ระบบการผลิตข้าว

วิธีปฏิบัติและวิธีตรวจสอบในการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์

 

วิธีปฏิบัติ (Implementation) เกณฑ์กำหนด (Requirement)
และวิธีตรวจสอบ (Assessment and inspection procedures) ในการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์

องค์ประกอบการผลิต

(Components)

วิธีปฏิบัติและเกณฑ์กำหนด

(Implementation and requirement)

วิธีตรวจสอบ

(Assessment and inspection procedures)

(1) การจัดการพื้นที่ปลูก หรือแหล่งผลิต

(1) กำหนดขอบเขตพื้นที่อย่างชัดเจนจัดทำแผนที่นารายโฉนดที่รวมกันเป็น     ผืนใหญ่ มีพิกัด GPS โดยรอบแปลงนา    จัดทำทะเบียนนารายเกษตรกร ข้อมูลสภาพแวดล้อม กิจกรรมเกษตรต่าง ๆ      ในพื้นที่ ทั้งนี้ มีช่วงระยะปรับเปลี่ยน     เข้าสู่ระบบอินทรีย์ 1 ปี

(1) ตรวจพินิจสภาพแวดล้อมประกอบแผนที่และจุดพิกัดตรวจสอบนา     และเจ้าของนาให้ตรงกันตามทะเบียนที่ได้รับและจำนวนพื้นที่นาของเกษตรกรแต่ละราย ให้รหัสนา/คนตรงกัน   ตรวจกิจกรรมเกษตรอื่น ๆ ในพื้นที่

1.1 ดินและน้ำ

1.1 ไม่มีวัตถุอันตรายที่อาจจะทำให้เกิดการตกค้างหรือปนเปื้อนในผลผลิตข้าว

1.1 ตรวจพินิจสภาพแวดล้อมหากอยู่ในสภาวะเสี่ยง ให้เก็บตัวอย่างตรวจ

1.2 แนวป้องกันการปนเปื้อน และปัจจัยเสี่ยง/ปัจจัยสนับสนุน

1.2 พื้นที่โดยรอบ โดยเฉพาะด้านบนที่   น้ำไหลลงมา จะต้องไม่มีแหล่งกำเนิดวัตถุอันตราย หากมีจะต้องทำแนวป้องกันการปนเปื้อนทั้งทางน้ำและทางอากาศ

1.2 ตรวจพินิจสภาพแวดล้อม แนวป้องกันการปนเปื้อนที่จัดทำขึ้น เช่น   คันนาขนาดใหญ่ สำรวจแหล่งต้นน้ำเข้านา ทำข้อมูลปัจจัยสนับสนุน เช่น ป่าไม้

1.3 กิจกรรมเกษตร

     อื่น ๆ ในพื้นที่

1.3 สนับสนุน/เกื้อกูลการผลิตข้าวอินทรีย์หากขัดกับข้อกำหนดจะต้องแบ่งแยกชัดเจน

1.3 ตรวจพินิจและสอบถามกิจกรรม ในพื้นที่ ประเมินการเกื้อกูล/ความเสี่ยง

(2) การจัดการ   

     เพาะปลูกข้าว

     หรือวิธีการผลิต

(2) จะต้องจัดทำแผนการเพาะปลูกข้าวอินทรีย์ในทุกองค์ประกอบ เสนอให้หน่วยตรวจสอบ/รับรอง และร่วมแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสม

(2) ประเมินแผนการผลิตว่าตรงกับหลักการเกษตรอินทรีย์ หากมีข้อใดขัด กับหลักการให้แนะนำและแก้ไข ปรับปรุงร่วมกับผู้ผลิต (ชาวนา)

2.1 พันธุ์ข้าวและ        

     เมล็ดพันธุ์

2.1 ใช้พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 หรือ กข15 จากแหล่งเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ หรือขยายพันธุ์ข้าวใช้เองภายในกลุ่มผู้ปลูกข้าวอินทรีย์

2.1 ตรวจสอบพันธุ์ข้าวตรงตามมาตรฐานและแหล่งที่ได้มาของเมล็ดพันธุ์ข้าว จำนวนเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ใช้   ในฤดูปลูก

2.2 การเตรียมดิน

2.2 ไถเตรียมดิน โดยการไถดะและไถแปรโดยใช้รถแทรกเตอร์ หรือแรงงานสัตว์ ในช่วง เดือน เม.ย.-พ.ค.แล้วพรวนกลบเมล็ดข้าว  ในกรณีหว่านข้าวแห้ง หรือพรวนคราด      ในสภาพน้ำขังสำหรับปักดำ

2.2 ตรวจพินิจการไถพรวนและการใช้เครื่องมือจักรกลและอุปกรณ์ว่าสอดคล้องกับสุขลักษณะที่ดี

2.3 วิธีปลูก

2.3 ปลูกโดยวิธีหว่านข้าวแห้ง (ในแหล่งที่วัชพืชไม่รุนแรง) ในเดือน พ.ค. อัตรา 15 กก./ไร่ โดยผสมเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว 5 กก./ไร่ เพื่อช่วยคลุมดินและเป็นปุ๋ยพืชสด หรือปลูกโดยวิธีปักดำ อัตรา 10 กก./ไร่ ตกกล้าเดือนมิ.ย. อัตรา 70 กรัม/ม.2 มีน้ำเลี้ยงแปลงกล้าตลอดอายุกล้า 30-35 วัน ปักดำ ระยะ 25x25 ซม. โดยประมาณ ในเดือน ก.ค.-ส.ค.

