พันธุ์ข้าว

กข 57 ปทุมธานี 200 (Pathum Thani 200)

ชื่อพันธุ์ - กข 57 ปทุมธานี 200 (Pathum Thani 200)
ชนิด - ข้าวเจ้า
คู่ผสม - ผสมพันธุ์ระหว่าง สุพรรณบุรี 1 ซึ่งเป็นพันธุ์ต้านทานเพลี้ยกะโดสีน้ำตาล กับ IR64
ประวัติพันธุ์ -

ผสมพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี ในปี 2537 จากนั้นนำไปปลูกคัดเลือกลูกผสมชั่วที่ 2-6 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี จนได้สายพันธุ์ SPR94007-PTT-27-2-9-3 ปลูกศึกษาพันธุ์และนำเช้าเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี สายพันธุ์ SPR94007-PTT-27-2-9-3 ให้ผลผลิตไม่แตกต่างจากสายพันธุ์เปรียบเทียบและสถานการณ์การแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดสีน้ำตาลเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงฤดูนาปลัง 2548 เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จึงได้นำสายพันธ์ที่อยู่ในระหว่างการเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีทั้งหมดจำนวน 140 สายพันธุ์ไปทดลองซ้ำปฏิกิริยาต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในเรือนทดลองที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี พบว่าสายพันธุ์นี้เป็นเพียง 1 ใน 2 สายพันธุ์ที่ไม่ถูกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลายในการทดลองคราวนั้นทั้งหมด 140 สายพันธุ์ จึงได้ถอนต้นกล้าของสายพันธุ์นี้จากกระบะทดสอบแมลงไปปักดำไว้ในกระถางแล้วเก็บเกี่ยวเมล็ดแบบแยกรวง ในฤดูนาปี 2548 แบ่งเมล็ดจากแต่ละรวงส่วนหนึ่งนำไปทดสอบความต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอีกครั้งส่วนเมล็ดที่เหลือนำไปปลูกในแปลงทดลองโดยแต่ละรวงให้รหัสสายพันธุ์เดียวกัน พบว่ามี 2 สายพันธุ์ ที่มีความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระดับ MR-R คือ SPR94007 -27-2-9-3-1 และ SPR94007-27-2-9-3-2 จึงเก็บเกี่ยวเมล็ดทั้ง 2 สายพันธุ์ จากแปลงทดลองนำไปปลูกขยายพันธุ์และศึกษาลักษณะทางเกษตรในฤดูนาปรัง 2549 ถึงฤดูนาปี 2550 แล้วคัดเลือกสายพันธุ์ SPR94007-27-2-9-3-2 เข้าสู่กระบวนการเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีในฤดูนาปี 2550 เปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีตั้งแต่นาปี 2551 ถึงฤดูนาปี 2553 เปรียบเทียบผลผลิตในราษฎร์ตั้งแต่ฤดูนาปรัง 2554 ถึงฤดูนาปรัง 2555 ในขณะเดียวกันได้ทำการทดสอบการตอบสอนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน และทดสอบผลผลิตข้าวในพื้นที่ที่มีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและปลูกทดสอบเสถียรภาพผลผลิต

การรับรองพันธุ์ - คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมการวิชาการเกษตร มีมติให้เป็น พันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2557

ลักษณะประจำพันธุ์ - เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง
  - อายุเก็บเกี่ยว 107-110 วัน (วิธีหว่านน้ำตม) 117-120 วัน (วิธีปักดำ)
  - ความสูง 115-120 เซนติเมตร
  - มีลักษณะกอตั้ง ลำต้นค่อนข้างแข็ง ใบสีเขียว มุมปลายใบตั้งตรง ใบธงยาว 46.5 เซนติเมตร กว้าง 1.38 เซนติเมตร มุมใบธงตั้งตรง รวงยาว 25.7 เซนติเมตร รวงแน่นปานกลาง คอรวงโผล่เล็กน้อย เมล็ดร่วงง่าย ข้าวเปลือกสีฟางยาว 10.75 มิลลิเมตร กว้าง 2.54 มิลลิเมตร หนา 2.11 มิลลิเมตร ข้าวกล้องรูปร่าง ยาว 7.41 กว้าง 2.23 มิลลิเมตร หนา 1.90 มิลลิเมตร ข้าวสารยาว 6.98 มิลลิเมตร กว้าง 2.04 มิลลิเมตร หนา 1.79 มิลลิเมตร เป็นข้าวอมิโลสสูง (27.33%)
  - วามคงตัวของแป้งสุกอยู่ในระดับแป้งอ่อน (การไหลของแป้ง 92 มิลลิเมตร)
ผลผลิต - ผลผลิตสูง มีเสถียรภาพดี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 714 กิโลกรัมต่อไร
ลักษณะเด่น -
  1. ศักยภาพการให้ผลผลิตสูงถึง 1,169 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี
พื้นที่แนะนำ -

พื้นที่นาชลประทาน