พันธุ์ข้าว

กข67 (RD67)

 

ชื่อพันธุ์ กข67 (RD67)
ชนิด ข้าวเจ้า
คู่ผสม 

เกิดจากการผสมซ้อน ระหว่างข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 กับ Mudgo และ หอมสุรินทร์ กับ SPR90116-15-2-2-1-1 แล้วนำลูกผสมชั่วที่ 1 จากทั้งสองคู่ผสมมาผสมกัน 

ประวัติพันธุ์

PSL04106-28-R-1-R-2-R-1-R-1-1 ได้จากการผสมซ้อนเริ่มผสมใน ปี 2545 ระหว่าง

ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 กับ Mudgo และ หอมสุรินทร์ กับ SPR90116-15-2-2-1-1 ปี 2546 นำลูกผสมชั่วที่ 1 จากทั้งสองคู่ผสมมาผสมกัน  ปี2547 นำลูกผสมชั่วที่ 1 ที่ได้ผสมกับ SPR90116-15-2-2-1-1  ปี 2548 ปลูกลูกผสมชั่วที่ 1 ปี 2549 ปลูกลูกผสมชั่วที่ 2 แบบหมู่ คัดเลือกได้ต้นที่ 28 ปี 2550  นำพันธุ์ผสมชั่วที่ 3 เข้าทดสอบการต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล คัดเลือกต้นที่ต้านทานนำเข้าเร่งชั่วอายุคัดเลือกได้ต้นที่ 1 นำไปปลูกเป็นพันธุ์ผสมชั่วที 4 พร้อมทดสอบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล คัดเลือกต้นที่ต้านทานนำเข้าเร่งชั่วอายุคัดเลือกได้ต้นที่ 2 นำไปปลูกเป็นพันธุ์ผสมชั่วที่ 5 และทดสอบความต้านทานโรคไหม้ คัดเลือกต้นที่ต้านทานนำเข้าเร่งชั่วอายุคัดเลือกได้ต้นที่1 นำไปปลูกเป็นพันธุ์ผสมชั่วที่ 6 และทำการทดสอบโรคไหม้ อีกครั้ง คัดเลือกต้นที่ต้านทานนำเข้าเร่งชั่วอายุคัดเลือกได้ต้นที่ 1 ปี 2551 ปลูกพันธุ์ผสมชั่วที่ 7 คัดเลือกได้ต้นที่ 1 ปี 2552 ปลูกศึกษาพันธุ์ คัดเลือกได้สายพันธุ์  PSL04106-28-R-1-R-2-R-1-R-1-1 เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ที่ศูนย์วิจัยพิษณุโลก  ฤดูนาปี 2553 จากนั้นนำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ชัยนาท และลพบุรี ในฤดูนาปี 2554 ถึงฤดูนาปี 2556 นำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ จังหวัดพิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท และลพบุรี ตั้งแต่ฤดูนาปี 2555 ถึงฤดูนาปี 2556 ทดสอบผลผลิตและการยอมรับของเกษตรกร ตั้งแต่ฤดูนาปี 2556 ถึงฤดูนาปี 2558 ในนาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย และชัยนาท พร้อมทั้งทดสอบเสถียรภาพผลผลิต ในฤดูนาปี 2554 ถึงฤดูนาปี 2556 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ชัยนาท ลพบุรี ราชบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา และคลองหลวง

การรับรองพันธุ์ คณะกรรมการวิจัยและพัฒนาข้าว มีมติให้เป็น พันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2559

  

 

ลักษณะประจำพันธุ์
  • เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง อายุปานกลาง เก็บเกี่ยวปลายเดือนพฤศจิกายน
  • ลักษณะทรงกอค่อนข้างตั้ง ต้นแข็งไม่ล้มง่าย ใบสีเขียว  ใบธงตั้ง คอรวงค่อนข้างสั้นรวงแน่นปานกลาง ความสูงเฉลี่ย 125 เซนติเมตร
  • น้ำหนักข้าวเปลือก 11.35 กิโลกรัมต่อถัง ข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด หนัก 32.67 กรัม เปลือกเมล็ดสีฟางปนกระน้ำตาล ข้าวเปลือกยาว 10.15 มิลลิเมตร กว้าง 2.91 มิลลิเมตร หนา 2.17 มิลลิเมตร 
  • ข้าวกล้องรูปร่างเรียว ยาว 7.76 มิลลิเมตร กว้าง 2.39 มิลลิเมตร หนา 1.89 มิลลิเมตร รูปร่างเรียว
  • ข้าวสาร ยาว 7.74 มิลลิเมตร กว้าง 2.35 มิลลิเมตร หนา 1.85 มิลลิเมตร
  • ความคงตัวของแป้งสุกในระดับแป้งค่อนข้างอ่อน อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ การยืดตัวของเมล็ดข้าวสุกน้อย
  • เมื่อหุงสุกมีกลิ่นหอม เลื่อมมันของเมล็ดค่อนข้างมัน สีขาวนวล ข้าวสุกค่อนข้างนุ่ม มีระยะพักตัว 7-8 สัปดาห์
ผลผลิต ประมาณ 749 กิโลกรัมต่อไร่
ลักษณะเด่น
  • ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง ทรงต้นเตี้ย อมิโลสปานกลาง มีความหอมเล็กน้อย ต้านทานต่อโรคไหม้
  • ให้ผลผลิตสูง เฉลี่ย 749 กิโลกรัมต่อไร่ มีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตดีในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
พื้นที่แนะนำ เหมาะสำหรับพื้นที่นาอาศัยน้ำฝนในเขตภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง
   

       

 

คำอธิบาย: C:\Users\User\Pictures\image4.jpeg