ชื่อพันธุ์ |
-
|
อยุธยา 1 (Ayutthaya 1) |
ชนิด |
-
|
ข้าวเจ้า |
คู่ผสม |
-
|
อู่ตะเภา / ขาวดอกมะลิ 105 |
ประวัติพันธุ์ |
-
|
ได้จากการผสมพันธุ์แบบผสมเดี่ยว ระหว่างข้าวขึ้นน้ำพันธุ์อู่ตะเภา กับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่สถานีทดลองข้าวหันตรา ใน พ.ศ.2528 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ HTAFR85035-B-R-R-7-9 |
การรับรองพันธุ์ |
-
|
คณะกรรมการบริหาร กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2547 |
ลักษณะประจำพันธุ์ |
-
|
เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 142 - 223 เซนติเมตร (ขึ้นอยู่กับระดับน้ำ) |
|
-
|
ไวต่อช่วงแสง |
|
-
|
อายุเก็บเกี่ยว 6-10 ธันวาคม |
|
-
|
ทรงกอตั้ง ฟางแข็ง ใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง รวงยาว คอรวงยาว ระแง้ถี่ |
|
-
|
เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง |
|
-
|
ระยะพักตัว ประมาณ 4 สัปดาห์ |
|
-
|
เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 11.2 x 2.8 x 2.1 มิลลิเมตร |
|
-
|
เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.7 x 2.3 x 1.9 มิลลิเมตร |
|
-
|
ปริมาณอมิโลสสูง (28.4 %) |
|
-
|
คุณภาพข้าวสุก ร่วน ค่อนข้างแข็ง |
ผลผลิต |
-
|
ประมาณ 546 กิโลกรัมต่อไร่ (น้ำลึก 100 เซนติเมตร) 842 กิโลกรัมต่อไร่ (น้ำลึก 25 เซนติเมตร) |
ลักษณะเด่น |
-
|
เป็นข้าวน้ำลึกที่มีรูปทรงต้นแบบใหม่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตสูง |
|
-
|
มีความสามารถยืดปล้อง ทนน้ำท่วมและทนแล้งได้ดีกว่าพันธุ์ปราจีนบุรี 2 ทนดินเปรี้ยว (pH 4.6 – 5.1) |
|
-
|
ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยจักจั่นสีเขียว |
|
-
|
สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เส้นได้ดี เช่น เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยจั๊บ |
ข้อควรระวัง |
-
|
ไม่ต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้งและโรคใบสีส้ม ในสภาพเรือนทดลอง |
พื้นที่แนะนำ |
-
|
พื้นที่นาน้ำลึกไม่เกิน 100 เซนติเมตร ในบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ที่น้ำแห้งนาประมาณต้นเดือนธันวาคม โดยเฉพาะในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นครนายก ปราจีนบุรี สิงห์บุรี และลพบุรี |