วัชพืชในนาข้าว

หญ้าชะกาดน้ำเค็ม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Paspalum distichum L.
ชื่อสามัญ knot grass, couchgrass
ชื่ออื่น สะกาดน้ำเค็ม
ประเภท/ชีพจักร หญ้า/อายุข้ามปี
ลักษณะทางชีววิทยา

    ลำต้นตั้งตรงหรือแผ่ราบไปกับพื้นมีลำต้นใต้ดินและไหลอยู่ใต้ดิน
อย่างหนาแน่น แตกกิ่งก้านในแนวราบ ชูช่อดอกสูงถึง 60 เซนติเมตร
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด, ไหลและลำต้นใต้ดิน ชอบขึ้นในดินชื้นแฉะหรือ
น้ำขังและที่แห้ง มีการเจริญเติบโตรวดเร็ว พบมากในนาดำ
และนาหว่านข้าวแห้ง

การป้องกันกำจัด

เขตกรรม
    1. ไถดะเพื่อกลบทำลายหญ้าชะกาดน้ำเค็มซึ่งมักขึ้นจากไหล
ตั้งแต่ได้รับฝนแรก แต่หากยังขึ้นมาได้อีกอาจต้องไถซ้ำ 
หากยังมีหลงเหลืออยู่ให้เก็บทำลายไหลและลำต้นให้หมด
ขณะที่คราดทำเทือก  
    2.  นาหว่านข้าวแห้ง  
       -  เมื่อเริ่มมีฝนหรือจะเริ่มทำนาโดยการหว่านข้าวแห้ง หรือนาหยอดก็ตาม ควรรอให้หญ้าชะกาดน้ำเค็มที่งอกจากเมล็ดขึ้นมาพอสมควรก่อนแล้วจึงทำการไถดะ 
       - หลังจากนั้นเว้นช่วงให้มีฝนตกและหญ้าแพรกงอกมาอีก แล้วจึงไถแปร
       -  และหากจะคราดควรจะทิ้งให้หญ้าชะกาดน้ำเค็มงอกมา
อีกครั้ง หลังจากนั้นจึงหว่านข้าวแห้งและคราดกลบ
  
สารกำจัดวัชพืช
    ประเภทก่อนวัชพืชงอก
       เช่น ออกซาไดอะซอน, เพนดิเมทาลิน
    ประเภทหลังวัชพืชงอก
        เช่น โพรพานิล