พันธุ์ข้าว

เหนียวดำหมอ 37

ชื่อพันธุ์ - เหนียวดำหมอ 37
ชนิด - ข้าวเหนียว
คู่ผสม - เก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวเหนียวพื้นเมือง
ประวัติพันธุ์ -
 

ศูนย์วิจัยข้าวปัตตานีได้เก็บรวบรวมพันธุ์ ข้าวเหนียวสีพันธุ์พื้นเมืองจากจังหวัดกระบี่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ที่เกษตรกรนิยมปลูกทั่วไปในภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2539 ถึง 2542 ได้จำนวน 89 พันธุ์ มาปลูกศึกษาวิจัยและพัฒนาพันธุ์ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาสวน นาน้ำฝนภาคใต้ที่ศูนย์วิจัยข้าวปัตตานี ในฤดูนาปี 2546/47 ถึง 2547/48 หลังการจัดหมวดหมู่กลุ่มพันธุ์แล้ว ได้ดำเนินการปลูกคัดเลือกให้เป็นพันธุ์บริสุทธิ์ (Pure line selection) แบบรวงต่อแถวในแต่ละกลุ่มพันธุ์/สายพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยข้าวปัตตานี คัดเลือกข้าวเหนียวดำหมอได้ สายพันธุ์ PTNC96051-37 ซึ่งได้เก็บตัวอย่างพันธุ์มาจากอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง (กรมการข้าว, 2554)

การรับรองพันธุ์ - คณะกรรมการวิจัยและพัฒนาข้าว มีมติให้เป็น พันธุ์รับรองเมื่อ 15 มกราคม 2558

ลักษณะประจำพันธุ์ - ข้าวเหนียวดำหมอ 37 สายพันธุ์ PTNC96051-37 เป็นข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมืองไวต่อช่วงแสงออก
  - ดอกต้นเดือนกุมภาพันธ์ ผลผลิตเฉลี่ย 378 กิโลกรัมต่อไร่ ความสูงประมาณ 139 เซนติเมตร
  - ลักษณะทรงกอตั้ง แผ่นใบสีม่วงผสมเขียว กาบใบสีเขียวเส้นม่วง ใบธงหักลง ยอดเกสรตัวเมียสีม่วงอ่อน ยอดดอกสีม่วงดำ สีกลีบรองสีม่วงแดง คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง การแตกกระแง้ปานกลาง รวงยาว 24.8 เซนติเมตร ข้าวเปลือกสีฟางกระน้ำตาล
  - เมล็ดข้าวเปลือกยาว 10.69 มิลลิเมตร กว้าง 3.10 มิลลิเมตร หนา 2.04 มิลลิเมตร ข้าวกล้องสีดำยาว 7.28 มิลลิเมตร หนา 1.80 มิลลิเมตร รูปร่างเมล็ดค่อนข้างป้อม น้ำหนักข้าวเปลือก 27.93 กรัมต่อ 1,000 เมล็ด
  -

คุณภาพการสีดีมาก ระยะพักตัวประมาณ 8 สัปดาห์

ผลผลิต - 378 กิโลกรัมต่อไร่
ลักษณะเด่น - เป็นข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงซึ่งพบ ว่าข้าวกล้องและข้าวกล้องงอกมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ โดยมีธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุสังกะสีและสารในกลุ่มวิตามินอีแอลฟาโทโคฟีรอลสูง มีวิตามินบี 1 วิตามินบี 3 และวิตามินบี 6 รวมทั้งความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูง
  - ป็นข้าวเหนียวดำพื้นเมือง เมื่อนึ่งสุกมีลักษณะอ่อนนุ่มที่ผู้บริโภคในพื้นที่ภาคใต้นิยม นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เป็นอาหารเสริมหรืออาหารว่างใช้ในงานบุญประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ ทำให้มีราคาจำหน่ายสูงกว่าข้าวทั่วไป
พื้นที่แนะนำ -

ควรปลูกในสภาพนาสวนน้ำฝนฤดูนาปีภาคใต้ในสภาพพื้นที่นาดอนโดยวิธีปักดำ และ/หรือปลูกในสภาพไร่โดยวิธีหยอดเมล็ด