พันธุ์ข้าว

เหนียวดำช่อไม้ไผ่ 49 (PTNC96004-49)

ชื่อพันธุ์ - เหนียวดำช่อไม้ไผ่ 49 (PTNC96004-49)
ชนิด - ข้าวเหนียว
ประวัติพันธุ์ -
ศูนย์วิจัยข้าวปัตตานีเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวเหนียวพื้นเมืองจากจังหวัดกระบี่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ในปี 2539 – 2542 จำนวน 89 พันธุ์ ฤดูนาปี 2539/40 – ฤดูนาปี 2550/51 ปลูกอนุรักษ์และศึกษาลักษณะประจำพันธุ์เบื้องต้น ปลูกประเมินลักษณะและจัดหมวดหมู่กลุ่ม พันธุ์ปลูกคัดเลือกให้เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์แบบรวงต่อแถวในแต่ละกลุ่มพันธุ์/สายพันธุ์ คัดเลือกข้าวเหนียวดำช่อไม้ไผ่ได้สายพันธุ์ PTNC96004-49
การรับรองพันธุ์ - คณะกรรมการบริหาร กรมการข้าว มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2554

ลักษณะประจำพันธุ์ - เป็นข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมือง สูงประมาณ 135 เซนติเมตร
  - ไวต่อช่วงแสง ออกดอกปลายเดือนมกราคม
  - ทรงกอตั้ง ใบสีเขียวเข้ม กาบใบสีเขียว ใบธงหักลง ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีม่วง กลีบดอกสีม่วงดำ คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง รวงยาว 28.5 เซนติเมตร
  - เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
  - ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 8 สัปดาห์
  - เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.2 x 3.7 x 2.2 มิลลิเมตร
  - เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.2 x 2.8 x 1.9 มิลลิเมตร
  - คุณภาพการสีปานกลาง
ลักษณะเด่น - เป็นข้าวเหนียวดำพื้นเมือง เมื่อนึ่งสุกมีลักษณะอ่อนนุ่ม ที่ผู้บริโภคในพื้นที่ภาคใต้นิยมนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นอาหารเสริมหรืออาหารว่าง และใช้ในงานบุญประเพณี ทำให้มีราคาจำหน่ายสูงกว่าข้าวทั่วไป
  - คุณค่าทางโภชนาการสูง โดยมีวิตามินบี 1  วิตามินบี 3  วิตามินบี 6  และวิตามินอี
ข้อควรระวัง - อ่อนแอต่อโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง ไม่เหมาะสมกับการปลูกในพื้นที่นาลุ่ม
พื้นที่แนะนำ - พื้นที่นาดอนและสภาพไร่ในภาคใต้