ด้วงหมัดดำ(flea beetle) |
||||||||
ด้วงหมัดดำ C. basalis Baly ตัวเต็มวัยเป็นแมลงปีกแข็ง ยาวประมาณ 1.5-2.3 มิลลิเมตร รูปไข่ (oval shape) สีดำเป็นมันเงา ส่วนโคนหนวดมีสีเหลือง ปลายของ femer tibia และ tarsi มีสีน้ำตาลเหลือง ปีกคู่หน้าซึ่งคลุมส่วนท้องแต่ละข้าง มีจุดเล็กๆ เป็นรอยบุ๋ม 10 แถว โคนขาหลังขยายใหญ่ เป็นแมลงศัตรูข้าวไร่ที่มีความสำคัญค่อนข้างน้อย โดยทั่วไป พบทำลายข้าวไร่ในแปลงปลูกที่ราบ ทำลายต้นข้าวตั้งแต่ระยะเริ่มงอกจนถึงระยะแตกกอ โดยตัวเต็มวัยกัดกินผิวใบข้าวด้านบนเป็นทางขนานไปตามเส้นกลางใบ ส่วนมากจะกัดกินที่ปลายใบหรือขอบใบ ทำให้ปลายใบแห้งม้วนเข้าหากันตามความยาวของปลายใบ มีอาการคล้ายเกิดจากการเสียหายจากโรคข้าว ต้นกล้าข้าวในระยะหลังงอก ถูกด้วงหมัดดำกัดกินทำลายในปริมาณมาก จะทำให้ต้นกล้าเหี่ยวแห้ง ชะงักการเจริญเติบโต และฟุบแห้งตายในระยะ 3-5 วัน การทำลายต้นข้าวระยะแตกกอ ความเสียหายเกิดขึ้นน้อยมาก พบในแปลงปลูกข้าวไร่ทั่วไป ปริมาณไม่ค่อยมาก ที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน
การป้องกันกำจัด 1). การไถตากดิน หรือกำจัดวัชพืชบริเวณแปลงปลูก หรือปลูกพืชที่ด้วงหมัดดำไม่ชอบ เช่น ผักตระกูลสลัด มะเขือเทศ สลับกับการปลูกข้าวไร่ เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดการระบาดลงได้ |