กข69 (ทับทิมชุมแพ) (RD69)
ชื่อพันธุ์ | กข69 (ทับทิมชุมแพ)(RD69) |
ชนิด | ข้าวเจ้า |
คู่ผสม | เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าขาวดอกมะลิ105 สายพันธุ์กลาย ต้นเตี้ย ที่มีลักษณะต้านทานต่อโรคไหม้ ไม่ไวต่อช่วงแสงเป็นพันธุ์แม่ กับข้าวเจ้าพันธุ์สังข์หยดพัทลุงซึ่งเป็นข้าวเจ้าที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง ไวต่อช่วงแสง อายุหนัก ต้นสูง เป็นพันธุ์พ่อ |
ประวัติพันธุ์ |
SRN06008-18-1-5-7-CPA-20 เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าขาวดอกมะลิ 105 สายพันธุ์กลาย ต้นเตี้ย ที่มีลักษณะต้านทานต่อโรคไหม้ ไม่ไวต่อช่วงแสงเป็นพันธุ์แม่ กับข้าวเจ้าพันธุ์สังข์หยดพัทลุงซึ่งเป็นข้าวเจ้าที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง ไวต่อช่วงแสง อายุหนัก ต้นสูง เป็นพันธุ์พ่อ ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ในฤดูนาปรัง 2549 และคัดเลือกข้าวพันธุ์ผสมแบบสืบตระกูล ชั่วที่ 1-6 ในฤดูนาปี 2549-2554 ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ และชั่วที่ 7 ในฤดูนาปี 2555 ที่ศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในสถานีในฤดูนาปี 2556 หลังจากนั้นนำผลผลิตมาวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางเคมี ที่ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระฟีโนลิกและฟลาโวนอยด์ และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปลูกประเมินลักษณะประจำพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ และทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคและแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญในฤดูนาปี 2557 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่าสถานีภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาชลประทานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ นครราชสีมา สกลนคร ขอนแก่น ชุมแพ หนองคาย อุดรธานี ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในแปลงนาเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 8 แห่ง รวมทั้งปลูกทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนที่ศูนย์วิจัยข้าวอุดรธานี และ ประเมินการยอมรับของเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น และนครราชสีมา ในฤดูนาปี 2558 ประเมินการยอมรับของผู้ใช้ประโยชน์ที่จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. 2558 ประเมินการยอมรับของเกษตรกรผู้ใช้ประโยชน์ ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคที่จังหวัดขอนแก่น นครศรีธรรมราช และกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพทางเคมี และการหุงต้มรับประทานเพื่อการรับรองพันธุ์ ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี พ.ศ. 2559 |
การรับรองพันธุ์ | คณะกรรมการวิจัยและพัฒนาข้าว มีมติให้เป็น พันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 12 กรกฏาคม 2559 |
ลักษณะประจำพันธุ์ |
|
ผลผลิต | ประมาณ 797 กิโลกรัมต่อไร่ |
ลักษณะเด่น |
|
พื้นที่แนะนำ |
แนะนำให้ปลูกในพื้นที่นาน้ำฝนและนาชลประทาน โดยเฉพาะแหล่งที่มีความต้องการปลูกข้าวคุณภาพพิเศษสำหรับกลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพ |