ลักษณะประจำพันธุ์ |
- |
เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง ความสูงประมาณ 104 เซนติเมตร |
|
- |
อายุเก็บเกี่ยว 105 วัน |
|
-
|
กอตั้ง ต้นแข็ง ใบและกาบใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง คอรวงโผล่พ้นจากกาบใบธงเล็กน้อย ยอดเกสรตัวเมียสีขาว |
|
- |
เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง เปลือกเมล็ดมีขนสั้น รูปร่างเรียว |
|
- |
เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.40 x 2.5 x 2.0 มิลลิเมตร |
|
- |
เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.7 x 2.2 x 1.8 มิลลิเมตร |
|
- |
ปริมาณอมิโลสสูง (27.15%) |
|
- |
คุณภาพการสีดีได้ข้าวเต็มเมล็ด |
|
- |
ระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ประมาณ 9-10 สัปดาห์ |
ผลผลิต |
- |
ประมาณ 722 กิโลกรัมต่อไร่่ |
ลักษณะเด่น
|
-
|
ผลผลิตสูง มีเสถียรภาพดี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 722 กก./ไร่ สูงกว่าสุพรรณบุรี 1 (645 กก./ไร่) และชัยนาท 1 (640 กก./ไร่) คิดเป็นร้อยละ 12 และ 13 ตามลำดับ แต่ไม่แตกต่างจากพิษณุโลก 2 (719 กก./ไร่) |
|
- |
ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคไหม้ |
|
-
|
คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดีเป็นข้าวเจ้าเมล็ดยาวเรียว ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดี สามารถสีเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ได้ |
ข้อควรระวัง |
- |
อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในระดับสูงเกินไปจะทำให้เกิดโรครุนแรง อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในเขตจังหวัดนครปฐมและปทุมธานีการปลูกในช่วงกลางเดือนกันยายน – พฤศจิกายน จะกระทบอากาศเย็นทำให้ผลผลิตต่ำกว่าปกติ
|
พื้นที่แนะนำ |
- |
เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาชลประทาน ภาคเหนือตอนล่าง สำหรับเป็นทางเลือกของเกษตรกรในการป้องกันการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
|