การปลูกและดูแลรักษา

การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวและการเตรียมกล้าข้าว

 

การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว

        การเตรียมเมล็ดพันธุ์ ต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่บริสุทธ์ ปราศจากสิ่งเจือปน มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง (ไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์) ปราศจากการทำลายของโรคและแมลง

        การแช่และหุ้มเมล็ดพันธุ์ นำเมล็ดข้าวที่ได้เตรียมไว้บรรจุในภาชนะเช่นตะกร้าไม้ไผ่สาน กระสอบป่านหรือ ถุงผ้า ไปแช่ในน้ำสะอาด นานประมาณ 12-24 ชั่วโมง จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ขึ้นมาวางบนพื้นที่น้ำไม่ขัง และมีการถ่ายเทอากาศดี นำกระสอบป่านชุบน้ำจนชุ่มมาหุ้มเมล็ดพันธุ์โดยรอบ รดน้ำทุกเช้าและเย็น เพื่อรักษาความชุ่มชื้น หุ้มเมล็ดพันธุ์ไว้นานประมาณ 30-48 ชั่วโมง เมล็ดข้าวจะงอกขนาด “ตุ่มตา” (มียอดและรากเล็กน้อยโดยรากจะยาวกว่ายอด) พร้อมที่จะนำไปหว่านได้

เมล็ดข้าวหลังจากแช่และหุ้มแล้วพร้อมที่จะนำไปหว่าน

        ในการหุ้มเมล็ดพันธุ์นั้น ควรวางเมล็ดพันธุ์ไว้ในที่ร่ม ไม่ถูกแสงแดดโดยตรง และขนาดของกองเมล็ดพันธุ์ต้องไม่โตากเกินไป หรือบรรจุถุงขนาดใหญ่เกินไป เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนสูงในกองหรือถุงข้าว เพราะถ้าอุณหภูมิสูงเกินไปเมล็ดพันธุ์ข้าวจะตาย ถ้าอุณหภูมิพอเหมาะข้าวจะงอกเร็ว และสม่ำเสมอกันตลอดทั้งกอง

การตกกล้าข้าว

         การเตรียมต้นกล้าเพื่อให้ได้ต้นข้าวที่แข็งแรง เมื่อนำไปปักดำก็จะได้ข้าวที่เจริญเติบโตได้รวดเร็ว และมีโอกาสให้ผลผลิตสูง ต้นกล้าที่แข็งแรงดีต้องมีการเจริญเติบโตและความสูงสม่ำเสมอทั้งแปลง มีกาบใบสั้น มีรากมากและรากขนาดใหญ่ โดยการตกกล้าแบ่งตามสภาพแวดล้อมได้ 2 แบบ

การตกกล้าเทือก

         เป็นวิธีที่ชาวนาคุ้นเคยกันดี การตกกล้าแบบนี้จะต้องมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่เสมอ การดูแลรักษาไม่ยุ่งยากและความสูญเสียจากการทพลายของศัตรูข้าวมีน้อย การใช้กล้าอายุที่เหมาะสม 20-25 วัน สำหรับข้าวไม่ไวต่อแสงและ 25-30 วัน สำหรับข้าวไวต่อแสง จะทำให้ข้าวตั้งตัวเร็ว แตกกอได้มากและให้ผลผลิตสูง อายุที่เหมาะสมสำหรับปักดำขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์ข้าว

 

การตกกล้าแห้ง

         การตกกล้าโดยวิธีนี้ ควรกระทำเมื่อฝนไม่ตกตามปกติ และไม่มีน้ำเพียงพอที่จะทำเทือกเพื่อตกกล้าได้ แต่มีน้ำพอที่จะใช้รดแปลงกล้าได้ โดยเลือกแปลงที่ดอนน้ำไม่ท่วม มีการระบายน้ำดี อยู่ใกล้แหล่งน้ำที่จะนำมารดแปลง ทำการไถดะตากดินให้แห้ง แล้วไถแปร คราดดินให้แตกละเอียด เก็บวัชพืชออก ปรับระดับดินให้ราบเรียบ แล้วทำการ                                                    

