การจัดการดินและปุ๋ยในนาข้าว

ปุ๋ยอินทรีย์

         ปุ๋ยอินทรีย์ คือปุ๋ยที่ได้จากการหมัก สับ บด ร่อน หรือทำมาจากวัสดุอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก เป็นต้น ปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์ ขึ้นกับชนิดของวัสดุอินทรีย์ที่ใช้

 

ปุ๋ยหมัก

         ปุ๋ยหมัก คือปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากวัสดุอินทรีย์ ซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธีทำให้ชื้น สับ บด ร่อน ผ่านการหมักโดยสมบูรณ์ เช่น ปุ๋ยหมักฟางข้าว

ปัจจัยสำคัญของการทำปุ๋ยหมัก

1. วัตถุดิบ วัสดุอินทรีย์ที่ใช้ทำปุ๋ยหมัก มีความหลากหลาย ตั้งแต่เศษใบไม้แห้ง จนถึงของเหลือทิ้ง
     หรือขยะจากบ้านเรือน อุตสาหกรรม แต่ไม่ควรเป็นขยะพิษ

2. อัตราส่วนคาร์บอนและไนโตรเจน วัสดุอินทรีย์ ที่มีอัตราส่วนคาร์บอนและไนโตรเจน (C/N ratio) ต่ำ
    เช่นหญ้าต่าง ๆ จะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยหมักได้รวดเร็วกว่าวัสดุที่มีค่าอัตราส่วนคาร์บอน และไนโตรเจน เช่น แกลบ ซังข้าวโพด

3. อุณหภูมิ เป็นปัจจัยสำคัญในการย่อยสลาบ ช่วงที่อุณหภูมิสูง จะช่วยทำลายเชื้อโรคและเมล็ดวัชพืช

4. ความชื้น ความชื้นที่มากเกินไปของกองปุ๋ยหมัก จะทำให้สภาพไม่มีอากาศ โดยความชื้นที่

     พอเหมาะคือ ประมาณ 50-60 % ทั้งนี้ขึ้นกับวัสดุอินทรีย์ที่ใช้ด้วย

5. ความเป็นกรด-ด่าง การเกิดกรดอินทรีย์ ในระหว่างการกองปุ๋ยหมัก รวมทั้งอุณหภูมิที่สูงขึ้น    

    จะทำให้ความเป็นกรด-ด่าง เปลี่ยนแปลงและกลับสู่สมดุลเมื่อการย่อยสลายสมบูรณ์

6. จุลินทรีย์ มีในการทำปุ๋ยหมัก จุลินทรีย์หลายชนิด มีบทบาทเกี่ยวข้องกัน แต่ละชนิดเหมาะกับ

    สภาวะแต่ละช่วงเวลา

7. การถ่ายเทอากาศ เป็นการเติมออกซิเจนให้กับจุลินทรีย์ และถ่ายเทของเสียออกจากกองปุ๋ยหมัก

    ช่วยให้ขบวนการย่อยสลายเกิดได้เร็วยิ่งขึ้น

หลักการทำปุ๋ยหมัก

         1. เลือกวัสดุอินทรีย์ ควรใช้วัสดุที่หาง่าย ย่อยสลายได้รวดเร็ว

         2. ใส่ตัวเร่งการย่อยสลาย เช่น มูลสัตว์ กากน้ำตาล ดิน

         3. สถานที่กอง ควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำ

วิธีการกรองปุ๋ยหมัก

         1. วางเรียงวัสดุอินทรีย์ ให้หนาพอสมควร

         2. รดน้ำพอชุ่ม

         3. โรยตัวเร่ง เช่น มูลสัตว์ ขี้เถ้าแกลบ หรือรำข้าว ในอัตราส่วน วัสดุอินทรีย์ : ตัวเร่ง 10 : 1 หรือ

             วัสดุอินทรีย์ : มูลสัตว์ : ปุ๋ยยูเรีย 100 :10 : 1 ซึ่งยากในการใช้ปุ๋ยยูเรีย จะนำไปใช้ในการผลิตข้าวอินทรีย์ไม่ได้

         4. เรียงชั้นต่อไป โดยทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 1-3 จนกองสูงประมาณ 1 เมตร และโรยด้วยดินหนาประมาณ   

1 นิ้ว ทับชั้นบนสุด เพื่อป้องกันน้ำระเหย

ลักษณะของปุ๋ยหมักที่ดี

         1. มีการย่อยสลายสมบูรณ์ มักมีสีน้ำตาลเข้ม

         2. อุณหภูมิภายในกอง ไม่แตกต่างจากภายนอก

         3. วัสดุอินทรีย์เปื่อย ยุ่ย กลายเป็นเนื้อเดียวกัน

 

ปุ๋ยคอก

ปุ๋ยคอก คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากมูลและสิ่งขับถ่ายจากสัตว์ เช่น มูลไก่ มูลเป็ด มูลสุกร มูลกระบือ  มูลค้างคาว

 

ปริมาณธาตุอาหารหลักในปุ๋ยคอก

         ปริมาณธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในปุ๋ยคอก มีความแตกต่างกัน ขึ้นกับอาหารที่สัตว์นั้นได้รับ

ชนิดปุ๋ย

ไนโตรเจน (%)

ฟอสฟอรัส (%P2O5)

โพแทสเซียม (%K2O)

มูลวัว

1.10

0.40

1.60

มูลควาย

0.97

0.60

1.66

มูลสุกร

1.30

2.40

1.0

มูลไก่

2.42

6.29

2.11

มูลเป็ด

1.02

1.84

0.52

มูลค้างคาว

1.54

14.28

0.60

กระดูกป่น

3.40

27.14

0.04

 

อัตราการใส่ปุ๋ยคอก

         เนื่องจากปริมาณธาตุอาหาร ในปุ๋ยคอกแต่ละชนิด มีความแตกต่างกัน ขึ้นกับอาหารที่สัตว์นั้น ๆได้รับ ดังนั้น อัตราการใส่ปุ๋ยคอกแต่ละชนิดจึงแตกต่างกัน กล่าวคือ อัตราแนะนำสำหรับปุ๋ยคอกจากมูลไก่ มูลเป็ด มูลสุกร 500 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนมูลวัว กระบือ แนะนำให้ใส่ อัตรา 1,000-2,000 กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากนี้ ระยะเวลาในการเพิ่มผลผลิตข้าว ยังแตกต่างกันด้วย เช่น การใส่มูลไก่ 500 กิโลกรัมต่อไร่ สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้ในฤดูแรก ในขณะที่การใส่มูลวัว 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ อาจต้องใช้ระยะเวลามากกว่า 1 ฤดูจึงจะได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

 

ปุ๋ยพืชสด

         ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการปลูกพืช เพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสด มีทั้งพืชอายุสั้น เช่น พืชตระกูลถั่วต่างๆ ตลอดจนพืชอายุข้ามปี รวมทั้งพืชขนาดเล็ก ตระกูลเฟิร์น ได้แก่ แหนแดง

 

ลักษณะที่ดีของพืชที่ปลูกเป็นปุ๋ยพืชสด

         1. เจริญเติบโตรวดเร็ว และออกดอกในเวลาสั้น

         2. ให้น้ำหนักสดได้มาก ในระยะเวลาสั้น

         3. ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี และมีศตรูพืชรบกวนน้อย

         4. ไถกลบลงดินแล้ว ย่อยสลายได้รวดเร็ว

 

ชนิดของพืชปุ๋ยสด

         1. พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ปอเทือง โสนอัฟริกัน

         2. พืชตระกูลถั่ว

         3. พืชน้ำ เช่น ผักตบชวา จอก แหน แหนแดง

 

ปริมาณธาตุอาหารหลักในปุ๋ยพืชสด

ชนิดปุ๋ยพืชสด

ไนโตรเจน (%N)

ฟอสฟอรัส (%P2O5)

โพแทสเซียม (%K2O)

ฟางข้าว

0.59

0.08

1.72

ใบกระถินณรงค์

1.58

0.10

0.40

ใบยูคาลิปตัส

0.68

0.07

0.03

ผักตบชวา

1.55

0.46

0.49

โสนอัฟริกัน

1.68

0.15

2.40

โสนอินเดีย

2.25

0.35

3.03

ถั่วเหลือง

2.71

0.56

2.47

ถั่วเขียว

1.85

0.23

3.00

ซังข้าวโพด

1.78

0.25

1.53

ต้นข้าวโพด

0.71

0.11

1.38

ต้นมันสำปะหลัง

1.23

0.24

1.23