ระบบการผลิตข้าว

การส่งเสริมปลูกข้าวญี่ปุ่น

"ระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง (Contract Farming)" 


      ข้าวจาปอนิกาหรือที่คนไทยเรียกว่าข้าวญี่ปุ่นนั้น เป็นข้าวที่มีลักษณะต้นเตี้ยแตกกอมาก เมล็ดสั้นป้อม ข้าวเจ้าเมื่อหุงสุกแล้วมีความนุ่มเหนียวมากกว่าข้าวไทย นิยมปลูกกันทั่วไปในประเทศจีน เกาหลี และญี่ปุ่น การใช้ประโยชน์จากการผลิตข้าวญี่ปุ่นของไทยนั้นมีหลายรูปแบบ เช่น เพื่อการบริโภคโดยตรง (table rice) เพื่ออุตสาหกรรมการผลิตแป้งทั้งแป้งข้าวเจ้าและแป้งข้าวเหนียว เพื่อผลิตเหล้าสาเก เพื่อเป็นเมล็ดพันธุ์ เป็น ต้น (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2547) โดยความต้องการข้าวสารญี่ปุ่นมีเพิ่มมากขึ้น แต่ผลผลิตข้าวญี่ปุ่นที่ผลิตได้ ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดในประเทศ ซึ่งปัจจุบันความต้องการข้าวสารญี่ปุ่นมีประมาณ 15,000 ตัน แต่สามารถผลิตได้ประมาณ 12,000 ตันข้าวสาร ประกอบกับปัจจุบันการขยายตัวของธุรกิจร้านอาหาร ญี่ปุ่นในประเทศไทยมีอัตราการขยายตัว 10 -15 เปอร์เซ็นต์ต่อปี นอกจากนั้นแล้วยังมีความต้องการข้าวญี่ปุ่น สาหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และในปัจจุบันพบว่าอาหารญี่ปุ่นได้รับความนิยมอย่างมากในระดับ สากล ข้าวคุณภาพดีของญี่ปุ่นจึงเป็นที่สนใจมากขึ้น แต่การผลิตข้าวในญี่ปุ่นมีต้นทุนการผลิตสูง การปลูกข้าว เมล็ดสั้นนอกประเทศญี่ปุ่นจึงเป็นการเปิดช่องทางใหม่ และเป็นการลดต้นทุนทาให้สามารถแข่งขันด้านราคาได้ (กรมส่งเสริมการส่งออก, 2556) อีกทั้งการเข้ามาลงทุนของภาคเอกชนญี่ปุ่น เกาหลี และจีน ในประเทศไทยที่ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การผลิตข้าวญี่ปุ่นเพื่อตอบสนองตลาดดังกล่าวจึงเพิ่มปริมาณมากขึ้น และประเทศไทยยังมี ลู่ทางการส่งออกข้าวญี่ปุ่นทั้งข้าวสารและผลิตภัณฑ์ไปยังกลุ่มประเทศอาเซียน และกลุ่มประเทศยุโรปอีกด้วย 

      ปัจจุบันมีภาคเอกชนได้ส่งเสริมการปลูกข้าวญี่ปุ่นในประเทศไทย ข้าวจาญี่ปุ่นที่ปลูกในประเทศ โดยทั่วไปเกษตรกรผู้ปลูกจะทาสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับภาคเอกชน โดยภาคเอกชนผู้ประกอบการแต่ละราย จะเป็นผู้จัดการเริ่มตั้งแต่การหาเมล็ดพันธุ์ให้เกษตรกรปลูก การดูแลรักษา จนถึงการเก็บเกี่ยว และจาหน่าย เรียกว่าการจัดการนี้ว่า "ระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง (Contract Farming)" 

คอนแทรคฟาร์มมิ่ง (Contract Farming) คือ ระบบการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ หรือการเพาะปลูก พืช ที่มีการทาสัญญาซื้อขายผลผลิตล่วงหน้าระหว่างฝ่ายเกษตรกร หรือเจ้าของฟาร์ม กับคู่สัญญา คือ "ผู้รับ ประกัน" ซึ่งมักเป็นบริษัทเอกชนที่สัญญาว่าจะซื้อผลผลิตคืนจากอีกฝ่ายในราคาที่ตกลงกันตั้งแต่ต้น เรียกว่า "ราคาประกัน" ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงได้ก็ต่อเมื่อครบกาหนดสัญญา 


ข้อดีของการทาคอนแทรคฟาร์มมิ่ง (Contract Farming) คือ
๑. เกษตรกรมีผลผลิตขายแน่นอน สามารถนาวัตถุดิบป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตได้อย่างสม่าเสมอ และ เป็นการ ประกันรายได้ ประกันราคาสินค้าล่วงหน้า ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็มีรายละเอียดไม่เหมือนกัน 
๒. เกษตรกรได้รับความรู้ ทั้งด้านวิชาการ การออกแบบแปลนฟาร์มมาตรฐาน และเทคนิคในการปรับลด ต้นทุนในการผลิต พร้อมจัดหาวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตต่างๆ อาจรวมไปถึงการสนับสนุนสินเชื่อทาง การเงิน 
๓. ผลผลิตได้มาตรฐานเดียวกับที่ทางบริษัทกาหนด และตรงตามความต้องการของตลาด 
๔. ในยุคโลกาภิวัตน์ การตกลงราคาและเวลารับมอบสินค้ากันชัดเจน เชื่อว่าเกษตรพันธสัญญา สามารถลด ความผันผวนของรายได้ ผลผลิต ของเกษตรกร โดยสามารถทาให้ผลตอบแทน (รายได้) ค่อนข้าง แน่นอนและสูงขึ้น และช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยีและเงินทุน
๕. ช่วยให้เกษตรกรเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและจัดการ ช่วยลดภาระงบประมาณของรัฐในการพยุง ราคา สินค้าเกษตรกรรม ตลอดจนช่วยเพิ่มโอกาสการจ้างงานในภาคเกษตรกรรม 
๖. เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการแบ่งปันจากบริษัท เพราะมีวัตถุดิบสม่าเสมอ ควบคุมต้นทุนได้ สามารถ คาดการณ์วางแผนการตลาด รวมถึงบริษัทยังประหยัดได้จากขนาดกิจกรรม (Economy of Scale) เนื่องจากเป็นการผลิตขนาดใหญ่ ส่วนผู้บริโภคได้ประโยชน์จากคุณภาพสินค้าที่สูงขึ้นและราคาถูกลง 
 

ข้อเสียของการทาคอนแทรคฟาร์มมิ่ง (Contract Farming) คือ 
๑. การทา "คอนแทรค ฟาร์มมิ่ง" ภาคเอกชนมักจะทาสัญญาในรูปแบบสัญญาเชิงเอาเปรียบเกษตรกร ใน เรื่องของผลตอบแทน ความเสี่ยง และความเป็นธรรม 
๒. เงินลงทุนต่อฟาร์มค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ที่จะเกิดขึ้น ทาให้การคืนทุนต้องใช้เวลานาน หลายปี ขณะที่แหล่งเงินทุนของเกษตรกร มาจากการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ดังนั้น หากบริษัทยกเลิก พันธสัญญากับเกษตรกรในระยะสั้นหรือไม่วางแผนการผลิตให้ เกษตรกรอาจล้มละลายได้ นอกจากนี้ ยังพบว่าสัดส่วนของรายจ่าย (ต้นทุน) ต่อรายได้ของฟาร์มค่อนข้างสูง ประมาณ ๒๗-๙๒% จึงถือว่ามี ความเสี่ยงค่อนข้างมาก 
๓. เกษตรกรมีความเสี่ยงสูง และเสี่ยงสูงขึ้นเมื่อได้รับผลกระทบทางธรรมชาติ เช่น น้าท่วม ภัยแล้ง หรือ หวัดนก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงในการสูญเสียผลผลิตมากขึ้น เมื่อรวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจาก การดาเนินงาน เช่น ค่าไฟ ค่าปุ๋ย ค่ายา ฯลฯ 
๔. การที่สัญญาไม่ได้คานวณรายได้ค่าตอบแทนจากการผลิตที่เป็นขั้นบันไดเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน ทาให้เกษตรกรไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะถึงจุดคุ้มทุน และมีกาไรจากการลงทุนเมื่อไร จึงทาให้เกิด ความเสียเปรียบ 
ภาคเอกชนทั้งหมดที่ส่งเสริมปลูกข้าวในประเทศไทย ใช้ระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง (Contract Farming) ซึ่งเงื่อนไขสัญญาจะแตกต่างกันไป 

หลักการผลิตข้าวในระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง (Contract Farming) มีขั้นตอนดังนี้


๑. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ การเตรียมเมล็ดพันธุ์ ผู้ประกอบการจะเป็นผู้จัดหาเมล็ดพันธุ์ โดยการจัดซื้อเมล็ด พันธุ์หลักจากศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย ดาเนินการปลูกขยายพันธุ์ ชั้นพันธุ์ขายและพันธุ์จาหน่าย โดยมี เกษตรเกษตรเป็นคู่สัญญาดาเนินการให้ เมื่อปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์จึงดาเนินการตกกล้าหรือจ่าย เมล็ดพันธุ์ให้กับเกษตรกรคู่สัญญา การผลิตเมล็ดพันธุ์ผู้ประกอบการจะทาฤดูต่อฤดูกล่าวคือ เมล็ดพันธุ์ ที่ได้จากฤดูนาปีใช้ปลูกฤดูนาปรัง เมล็ดพันธุ์ที่ได้จากฤดูนาปรังใช้ปลูกฤดูนาปี 


