พันธุ์ข้าว

หอมใบเตย 62

ชื่อพันธุ์ - หอมใบเตย 62 (Hawm Bai Tuey 62)
ชนิด - ข้าวเจ้า
คู่ผสม -  
ประวัติพันธุ์ -

ข้าว “หอมใบเตย ”หรือ พันธุ์ข้าว “C85” เป็นข้าวเจ้านาปีที่ปลูกในสภาพ
พื้นที่นาอาศัยน้าฝนของภาคเหนือตอนล่าง ได้รับความนิยมอย่างมากใน
จังหวัดนครสวรรค์และอุทัยธานี โดยมีการปลูกกันอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ
เวลาไม่น้อยกว่า 30 ปี เพราะเป็นข้าวเจ้าที่มีรสชาติอร่อย เมื่อหุงเป็นข้าวสวยแล้ว นุ่ม เหนียว และมีกลิ่นหอม่

การรับรองพันธุ์ - คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2562
ลักษณะประจำพันธุ์ - เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง อายุเบา
  - ออกดอกประมาณวันที่ 12 ตุลาคม
  - ความสูงประมาณ 166 เซนติเมตร
  - ลำต้นค่อนข้างแข็ง ใบสีเขียว ทรงกอตั้ง
  - ใบธงยาว 25.0 เซนติเมตร กว้าง 1.5 เซนติเมตร มุมใบธงตั้งตรงถึงปานกลาง
  - รวงยาว 32.0 เซนติเมตร รวงแน่นปานกลาง คอรวงยาว
  - จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 167 เมล็ด เมล็ดร่วงปานกลาง
  - ข้าวเปลือกสีฟาง ข้าวกล้องสีขาว รูปร่างเรียว
  - เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 8.23 x 2.36 x 1.91 มิลลิเมตร
  - ระยะพักตัว 8 สัปดาห์
  - ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดีมาก สีได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว 55.1 เปอร์เซ็นต์
  - เป็นข้าวอมิโลสตํ่า (15.2 %)
  - ความคงตัวของแป้งสุกอยู่ในระดับอ่อน (การไหลของแป้ง 95.0 มิลลิเมตร)
  - อุณหภูมิแป้งสุกตํ่า การยืดตัวของข้าวสุกปกติ (1.57 เท่า)
  - ข้าวสวยมีสีขาวนวล นุ่ม เหนียว และมีกลิ่นหอม
ผลผลิต - ประมาณผลผลิตเฉลี่ย 578 กิโลกรัมต่อไร่
ลักษณะเด่น - เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง อายุเบา
  - คุณภาพเมล็ด และคุณภาพการสีดีมาก
  - เมื่อหุงสุกแล้วได้ข้าวสวยนุ่ม และมีกลิ่นหอม
ข้อควรระวัง -

อ่อนแอมากต่อโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง ค่อนข้างอ่อนแอต่อเพลี้ย
กระโดดสีนํ้าตาล

พื้นที่แนะนำ -

เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาอาศัยนํ้าฝนในเขตจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี
และพื้นที่ใกล้เคียง