ปี 2549 ศูนย์วิจัยข้าวกระบี่เก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวไร่ดอกข่าจากแปลง เกษตรกรอำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา นำมาปลูกศึกษาวิจัยและพัฒนา พันธุ์ภายใต้โครงการ การพัฒนาการผลิตข้าวไร่พื้นเมืองเพื่อปลูกแซม ยางพาราและปาล์มน้ำมันในภาคใต้ฝั่งตะวันตก และโครงการปรับปรุงพันธุ์ ข้าวไร่พื้นเมืองเพื่อปลูกแซมยางพาราและปาล์มนํ้ามันที่ปลูกใหม่ในภาคใต้ ในฤดูปี 2560 ปลูกคัดเลือกให้ได้สายพันธุ์บริสุทธิ์แบบรวงต่อแถวที่ศูนย์วิจัย ข้าวกระบี่ ฤดูนาปี 2561 ปลูกศึกษาพันธุ์ขั้นต้นที่ศูนย์วิจัยข้าวกระบี่ ฤดูนาปี 2552 ปลูกภายในสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวกระบี่ และฤดูนาปี 2553 ปลูก เปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ที่อำเภอคลองเหนือและอำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่
ผลผลิตสูงเฉลี่ยสูงกว่าพันธุ์ดอกพะยอม 64%
เป็นพันธุ์ข้าวที่มีเยื่อหุ้มสีแดง ข้าวซ้อมมือเมื่อหุงสุกมีกลิ่นหอมปานกลาง ค่อนข้างนุ่ม และมีปริมาณสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างการ ได้แก่ กรดไขมันชนิดโอเมก้า 9 วิตามินอีชนิดอัลฟาโทโคฟีรอลและแกมม่าโทโคฟีรอล ในข้าวกล้องค่อนข้างสูง
เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่สภาพไร่ทั่วไป ปลูกแซมแปลงยางพาราและ ปาล์มนํ้ามัน ปลูกใหม่จนถึง 3 ปี แถบภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดพังงา กระบี่ ตรัง นครศรีธรรมราช และจังหวัดระนอง