พันธุ์ข้าว

เหลืองใหญ่ปราจีนบุรี 48

ชื่อพันธุ์ -

เหลืองใหญ่ปราจีนบุรี 48 (Leuang Yai Prachin Buri 48)

ชนิด - ข้าวเจ้า
คู่ผสม -  
ประวัติพันธุ์ -

ข้าวเจ้าสายพันธ์ PCRC03001-48 เป็นข้าวขึ้นนํ้าพันธุ์พื้นเมืองที่ผ่านการ
ปรับปรุงพันธุ์โดยการการคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์ ในปี 2546 ได้เก็บรวบรวม
รวงข้าวพันธุ์เหลืองใหญ่ จำนวน 200รวง จากแปลงนาของนางทองปาน
เพชรเอี่ยม ตำบลบ้านสร้าง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งปลูกข้าว
ขึ้นนํ้าพันธุ์เหลืองใหญ่ ประมาณ 70 ไร่ ในปี 2547 ได้ปลูกคัดเลือกแบบรวง
ต่อแถว จำนวน 200 แถว และคัดเลือกได้ 24 แถว (สายพันธุ์) รวมทั้งแถวที่ 48
(PCRC03001-48) ปี 2548-2549 ปลูกศึกษาพันธุ์เบื้องต้น ปี 2550-2553
ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ที่ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี ในขณะ
เดียวกัน ปี 2551-2553 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ที่ศูนย์วิจัย
ข้าวปราจีนบุรี และศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรีอยุธยา ปี 2554 ปลูกขยาย
เมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ ในปี 2555-2556 ปลูกศึกษาศักยภาพการให้ผลผลิตนา
นํ้าลึกศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาและลักษณะทางการเกษตร ปี 2558-2559
ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ ที่อำเภอประจันตคาม และอำเภอ
บ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี อำเภอบางพลี จังหวัดนครนายก และอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

การรับรองพันธุ์ - คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2561
ลักษณะประจำพันธุ์ - มีความสามารถยืดปล้องได้ดีมากถึงปานกลาง
  - ต้นสูงประมาณ 215 เซนติเมตร ที่ระดับนํ้า 162 เซนติเมตร
  - ทรงกอแบะ ต้นแข็งแรงปานกลาง
  - ใบสีเขียว มุมของใบธงเป็นแนวนอน
  - เมล็ดข้าวเปลือกสีเหลือง
  - เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.61+ x 2.32 x 1.87 มิลลิเมตร
  - เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.50 x 1.98 x 1.73 มิลลิเมตร
  - ปริมาณอมิโลสปานกลาง (21.23%)
  - คุณภาพข้าวสุกค่อนข้างนุ่ม มีกลิ่นหอมปานกลาง
ผลผลิต - ประมาณ865 กิโลกรัมต่อไร่
ลักษณะเด่น - ผลผลิตสูงเฉลี่ยสูงกว่าพันธุ์ดอกพะยอม 64%
  -

เป็นพันธุ์ข้าวที่มีเยื่อหุ้มสีแดง ข้าวซ้อมมือเมื่อหุงสุกมีกลิ่นหอมปานกลาง
ค่อนข้างนุ่มและมีปริมาณสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างการ ได้แก่
กรดไขมันชนิดโอเมก้า 9 วิตามินอีชนิดอัลฟาโทโคฟีรอลและแกมม่าโทโคฟีรอล
ในข้าวกล้องค่อนข้างสูง

ข้อควรระวัง - อ่อนแอต่อโรคไหม้
พื้นที่แนะนำ -

เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่สภาพไร่ทั่วไป ปลูกแซมแปลงยางพาราและปาล์มนํ้ามัน ปลูกใหม่จนถึง 3 ปี แถบภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดพังงา กระบี่ ตรัง นครศรีธรรมราช และจังหวัดระนอง