์ไถดะ ไถแปร คราด ทำเทือก ข้าวขาวดอกมะลิ105 ปลูกโดยวิธีปักดำ ระยะปักดำ 25x25 เซนติเมตร ตกกล้า โดยวิธีตกกล้าเทือกอัตราเมล็ดพันธุ์ 50 กรัมต่อตารางเมตร อายุกล้า 25-30 วัน ปักดำ 3 ต้นต่อกอ ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม อัตราเมล็ดพันธุ์ 20 กิโลกรัมต่อไร่ 3. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทำการไถกลบฟางข้าว อัตรา ประมาณ 2 ตันต่อไร่ ร่วมกับการใส่ปุ๋ยคอก จากมูลไก่ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ มูลวัว อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ระยะ3-4 สัปดาห์ ก่อนหว่าน หรือ ปักดำข้าว และในพื้นที่ดินเปรี้ยว มีการใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟต อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ 3 ปีต่อครั้ง 4. การควบคุมน้ำและควบคุมวัชพืช การทำนาดำช่วยควบคุมวัชพืชได้เป็นอย่างดี สำหรับนาหว่าน ยังมีปัญหาในการควบคุมวัชพืช การใช้แรงงานถอนวัชพืช ทำให้สิ้นเปลืองเวลาและแรงงาน ซึ่งมีผลต่อต้นทุนการผลิต 5. การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว ในระยะแรกของการเจริญเติบโตของข้าว มักมีเพลี้ยไฟเข้าทำลาย หลังจากนั้นอาจมีหนอนห่อใบ หรือหนอนกอ เข้าทำลาย เป็นครั้งคราว การป้องกันกำจัด ใช้สารสกัดสะเดา ฉีดพ่น 6. การจัดการก่อนและหลังเก็บเกี่ยว ระบายน้ำออกนาให้แห้งพอดีในช่วงที่ข้าวสุกแก่ ใช้คนเก็บเกี่ยว นำมาตาก 3-4 วัน นวดเครื่องนวดข้าว ข้าวเปลือกที่ได้จะมีความชื้นเฉลี่ย 13-15 % ตามมาตรฐาน นำไปเก็บรักษา โดยใส่กระสอบป่านที่ทำความสะอาด และคัดชิ้นส่วนข้าวที่ติดมากับกระสอบเดิมแล้ว