๒. การปลูกและการดูแลรักษา 
   ๒.๑ การตกกล้า การตกกล้าดาเนินการหลายรูปแบบ แล้วแต่วิธีการปักดา 
          ๒.๑.๑ การตกกล้าแปลงเปียก ปัจจุบันมีไม่มาก เพราะแรงงานหายากและค่าแรงสูง จะมีเฉพาะ เกษตรกรที่มีพื้นที่ไม่มาก 
          ๒.๑.๒ การตกล้าในกระบะ การตกกล้าแบบนี้ใช้สาหรับเครื่องดานา ซึงเป็นวิธีการที่นิยมใช้กันมาก การการตกกล้าแบบนี้มีหลายรูปแบบ 
               ๒.๑.๒.๑ ผู้ประกอบการดาเนิน เพาะกล้า ดูแลรักษากล้า 
               ๒.๑.๒.๒ ผู้ประกอบการดาเนิน เพาะกล้า เกษตรกรรับจ้างดูแลรักษากล้า 
               ๒.๑.๒.๓ ผู้ประกอบการดาเนิน เพาะกล้า เกษตรกรเจ้าของนาเป็นผู้ดูแล 
               ๒.๑.๒.๔ เกษตรกรับจ้างเพาะและดูแลรักษา พร้อมบริการเครื่องดานา 
          ๒.๑.๓ การตกกล้าในแผงหลุม เป็นการตกกล้าสาหรับการปลูกดดยวิธีดยนกล้า แต่ยังไม่ได้รับววาม นิยม ทั้งผู้ประการและเกษตรกร 
     ๒.๒ การปลูก 
          ๒.๒.๑ วิธีหว่านน้าตม การปลูกข้าวญี่ปุ่นดดยวิธีหว่านน้าตม มีผู้ประกอบการบางรายเท่านั้นที่ ให้เกษตรกรปลุกดดยวิธีนี้ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องข้าวพันธุ์อื่นปนในแปลงปลูกมาก ทาให้ข้าวเปลือกที่ได้ วุณภาพไม่ดี 
          ๒.๒.๒ วิธีหยอดน้าตม เป็นวิธีที่ผู้ประกอบการเริ่มนามาแนะนาให้เกษตรกรใช้ แต่ไม่สามารถขยาย ผลได้มักนักเพราะมีข้าวเรื้อมากวุณภาพข้าวไม่ดี ดดยเฉพาะในรายที่ปลูกข้าวไทยชนิดไม่ไวต่อช่วงแสงสลับฤดู กับข้าวญี่ปุ่น 
          ๒.๒.๓ วิธีดยนกล้า ถึงแม้เป็นวิธีที่ประหยัดต้นทุน ทั้งเมล็ดพันธุ์และว่าแรงแต่ก็ขายาผลสาหรับข้าว ญี่ปุ่นเป็นไปได้ช้า เพราะเกษตรกรมีทางเลือก มีวนรับจ้างตกกล้าและปักดาด้วยเวรื่องดานา แม้ว่าต้นทุนสูง แต่สะดวกและไม่ต้องจ่ายว่าเมล็ดพันธุ์ ว่าต้องกล้าและว่าปักดา 
          ๒.๒.๔. ปักดาด้วยเวรื่องปักดา ปัจจุบันเป็นที่นิยม เพราะผู้ประกอบการเป็นผู้จัดหาบริการให้ ทั้งตก กล้าและเวรื่องปักดา มีทั้งแบบเดินตาม แบบนั่งขับ ระยะปักดา จานวนกล้าต่อจับผู้ประกอบการจะกาหนด จานวนถาดต่อไร่ เพราะเกษตรกรจะแจ้งให้ผู้รับจ้างปลูกปล่อยกล้าต่อจับมากในระดับสูงสุดของเวรื่องอายุ กล้ารวมทั้งแช่เมล็ดพันธุ์จนจนวันปลูกประมาณ ๒๐ วันสาหรับฤดูนาปี และประมาณ ๒๕ วันสาหรับนาปรัง 
          ๒.๒.๕ ปักดาด้วยแรงงานวน ปัจจุบันเป็นวิธีที่ไม่ว่อยนิยมมากนักเพราะปัญหาการขาดแวลน แรงงาน และการถอนกล้า แต่จะมีเกษตรกรที่มีพื้นที่นาไม่มากที่ยังใช้วิธีปักดาด้วยแรงงานคน อายุกล้า ประมาณ ๒๐ วันตั้งแต่ตกกล้าจนถึงปักดาสาหรับฤดูนาปี ประมาณ ๒๕ วันสาหรับนาปรัง 
     ๒.๓ การดูแลรักษา 
ทั้งการใส่ปุ๋ยและการป้องกันกาจัดวัชพืช โรค แมลง 

