ระบบการผลิตข้าว

วัชพืช และการป้องกันกำจัด

 

การปลูกโดยวิธีปักดำ

ชนิดวัชพืช

  • ประเภทใบแคบ เช่น หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าไม้กวาด หญ้าปล้องหิน และหญ้าแดง
  • ประเภทกก เช่น กกขนาก หนวดปลาดุก กกทราย และแห้วหมูนา
  • ประเภทใบกว้าง เช่น ขาเขียด ผักปอดนา เทียนนา ผักตับเต่า และตาลปัตรฤาษี
  • ประเภทอาลจี เช่น ตะไคร่น้ำ
  • ประเภทเฟิร์น เช่น ผักแว่น และผักกูด

การป้องกันกำจัด

  • ไถดะ เพื่อกลบวัชพืช 7-10 วัน ไถแปร เพื่อทำลายวัชพืชที่งอกใหม่
  • คราด เก็บเศษ ซาก ราก เหง้า ส่วนของวัชพืชข้ามปีออกจากแปลง
  • ปรับระดับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ แล้วทำเทือก
  • อย่าให้น้ำแห้งตลอดเวลาหลังปักดำจนถึงประมาณหลังข้าวออกรวง 20 วันปักดำในสภาพที่มีน้ำขัง 5-10 เซนติเมตร ช่วยป้องกันไม่ให้วัชพืชหลายชนิดงอก เช่น  หญ้าข้าวนก หญ้าไม้กวาด หนวดปลาดุก และกกขนาก
  • กำจัดวัชพืชด้วยมือที่ระยะ 30-45 วันหลังปักดำ

        

การปลูกโดยวิธีหว่าน หรือหยอดข้าวแห้ง

ชนิดวัชพืช

  • ประเภทใบแคบ เช่น หญ้าข้าวนก หญ้าไม้กวาด หญ้าแดงและหญ้านกสีชมพู
  • ประเภทใบกว้าง เช่น ผักปอดนา โสนหางไก่ โสนคางคก เทียนนา และตาลปัตรฤาษี
  • ประเภทกก เช่น กกขนาก กกทราย หนวดปลาดุก แห้วหมู และแห้วหมูนา
  • ประเภทเฟิร์น เช่น ผักแว่น
  • ประเภทอาลจี เช่น ตะไคร่น้ำ

การป้องกันกำจัด 

  • ไถดะ เพื่อกลบวัชพืช 7-10 วัน ไถแปร เพื่อทำลายวัชพืชที่งอกใหม่
  • คราด เก็บเศษ ซาก ราก เหง้า วัชพืชข้ามปีออกจากแปลง
  • คราดปรับระดับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ
  • หว่านหรือหยอดเมล็ดข้าวงอกที่สะอาดไม่มีวัชพืชเจือปน โดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์สูงกว่าปกติ
  • กำจัดวัชพืชด้วยมือ เมื่อ 30-45 วันหลังหว่านข้าว