พันธุ์ข้าว

กข73 (RD73)

ชื่อพันธุ์ - กข73 (RD73)
ชนิด - ข้าวเจ้า
คู่ผสม -

UBN02123-50R-B-3 นำไปผสมกับสายพันธุ์ IR66946-196-3R-1-1

ประวัติพันธุ์ -

UBN02123-50R-B-3 ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ซึ่ง มี
คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี มีกลิ่นหอมเป็นพันธุ์แม่ กับสายพันธุ์
IR66946-196-3R-1-1 ซึ่งมียีนทนทานดินเค็มเป็นพันธุ์พ่อ แล้วผสมกลับ
ไปหาพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 จำนวน 3 ครั้ง ฤดูนาปี พ.ศ. 2543 เริ่มผสม
พันธุ์ที่ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี ร่วมกับการใช้เครื่องหมายโมเลกุลดีเอ็นเอ
ช่วยในการคัดเลือกที่หน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2546-2548 ปลูก
เร่งชั่วอายุ ปลูกคัดเลือกแบบรวม และแบบสืบตระกูล ที่ศูนย์วิจัยข้าว
อุบลราชธานี พ.ศ. 2549 ปลูกศึกษาพันธุ์ระหว่างสถานีในศูนย์วิจัยข้าว
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบนทั้ง 12 แห่ง พ.ศ. 2550-2553
ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีในศูนย์วิจัยข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และภาคเหนือตอนบนทั้ง 12 พ.ศ.2551-2554 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิต
ระหว่างในนาราษฎร์ ที่จังหวัดร้อยเอ็ด นครราชสีมา ยโสธร หนองบัวลำภู บุรีรัมย์ พะเยา และแม่ฮ่องสอน

การรับรองพันธุ์ - คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2560

ลักษณะประจำพันธุ์ - ไวต่อช่วงแสง
  - ความสูงประมาณ 157 เซนติเมตร
  -

ทรงกอตั้ง ลำต้นค่อนข้างแข็ง ใบสีเขียว ปลายใบตั้งตรง ใบแก่เร็วปานกลาง
ใบธงยาว ปลายใบตั้งตรง

  - รวงยาว คอรวงยาว เมล็ดร่วงง่าย
  - เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
  - เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.16 x 2.50 x 1.98 มิลลิเมตร
  - เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.45 x 2.15 x 1.75 มิลลิเมตร
  - ปริมาณอมิโลสสูง (25.6-27.2 %)
  - ข้าวสวยไม่ร่วน-ไม่แข็ง ค่อนข้างนุ่ม มีกลิ่นหอม
  - ระยะพักตัวของเมล็ด 8 สัปดาห์
ผลผลิต - ผลผลิต 627 กิโลกรัมต่อไร่ ในนาราษฎร์
ลักษณะเด่น -

- เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง ทนทานดินเค็มได้ดีกว่าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105
เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  -

ต้านทานต่อโรคไหม้ในระยะกล้าในหลายท้องที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และภาคเหนือตอนบน

  -

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและการสีดี คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี
ข้าวสวยไม่ร่วน-ไม่แข็ง ค่อนข้างนุ่ม มีกลิ่นหอม

ข้อควรระวัง - อ่อนแอต่อโรคไหม้คอรวง ขอบใบแห้ง เช่นเดียวกับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105
  -

อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีนํ้าตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว และแมลงบั่ว เช่นเดียวกับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และกข7

พื้นที่แนะนำ -

แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ดินเค็ม โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีโรคไหม้ระบาดในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