พ.ศ. 2545 ได้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ปริมาณ 500 กรัม มีความชื้นในเมล็ดประมาณ 14 เปอร์เซ็นต์ ไปฉายรังสีแกมมา 200 เกรย์(gray) จากแหล่งรังสี Cesium 137 ที่ภาควิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวฉายรังสีชั่วที่ 1 (M1 seeds) นำมาปลูกคัดเลือกพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ฤดูนาปี พ.ศ. 2545 ใช้พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์เดิมปลูกเป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ดูแลปฏิบัติกระทั่งข้าวออกดอกจนถึงระยะเก็บเกี่ยว เลือกเก็บเกี่ยวรวงแรก 1 - 3 รวงจากแต่ละกอรวมทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน ปลิดเมล็ด 5 เมล็ดจากแต่ละรวงที่เก็บเกี่ยว ไว้รวมกัน นำไปปลูกคัดพันธุ์ข้าวชั่วที่ 2 (M2 plants) ในฤดูนาปรังพ.ศ. 2546 คัดพันธุ์ข้าวประชากรชั่วที่ 2 โดยคัดเลือกเฉพาะกอที่ออกดอกในฤดูนาปรัง มีลักษณะทรงต้นดี รวงและเมล็ดสวยไม่ลีบมาก เก็บเกี่ยว แยกแต่ละกอได้ 134 กอ นำไปปลูกคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวแบบสืบประวัติ(pedigree selection) ตั้งแต่ประชากรชั่วที่ 3 ถึง 7 (M3 - M7 plants) ระหว่าง พ.ศ.2546 ถึง พ.ศ.2548 ทั้งในฤดูนาปรังและฤดูนาปี จนได้สายพันธุ์ KDML105’02G1Cs-PTT-15-1-2-2-1 ที่มีต้นเตี้ยและไม่ไวต่อช่วงแสง นำไปปลูกศึกษาพันธุ์ในฤดูนาปรัง พ.ศ. 2549 ถึงฤดูนาปี พ.ศ.2552 เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ใน พ.ศ. 2553 ถึง พ.ศ.2555 พร้อมทั้งทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคและแมลงที่สำคัญ และวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและทางเคมี เปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี ใน พ.ศ. 2556 ถึง พ.ศ. 2558 เปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ ใน พ.ศ. 2558 ทดสอบเสถียรภาพการให้ผลผลิต และใน พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ.2560 ปลูกทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน
คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2561
ความสูงประมาณ 110-117 เซนติเมตร
เป็นข้าวเจ้านุ่มค่อนข้างเหนียว ไม่ไวต่อช่วงแสง มีเสถียรภาพการให้ผลผลิตดี ลำต้นแข็ง และไม่ล้ม
ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ โรคใบหงิก เพลี้ยกระโดดสีนํ้าตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว
ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคและแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ
พื้นที่นาชลประทาน