พันธุ์ข้าว

กข12 (หนองคาย 80)

 

ชื่อพันธุ์ -

กข12 (หนองคาย 80)

ชนิด - ข้าวเหนียว
คู่ผสม - หางยี 71/กข6
ประวัติพันธุ์ -

กข12 (หนองคาย 80) ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าว หางยี 71 ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่ต้านทานต่อโรคไหม้ เป็นพันธุ์แม่ กับ กข6 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีคุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี   แต่ไม่ต้านทานต่อโรคไหม้ เป็นพันธุ์พ่อ เมื่อ
พ.ศ. 2535 และปลูกข้าวลูกผสมชั่วที่ 1 ใน พ.ศ. 2536 ที่ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร  ปลูกคัดเลือกข้าวพันธุ์ผสมชั่วที่ 2 ถึงชั่วที่ 5 แบบรวม (bulk) ที่ศูนย์วิจัยข้าวหนองคาย ระหว่าง พ.ศ. 2537-2540  ปลูกคัดเลือกแบบสืบตระกูล (pedigree) ที่ศูนย์วิจัยข้าวขอนแก่น ฤดูนาปรังปี พ.ศ. 2540/2541 ได้สายพันธุ์ UBN92110-NKI-B-B-B-30-KKN-1 และในฤดูนาปี 2541 ปลูกศึกษาพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยข้าวขอนแก่น ระหว่าง พ.ศ. 2542-2546 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบน  และทดสอบคุณภาพเมล็ดทางเคมีและทางกายภาพ  รวมทั้งทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ   ระหว่าง พ.ศ. 2543-2546 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบน
พ.ศ. 2543-2545 ปลูกทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนที่ศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ อุดรธานี และสกลนคร พ.ศ. 2546 ประเมินการยอมรับของเกษตรกร

การรับรองพันธุ์ - คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง ชื่อ กข12 (หนองคาย 80) เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2550


 

ลักษณะประจำพันธุ์ - เป็นข้าวเหนียวไวต่อช่วงแสง
  - อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 10-15 พฤศจิกายน
  - ทรงกอตั้ง   ต้นแข็งไม่ล้มง่าย ใบสีเขียวเข้ม รวงแน่นปานกลาง คอรวงยาว ให้จำนวนรวงเฉลี่ย 10 รวงต่อกอ
  - เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาลเข้ม ขนสั้น
  - ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 7 สัปดาห์
  - เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา =  10.3 x 2.6 x 1.9 มิลลิเมตร       
  - เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.2 x 2.2 x 1.8 มิลลิเมตร          
ผลผลิต - เฉลี่ย 422-522  กิโลกรัม/ไร่
ลักษณะเด่น -

เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่มีอายุเบากว่าพันธุ์ กข6 ประมาณ 10 วัน
ปลูกในพื้นที่นาค่อนข้างดอน ซึ่งไม่เหมาะสมกับพันธุ์ กข6 

  - ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้ในหลายท้องที่
  - มีคุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี เป็นที่ยอมรับของเกษตรกร
ข้อควรระวัง - อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
พื้นที่แนะนำ -

พื้นที่นาน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะพื้นที่ฝนหมดเร็ว หรือนาค่อนข้างดอน และในระบบการปลูกพืชที่มีข้าวเป็นพืชหลัก

กข6
กข12 หางยี 71