ระบบการผลิตข้าว

การป้องกันกำจัดศัตรูข้าวในโรงเก็บ

 

แมลงศัตรูข้าวในโรงเก็บ แบ่งเป็น

  1. แมลงศัตรูข้าวเปลือก ได้แก่ ผีเสื้อข้าวเปลือก มอดหัวป้อมหรือมอดข้าวเปลือก ด้วงงวงข้าว ด้วงงวงข้าวโพด มอดแป้ง และมอดสยาม

  2. แมลงศัตรูข้าวสาร ได้แก่ ด้วงงวงข้าวโพด ด้วงงวงข้าว ผีเสื้อข้าวสาร มอดแป้ง และมอดฟันเลื่อย

 

การป้องกันและกำจัด 

  • ทำความสะอาดยุ้งฉาง โกดังหรือโรงเก็บ ก่อนนำข้าวเข้าเก็บและหมั่นทำความสะอาด

  • พ่นสารสกัดจากพืช เช่น สาบเสือ ป้องกันกำจัดแมลงที่พื้น และฝาผนังของโรงเก็บและที่ว่างเมื่อพบแมลง

  • คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารสกัดจากพืช เช่น สะเดา ดอกดีปลีแห้ง ว่านน้ำผง ป้องกันกำจัดแมลง

  • รมด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในโรงเก็บสำเร็จรูป

 

โรคข้าวในโรงเก็บ 

  1. ข้าวฟันหนู                       

สาเหตุ : เชื้อรา

ลักษณะอาการ  ข้าวสารที่เป็นข้าวฟันหนูจะมีสีเหลืองและมีรอยดำบนเมล็ด หากข้าวเปลือก มีเชื้อรานี้อยู่ เมื่อนำไปสีจะแตกหักง่าย

การป้องกัน 

  • แมลงศัตรูข้าวเปลือก ได้แก่ ผีเสื้อข้าวเปลือก มอดหัวป้อม หรือมอดข้าวเปลือก ด้วงงวงข้าว ด้วงงวงข้าวโพด มอดแป้ง และมอดสยาม

  • แมลงศัตรูข้าวสาร ได้แก่ ด้วงงวงข้าวโพด ด้วงงวงข้าว ผีเสื้อข้าวสาร มอดแป้ง

  • ข้าวเปลือกที่เก็บควรมีความชื้นไม่เกิน 14 เปอร์เซ็นต์ โรงเก็บควรสะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก

 

      2.  หนูศัตรูข้าวในโรงเก็บ

            หนูที่เป็นศัตรูผลิตผลเกษตรในโรงเก็บมีอยู่หลายชนิดที่สำคัญได้แก่ หนูนอร์เวย์ หรือ หนูขยะ หนูท้องขาวบ้านและหนูจี๊ด ซึ่งนอกจากทำความเสียหายโดยตรงแล้ว มูลหนู ปัสสาวะ ฃน้ำลายและขนที่ปนเปื้อนกับผลผลิต นอกจากจะทำให้เกิดการบูดเน่าเสียหายแล้ว ยังอาจฃก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้

การป้องกันกำจัด

  • ปรับปรุงสภาพโรงเก็บให้สะอาด ตัดต้นไม้หรือกิ่งไม้ที่พาดโรงเก็บ

  • ใช้กรงดัก หรือ กับดัก ควบคู่กับการใช้สารกำจัดหนู ประเภทออกฤทธิ์ช้าชนิดก้อนขี้ผึ้งวางในภาชนะที่ใส่เหยื่อพิษ เช่น กล่องไม้ กล่องกระดาษ หรือกล่องพลาสติกที่มีรูเข้าออก 2 ทาง ขนาดที่ตัวหนูลอดได้ ภายในกล่องสารกำจัดหนู กล่องละ 20 ก้อน ทำการตรวจทุก 10 วัน และหลังการกำจัดให้นำเศษเหยื่อพิษและซากหนูออกจากพื้นที่ให้หมด