หนอนใย (pyralid stem borer) |
||||||||||
หนอน ใยตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อลักษณะคล้ายผีเสื้อหนอนกอแถบลาย หรือหนอนกอแถบลายสีม่วง หนอนมีสีขาว ยาวประมาณ 5-10 มิลลิเมตร ส่วนหัวสีน้ำตาล มีขา 3 คู่ และลำตัวแบ่งเป็นปล้องเห็นได้ชัด ระยะที่หนอนเจริญเติบโตเต็มที่และจะเข้าดักแด้ จะอาศัยอยู่ในรังซึ่งเป็นดินผสมใยเหนียวสีน้ำตาลเข้ม ห่อหุ้มตัวอยู่บริเวณภายในลำต้นส่วนที่อยู่ใต้ผิวดิน ซึ่งถูกกัดกินทำลายแล้ว หรือบริเวณภายนอกใต้ผิวดินใกล้ๆ กอข้าว และเข้าดักแด้ในดิน ลักษณะการทำลาย การ ศึกษาแมลงศัตรูข้าวไร่ พ.ศ. 2524 พบการทำลายข้าวไร่ระยะแตกกอสูงสุดของหนอนชนิดนี้เป็นครั้งแรก ที่บ้านไผ่โทน ตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เป็นแปลงปลูกข้าวไร่บริเวณเชิงเขา หนอนอาศัยและกัดกินภายในใกล้บริเวณโคนต้น และส่วนล่างสุดของลำต้นที่อยู่ใต้ผิวดิน และพบหนอนอาศัยอยู่ในรัง (cases) ซึ่งประกอบด้วยดินละเอียดผสมใยเหนียว สีน้ำตาลเข้ม ในดินใกล้ๆ ต้นข้าวที่ถูกทำลาย เมื่ออาศัยและกัดกินบริเวณนี้นานวันขึ้น จะดูคล้ายกับว่าอาศัยกัดกินส่วนรากของต้นข้าว และมีใยสีขาวติดอยู่บริเวณที่ตัวหนอนอาศัยกัดกิน ต้นข้าวที่ถูกทำลาย ส่วนมากอยู่ในระยะแตกกอ มีอาการยอดเหี่ยว (deadheart) หรือแห้งตายทั้งต้น บางท้องที่ พบมีการระบาดค่อนข้างมาก โดยเฉพาะที่จังหวัดแพร่ น่าน
การป้องกันกำจัด ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันกำจัด เนื่องจากยังไม่ทราบรายละเอียดและข้อมูลของหนอนชนิดนี้ |