  • การจัดการน้า การปลูกข้าวญี่ปุ่น จะพบปัญหาการจัดการน้าในระยะแรกหลักปักดา โดยเฉพาะการ ปักดาด้วยเครื่อง จะต้องปล่อยไว้ประมาณ๓วันจึงจะเริมปล่อยน้าเข้าแปลงนา ซึ่งในเขตจังหวัดเชียงรายการ ปล่อยน้าชลประทาน สลับรอบกัน ทาให้แปลงที่ปักดาเสร็จต้องรอน้ารอบใหม่ 
  • การจัดการปุ๋ย เกษตรกรจะจัดการปุ๋ยตามคาแนะนาของผู้ประกอบการ จะปฏิบัติตามคาแนะนา โดยประยุกต์ใช้จากคาแนะนาของกรมการข้าว ซึ่งส่วนมากแล้วจะใส่ปุ๋ย ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ ปุ๋ยรองพื้น หลังหว่า น้าตมประมาณ ๑๕ –๒๐ วัน หลังปักดาหรือโยนกล้า ประมาณ ๓ -๗ วัน ครั้งที่ ๒ หลังจากครั้งที่๑ ประมาณ ๑๕ วัน และครั้งที่ ๓ ประมาณ ๑๕ วันหลังจากการใส่ปุ๋ยครั้งที่ ๒ 
  • การกาจัดวัชพืช วิธีการที่นิยมได้แก่การใช้สารกาจัดวัชพืชประเภทหลังวัชพืชงอกโดยใช้ชนิดน้าฉีด พ่นมากกว่าชนิดเม็ดใช้หว่าน แต่ทั้งสองวิธีต้องใช้อย่างระมัดระวังเพราะข้าวญี่ปุ่นค่อนข้างจะอ่อนแอต่อสาร กาจัดวัชพืช โดยเฉพาะชนิดเม็ดที่มีส่วนผสมของสาร ๒,๔ ดี ซึ่งข้าวญี่ปุ่นจะแสดงอาการเกิดพิษอย่างชัดเจน 
  • การป้องกันกาจัดโรค โรคที่สาคัญของข้าวญี่ปุ่น พบมากตั้งแต่ระยะกล้า โดยเฉพาะการตกกล้าใน กะบะสาหรับเครื่องปักดาจะพบปัญหาการระบาดของโรคกล้าเน่า ซึงจะเกิดขึ้นทุกปี ส่วนระยะแตกกอจะพบ ปัญหาโรคใบไหม้แปลงที่ใช้ปุ๋ยโตรเจนในอัตราสูง ระยออกรวง พบมากได้แก่โรคไหม้คอรวง การป้องกันกาจัด จะปฏิบัติตามคาแนะนาของกรมการข้าว
  • การป้องกันแมลง แมลงศัตรูที่สาคัญของข้าวญี่ปุ่น ได้แก่เพลี้ยกระโดดสีน้าตาล การป้องกันกาจัด ตามคาแนะนาของกรมการข้าว 
  • การป้องกันกาจัดสัตว์ศัตรูข้าว สัตว์ศัตรูข้าวทีสาคัญได้แก่ นก โดยเฉพาะแปลงที่ปลูกต้นฤดู การ ป้องกัน จะใช้หลายวิธี ได้แก่ คนไล่ ใช้วัสุติดตั้งไล่ 

     ๒.๔ การเก็บเกี่ยว 

  • การเก็บเกี่ยวข้าวญี่ปุ่น ผู้ประกอบการจัดหารถเกี่ยวนวดข้าวมาบริการเกษตรกร จึงทาให้การเก็บ เกี่ยวข้าวญี่ปุ่นใช้เครื่องเกี่ยวนวดทั้งหมด 
  • การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผู้ประกอบการดาเนินการเองทั้งหมด ตั้งแต่การลดความชื้น ซึ่งส่วนมากแล้วจะใช้เครื่องอบลดความชื้น การเก็บรักกษาผู้ประกอบการจะมีการเก็บ รักษาที่แตกต่างกัน บางรายมีไซโลเก็บ บางรายเก็บในกระสอบป่าน