การตกกล้าแห้ง แบ่งได้ 4 แบบ

       การหว่านข้าวแห้ง  หว่านเมล็ดพันธุ์ลงในแปลงโดยตรง โดยไม่ต้องเพาะเมล็ดให้งอกก่อน ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์เช่นเดียวกับการตกกล้าเทือก คือประมาณ 80-90 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วคราดกลบเมล็ดพันธุ์ให้จมดินพอประมาณ อย่าให้จมมาก เพราะจะทำให้เมล็ดงอกช้าและโคนกล้าอยู่ลึกทำให้ถอนยาก

       การหว่านข้าวงอก  เพาะเมล็ดให้งอกขนาดตุ่มตา (วิธีการเพาะเช่นเดียวกับการตกกล้าเทือก) อัตราเมล็ดพันธุ์เช่นเดียวกับการหว่านข้าวแห้ง ควรหว่านตอนบ่ายหรือเย็น หว่านแล้วคราดกลบและรดน้ำให้ชุ่มทันทีหลังการหว่าน

       การตกกล้าแบบกระทุ้งหยอดข้าวแห้ง  หรือวิธีการซิมกล้า เป็นวิธีการที่เหมาะสมกับสภาพนาดอนอาศัยน้ำฝน โดยการไถพรวนดินให้ดินร่วน เพื่อกำจัดวัชพืชและสะดวกต่อการงอกของเมล็ด จากนั้นใช้ไม้กระทุ้งหยอดเมล็ดลงหลุม แล้วใช้ดินหรือขี้เถ้าแกลบกลบเมล็ดเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหรือแมลง มาคุ้ยเขี่ย หลังจากนั้นจึงถอนกล้าจากแปลงกล้านี้ไปปักดำในแปลงปักดำ ซึ่งคิดเป็นอัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการปักดำต่อพื้นที่ 1 ไร่ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 12-15 กิโลกรัมต่อไร่

       การตกกล้าสำหรับใช้กับเครื่องปักดำ การปักด้วยเครื่อง การขาดแคลนแรงงานในช่วงปักดำและค่าแรงงานที่นับวันจะสูงขึ้นเป็นปัญหา

 

การเตรียมแผ่นกล้า

         ต้นกล้าที่ใช้กับเครื่องดำนา ต้องเตรียมเป็นแผ่น ประกอบด้วยดินมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดหนา 2.0 - 2.5 เซนติเมตร กว้าง 28 เซนติเมตร ยาว 58 เซนติเมตร บนแผ่นดินจะมีกล้าเบียดกันแน่น ทำให้เป็นคล้ายหญ้าปูสนาม มีวิธีการเตรียมกล้า 2 วิธี คือ

การตกกล้าในถาดเพาะ

         1. เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีความงอกสูง (มากกว่า 80 %)

         2. ทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์ด้วยการฝัดเอาเมล็ดลีบและสิ่งเจือปนออก

         3. แช่และหุ้มเมล็ดข้าวให้งอกเป็นตุ่มตา

         4. ใช้ดินผสมสำหรับการเพาะกล้าใส่ลงในถาดเพาะ เกลี่ยให้เสมอขอบถาดเพาะ

         5. นำเมล็ดข้าวจากข้อ 3 โรยลงในถาดเพาะ อัตรา 200 กรัม ต่อถาดเพาะ

         6. ใช้บัวรดน้ำให้ชุ่มทุกวัน

         7. ดูแลรักษาจนกล้ามีอายุประมาณ 18 – 28 วัน สามาระนำไปใช้ได้

การตกกล้าในแปลง

1. เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีความงอกสูง ทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์ด้วยการฝัดเอาเมล็ดลีบ และสิ่งเจือปนออกแล้วแช่และหุ้มเมล็ดข้าวให้งอกเป็นตุ่มตา

2. ไถเตรียมดินเพื่อการตกกล้าตามปกติ

3. ยกแปลงให้ทีขนาดความกว้าง 116 เซนติเมตร ยาวประมาณ 8 เมตร สำหรับตกกล้าเพื่อใช้ในการปักดำในพื้นที่ 1 ไร่ และให้มีระยะห่างระหว่างแปลงอย่างน้อย 1 เมตร

