ตัวอย่างการผลิตข้าวอินทรีย์ | ||||||||||||||
เปรียบเทียบการผลิตข้าวโดยทั่วไปกับการผลิตข้าวอินทรีย์ รูปแบบการผลิตข้าวอินทรีย์ great harvest และ ไทไท ประกอบด้วย ด้านการผลิต : ฝ่ายผลิต(production part) การจัดทำโครงการ กำหนดผู้เกี่ยวข้อง สมัครขอรับการรับรอง กับหน่วยรับรองที่ผู้ซื้อต้องการกำหนดและขึ้นทะเบียนพื้นที่ ทะเบียนเกษตรกร และการจัดการสภาพแวดล้อม กำหนดแผนการเพาะปลูก จนได้ข้าวเปลือก การรวบรวมผลผลิต เก็บรักษา แปรรูป บรรจุผลิตภัณฑ์ และวางตลาด ทุกขั้นตอน มีการจัดทำเอกสารส่งให้หน่วยรับรอง ด้านการตรวจสอบ : วางแผนการตรวจสอบ โดยกำหนดผู้ตรวจในแต่ละขั้นตอน ตรวจประเมิน วิเคราะห์ สัมภาษณ์ และสอบทวนทุกขั้นตอนการตรวจสอบ มีเอกสารรายงานผลกำกับ ส่งเอกสารรายงานทุกขั้นตอน ให้หน่วยรับรอง ด้านการรับรอง : หน่วยรับรอง(certify body ) พิจารณาเอกสารรายงาน ทั้งจากด้านการผลิต และด้านการตรวจสอบ แล้วสรุปผลว่า จะให้หรือไม่ให้การรับรองผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากรอบการผลิตนั้น กรณีตัวอย่าง(prototype)การผลิตข้าวอินทรีย์great harvest และ ไทไท เปรียบเทียบการผลิตข้าวโดยทั่วไป กับ การผลิตข้าวอินทรีย์
กระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์ Great Harvest และไทไท ข้าวอินทรีย์ (Organic Rice) เป็นข้าวที่ได้จากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ (Organic farming หรือ Organic agriculture) ซึ่งเป็นวิธีการผลิตข้าวที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีหรือสารสังเคราะห์ต่างๆ เป็นต้นว่า ปุ๋ย-เคมี สารควบคุมการเจริญเติบโต สารกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดโรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าว ในทุกขั้นตอน การผลิต เก็บรักษา แปรรูป และบรรจุเป็นผลิตภัณฑ์จนถึงมือผู้บริโภค แต่ให้เน้นการใช้สารหรือวัสดุอินทรีย์ วัสดุธรรมชาติ และการจัดการเพาะปลูกให้ต้นข้าวแข็งแรงทนทานต่อศัตรูข้าว ตลอดจนการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการควบคุมของศัตรูธรรมชาติ โดยคำนึงถึงการรักษาสภาพแวดล้อม สุขอนามัยและคุณภาพชีวิต ตลอดจนความยั่งยืนของระบบการผลิต ในการผลิตข้าวแบบทั่วไปนั้น พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกมักจะถูกกำหนดโดยความต้องการของตลาดผ่านโรงสี พ่อค้าหรือเพื่อนบ้าน รวมทั้งนโยบายส่งเสริมการปลูกของภาครัฐ ชาวนามีหน้าที่รับผิดชอบในขั้นตอนการปลูกไปจนถึงเป็นข้าวเปลือก โดยรับคำแนะนำและใช้ปัจจัยการผลิตจากภาครัฐและภาคธุรกิจเกษตร หลังจากนั้นจะขายข้าวเปลือกให้โรงสีหรือพ่อค้าข้าวในพื้นที่ตามราคาของตลาดในปีนั้น ๆ แล้วชาวนาจะหมดความรับผิดชอบในข้าวนั้น ๆ ซึ่งทางโรงสีจะแปรรูปจำหน่ายให้พ่อค้าท้องถิ่นหรือผู้ส่งออกที่จะรับผิดชอบในขั้นตอนต่อ ๆ ไป
ในการผลิตข้าวอินทรีย์นั้น จะต้องเริ่มต้นด้วยการรวบรวมองค์กรต่าง ๆ เข้าเป็นระบบการผลิต ตั้งแต่เริ่มต้นหาตลาดจำหน่าย กำหนดพื้นที่ วางแผนการผลิต ขึ้นทะเบียน ปลูกข้าวอินทรีย์จนได้ข้าวสารแล้วส่งต่อให้องค์กรเก็บรักษาและแปรรูป หน่วยงานคัดและปรับปรุงคุณภาพและบรรจุเป็นผลิตภัณฑ์ ส่งให้ตลาดในที่สุด (ส่วน A) นอกจากนี้ในการผลิตข้าวอินทรีย์จะต้องมีระบบตรวจสอบและรับรอง (ส่วน B) ที่แยกจากส่วนการผลิตอย่างชัดเจน โดยเริ่มที่การสมัครขอรับการรับรอง ส่งเอกสารแจ้งสภาพแวดล้อมและแผนการผลิต การแปรรูปและบรรจุภัณฑ์ แล้วองค์กรหรือหน่วยงานที่จะให้การรับรองส่งผู้ตรวจสอบเข้าตรวจประเมินในขั้นตอนต่าง ๆ แล้วส่งรายงานให้หน่วยรับรองตรวจสอบเอกสารและตรวจซ้ำในจุดที่ยังไม่ชัดเจน แล้วจึงพิจารณาให้หรือไม่ให้การรับรองผลิตภัณฑ์ เห็นได้ว่า การผลิตข้าวอินทรีย์นี้ ทุกองค์กรในระบบการผลิตจะต้องมีความรับผิดชอบร่วมกัน โดยมีองค์กรหลักเป็นผู้ประสานงานและลงทุนในระบบรวมทั้งดูแลการจัดการผลตอบแทนที่แต่ละองค์กรจะได้รับ และกำหนดโครงการสร้างราคาอย่างเป็นธรรม
|