พันธุ์ข้าว

เจ้าขาวเชียงใหม่ (Jhao Khao Chiangmai)

ชื่อพันธุ์ -

เจ้าขาวเชียงใหม่ (Jow Khao Chiangmai)

ชนิด - ข้าวเจ้า
คู่ผสม -  
ประวัติพันธุ์ - เจ้าขาวเชียงใหม่ ได้จากการเก็บรวบรวมพันธุ์ ในอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย โดยนายวิทูรย์  ขันธิกุล เจ้าหน้าที่การเกษตร สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2523 โดยมีรหัสการรวบรวมคือ SPTC80187-126 ปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง เพื่อให้ได้พันธุ์บริสุทธิ์ ระหว่าง พ.ศ. 2524 – 2530 ต่อมานำมาปลูกเปรียบเทียบผลผลิตตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ ระหว่าง พ.ศ. 2531-2546 คณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์แนะนำ ชื่อ เจ้าขาวเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2550
การรับรองพันธุ์ - คณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์แนะนำ ชื่อ     เจ้าขาวเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2550

 

ลักษณะประจำพันธุ์ - เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง กาบใบ และใบมีสีเขียว ปล้องสีเหลืองอ่อน ทรงกอตั้ง สูงประมาณ 145 เซนติเมตร เก็บเกี่ยวประมาณวันที่ 20 ตุลาคม เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ข้าวกล้องรูปร่างค่อนข้างป้อม
  - ระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ประมาณ 4 สัปดาห์
  - เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.0 x 3.1 x 2.4 มิลลิเมตร
  - เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.2 x 2.7 x 1.9 มิลลิเมตร
  - ปริมาณอมิโลสต่ำ (18.7%)
ผลผลิต - เฉลี่ย 350 -389  กิโลกรัม/ไร่
ลักษณะเด่น - ผลผลิตเฉลี่ย 350 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อปลูกในพื้นที่ระดับความสูงไม่เกิน 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง และ 389 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อปลูกในพื้นที่ระดับความสูง 1,000 – 1,300 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
  - คุณภาพการสีดี ให้เปอร์เซ็นต์ต้นข้าวและข้าวเต็มเมล็ดสูง ข้าวสุกอ่อนนุ่ม
  - ต้านทานต่อโรคไหม้ (Pyricularia grisea Sacc.)
ข้อควรระวัง - ค่อนข้างอ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาวในสภาพธรรมชาติ
พื้นที่แนะนำ -

พื้นที่สภาพไร่ในภาคเหนือตอนบนที่มีระดับความสูง 800 – 1,250 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง