พันธุ์ข้าว

 กข22 (RD22)

ชื่อพันธุ์ กข22 (RD22)
ชนิด  ข้าวเหนียว
คู่ผสม

เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวเหนียวสายพันธุ์ PTT97100-B-116-3-3 ซึ่งผลผลิต

สูง แต่อ่อนแอต่อโรคไหม้เป็นพันธุ์แม่ กับข้าวเหนียวสายพันธุ์  KKN97031-NKI-B-B-122-1-1 ซึ่งต้านทานต่อโรคไหม้ แมลงบั่ว คุณภาพเมล็ดและการหุงต้มรับประทานดี มีกลิ่นหอม แต่ผลผลิตต่ำเป็นพันธุ์พ่อ โดยผสมพันธุ์แบบผสมเดี่ยว

ประวัติพันธุ์  

KKN04023-NKI-14-2-6-1 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวเหนียวสายพันธุ์

PTT97100-B-116-3-3 ซึ่งผลผลิตสูง แต่อ่อนแอต่อโรคไหม้เป็นพันธุ์แม่ กับข้าวเหนียวสายพันธุ์  KKN97031-NKI-B-B-122-1-1 ซึ่งต้านทานต่อโรคไหม้ แมลงบั่ว คุณภาพเมล็ดและการหุงต้มรับประทานดี มีกลิ่นหอม แต่ผลผลิตต่ำเป็นพันธุ์พ่อ โดยผสมพันธุ์แบบผสมเดี่ยว ในฤดูนาปี 2547 ที่ศูนย์วิจัยข้าวขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อผนวกลักษณะผลผลิตสูงจากข้าวเหนียวสายพันธุ์ PTT97100-B-116-3-3 กับลักษณะความต้านทานต่อโรคไหม้ แมลงบั่ว คุณภาพเมล็ดและการหุงต้มรับประทานดี จากข้าวเหนียวสายพันธุ์ KKN97031-NKI-B-B-122-1-1 มารวมไว้ด้วยกันในข้าวสายพันธุ์ใหม่ ปลูกคัดเลือกข้าวสายพันธุ์ผสมชั่วที่ 3 ถึง 6 แบบสืบตระกูล ที่ศูนย์วิจัยข้าวหนองคาย โดยปลูกคัดเลือกทั้งฤดูนาปีและฤดูนาปรัง ตั้งแต่ฤดูนาปี 2548 ถึงฤดูนาปี 2550 จนได้สายพันธุ์ KKN04023-NKI-14-2-6-1 พ.ศ. 2551 ปลูกศึกษาพันธุ์ภายในสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวหนองคาย พ.ศ. 2552 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวหนองคาย พ.ศ. 2553-2556 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ ขอนแก่น หนองคาย สกลนคร อุดรธานี นครราชสีมา สุรินทร์ และอุบลราชธานี และวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางเคมีและทางกายภาพ รวมทั้งทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคและแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ พ.ศ. 2555 ปลูกประเมินลักษณะประจำพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยข้าวหนองคาย พ.ศ. 2556-2557 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2557 ปลูกทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนที่ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ พ.ศ. 2558 ประเมินการยอมรับของเกษตรกรในจังหวัดบึงกาฬ

การรับรองพันธุ์ คณะกรรมการวิจัยและพัฒนาข้าว มีมติให้เป็น พันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 12 กรกฏาคม 2559

      

ลักษณะประจำพันธุ์ 

-  เป็นข้าวเหนียวไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 130 วัน

-  ลักษณะทรงกอตั้ง ความสูงประมาณ 120 เซนติเมตร ลำต้นค่อนข้างแข็ง ใบสีเขียวเข้ม ปลายใบตั้งตรง ใบค่อนข้างแก่ช้า ใบธงยาว 36.8 เซนติเมตร กว้าง 1.60 เซนติเมตร มุมใบธงตั้งตรง รวงยาว 28.8 เซนติเมตร ลักษณะรวงแน่นปานกลาง คอรวงสั้น

-  จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 151 เมล็ด เมล็ดร่วงง่าย น้ำหนัก 28.10 กรัม เปลือกสีน้ำตาล -- ข้าวเปลือกมีความยาวเฉลี่ย 10.68 มิลลิเมตร กว้าง 2.66 มิลลิเมตร หนา 1.98 มิลลิเมตร

-  ข้าวกล้องสีขาว มีความยาวเฉลี่ย 7.63 มิลลิเมตร กว้าง 2.13 มิลลิเมตร หนา 1.80 มิลลิเมตร                          

-  จัดเป็นข้าวเหนียวเมล็ดยาว รูปร่างเรียว (อัตราส่วนความยาวต่อความกว้าง 3.58) คุณภาพการสีดีมาก ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวร้อยละ 54.9 อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ

-  เมื่อนึ่งสุกเนื้อสัมผัสนุ่ม มีกลิ่นหอมเล็กน้อย ระยะพักตัวของเมล็ด 4 สัปดาห์

ผลผลิต ประมาณ 684 กิโลกรัมต่อไร่
ลักษณะเด่น

-  คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและการสีดี คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี มีกลิ่นหอม

-  ต้านทานต่อโรคไหม้ในระยะกล้าในหลายท้องที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

-  ต้านทานต่อแมลงบั่วในหลายท้องที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนบน

พื้นที่แนะนำ

-  แนะนำให้ปลูกในพื้นที่มีระบบน้ำชลประทาน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีโรคใบไหม้และแมลงบั่วระบาด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบน