เพลี้ยแป้งทำลายราก |
||||||||
เพลี้ยแป้งทำลายราก Cataenococcus sp. ตัวเต็มวัยเพศเมีย มีลำตัวอ่อนนุ่ม สีน้ำตาลเข้มปนแดง ขนาดยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร กว้าง 1.5-2 มิลลิเมตร มีสารไขแป้ง (mealy wax) ปกคลุมอยู่บางๆ ตามตัว เมื่อล้างสารไขแป้งที่ปกคลุมอยู่ตามลำตัวออกแล้ว จะเห็นลำตัวเป็นปล้องๆ ได้ชัดเจน เคลื่อนไหวช้ามาก เพศผู้มีขนาดเล็กกว่า มีปีก และสีเหลืองซีด ลักษณะการทำลาย เพลี้ย แป้งชนิดนี้พบทำลายเฉพาะพื้นที่บางแห่งเท่านั้น เช่น ที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน และแม่ฮ่องสอน ความเสียหายเกิดขึ้นบางจุดในแปลงปลูก โดยพบเพลี้ยแป้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเกาะเป็นกลุ่ม ดูดกินน้ำเลี้ยงและอาศัยที่ส่วนรากของข้าวไร่ ต้นข้าวที่ถูกทำลาย มีใบเหลืองซีด การทำลายต้นข้าวระยะหลังงอกถึงระยะแตกกอ ทำให้ชะงักการเจริญ เติบโต แคระแกรนผิดปรกติ และถ้ามีการระบาดรุนแรง ต้นข้าวจะเหี่ยวและแห้งตายในที่สุด การเคลื่อนที่และแพร่ระบาดจากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งมีมด (tending ants) เป็นแมลงพาหะเช่นเดียวกับเพลี้ยอ่อนที่ราก
การป้องกันกำจัด ใช้วิธีการเดียวกันกับการป้องกันกำจัดเพลี้ยอ่อนที่ราก |