4. ขึงพลาสติกใสตลอดความยาวแปลง

5. ใช้ไม้ระแนงหรือไม้ไผ่กว้าง 1 นิ้ว ยาว 2 เมตร ตรึงขอบแปลงเป็นช่วง ๆ ใช้ไม้แหลมเทงพลาสติกให้เป็นรูเพื่อระบายอากาศ แล้วใช้โคลนข้างแปลงเกลี่ยบนพลาสติกให้สม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง ให้มีความหนาของดินเท่าขอบไม้

6. โรยเมล็ดข้าวที่งอกเป็นตุ่มตาบนแปลงให้ทั่วและสม่ำเสมอ อัตรา 8 กิโลกรัมต่อแปลง

7. ใช้บัวรดน้ำให้ชุ่มทุกวัน

8. ดูแลรักษาจนกล้ามีอายุประมาฯ 18 – 25 วัน สามารถนำไปใช้ได้

ข้อควรระวัง

         1. ควรหว่านเมล็ดในช่วงบ่ายหรือเย็น

         2. หากมีเค้าว่าฝนตก ควรเตรียมพลาสติกคลุมหลังแปลงกล้า

         3. การตัดกล้าเพื่อใช้กับเครื่อง ควรใช้มีดกรีดลงแนบกับเหล็กที่เป็นแบบ

 

การเตรียมกล้าโยน

             1. การเตรียมวัสดุปลูก นำดินผสมขี้เถ้าแกลบและขุยมะพร้าว อย่างละเท่า ๆ กัน คลุกเคล้าให้เข้ากัน

2. การเพาะต้นกล้า โรยวัสดุปลูกลงในถาดประมาณครึ่งหลุม แต่ละถาดมี 561 หลุม หยอดเมล็ดข้าวงอก 3 เมล็ดต่อหลุม ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 100 กรัมต่อถาด

3. การดูแลรักษาต้นกล้า ควรรดน้ำให้ชุ่มอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ไม่ต้องใส่ปุ๋ยให้กับต้นกล้า เนื่องจากต้นกล้าสามารถใช้อาหารจากเมล็ดได้

4. การเตรียมแปลงปลูก เตรียมดินตามปกติ ก่อนการโยนต้นกล้า ควรปล่อยน้ำออกให้ เหลือคลุมผิวดินเพียงเล็กน้อย

5. การโยนกล้า เมื่อต้นกล้ามีอายุ 15 วัน หรือทีใบ 2 – 3 ใบ ถอนต้นกล้าออกจากหลุมไปโยนได้ทันทีโดยต้นกล้าข้าวจะมีวัสดุปลูกติดมาด้วย ในการโยนแต่ละครั้ง ใช้ต้นกล้าประมาณ 7 – 10 หลุม ในพื้นที่ 1 ไร่ ใช้ต้นกล้าประมาณ 50 ถาด ในระยะแรกต้นกล้าจะนอนราบพื้น และจะตั้งตัวได้หลังจากโยนแล้ว 2 – 3 วัน

6. การดูแลรักษาต้นกล้าโยนใหม่ ควบคุมระดับน้ำไม่ให้ท่วมต้นกล้า หลังจากโยนกล้าแล้ว 5 วัน ใส่ปุ๋ยอัตราเดียวกับการปลูกข้าวโดยวิธีอื่น ๆ

ข้อควรพิจารณา

1. วัสดุปลูกที่ใช้ควรใช้ขี้เถ้าแกลบเก่า หรือขี้เถ้าแกลบใหม่ที่ผ่านการให้น้ำเพื่อลดความเป็นด่างแล้ว มิฉะนั้น ต้นกล้าข้าวจะตาย

             2. ก่อนการโยนกล้า 1 วัน ควรงดการให้น้ำ ต้นกล้าในถาดเพาะ เพื่อให้วัสดุปลูกแห้ง พร้อมที่จะใช้โยนกล้ำได้ดีกว่า

3. สถานที่ในการเพาะต้นกล้า ควรอยู่ใกล้กับแปลงที่จะปลูกเพื่อสะดวกในการขนย้ายถาดเพาะต้นกล้า