2.3 ตรวจประเมินวิธีปลูกว่าเหมาะสม ตามสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศของปีเพาะปลูกนั้น ๆ ปัญหาที่เกิดขึ้น ใน ขั้นตอนนี้ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อผลผลิตและคุณภาพข้าว

2.4 การจัดการน้ำ

2.4 ดูแลรักษาคันนาให้เก็บน้ำได้ดี ช่วงตกกล้าและปักดำอาจใช้น้ำใต้ดินและน้ำจากบ่อสำรองน้ำเสริม ในกรณีที่น้ำฝนไม่เพียงพอและ/หรืออาจใช้น้ำจากแหล่งชลประทานก็ได้ ก่อนข้าวสุกแก่ 10-15 วัน ให้ระบายน้ำออกจากนา เพื่อให้ดินนาแห้งทั่วกัน

2.4 ตรวจประเมินวิธีกักเก็บน้ำในนา ที่มา หรือแหล่งน้ำ โอกาสในการปนเปื้อนของสารเคมีและสารพิษสู่นาข้าว หากมีความเสี่ยงให้ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำ  ในช่วงเวลาดังกล่าว

2.5 การจัดการความ  

     อุดมสมบูรณ์ของดิน

2.5 เริ่มจากการไกกลบตอซัง เดือน ธ.ค.-มี.ค. ปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ปอเทือง โสนอัฟริกัน หรือถั่วเขียว อัตรา 5 กก./ไร่ ช่วงเดือน เม.ย.-มิ.ย. และไถกลบ หากพิจารณาว่าปริมาณธาตุอาหารพืชยังไม่เพียงพอ ใส่ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอก จากแหล่งในพื้นที่ ที่ไม่ใช้สารเคมีหรือสารปฏิชีวนะในการเลี้ยงอัตรา 200-1,000 กก./ไร่ ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินและปริมาณธาตุอาหารพืช ที่ได้จากตอซังและปุ๋ยพืชสดแล้ว

2.5 ตรวจสอบที่มาของวัสดุที่นำมาใช้     คือ เมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และสารปรับปรุงดินอื่น ๆ เช่น โดโลไมท์     หินฟอตเฟต บันทึกปริมาณที่ใช้และติดตามผลของการจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน การใช้เครื่องจักรกลในการเตรียมปุ๋ยอินทรีย์ และไถกลบ รวมทั้งช่วงเวลาที่ปฏิบัติงาน

2.6 การป้องกันและกำจัด

     ศัตรูข้าว

2.6 ป้องกันกำจัดตามความจำเป็น   โดยเน้นสมดุลของศัตรูธรรมชาติและความแข็งแรงของต้นข้าว ก่อนที่จะใช้สารจากธรรมชาติ หรือสารอินทรีย์     ที่อนุญาตให้ใช้ได้

2.6 ตรวจประเมินและบันทึกการระบาดหรือความรุนแรงของศัตรูข้าว และวิธีควบคุมหรือป้องกันกำจัด

2.6.1 สัตว์ศัตรูข้าว

2.6.1 ปูและหอยเชอรี่ ให้ลดระดับน้ำในนา ใช้กับดักหรือจับมาเป็นอาหารสัตว์เลี้ยงและทำน้ำหมักชีวภาพ หากจำเป็น ให้ใช้พืชมีพิษกำจัด เช่น โล่ติ๊น ใบยาสูบ      นกและหนูให้ใช้กับดัก ใช้คนไล่ และวิธีล้อมรั้วป้องกัน อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ เช่น งู เหยี่ยว พังพอน เป็นต้น

2.6.1 กรณีใช้วัสดุอุปกรณ์กำจัด    ให้ตรวจแหล่งที่มาและบันทึกผล   การใช้ สังเกตและบันทึกชนิดและความรุนแรง ปริมาณศัตรูธรรมชาติ

 

2.6.2 แมลงศัตรูข้าว

2.6.2 รักษาระดับน้ำให้พอดี สำหรับต้นข้าวให้มีความแข็งแรงและ สนับสนุน แมลงศัตรูธรรมชาติ ให้รักษาสมดุลปริมาณแมลงในนา กรณีมีการระบาดมากอาจใช้สารที่อนุญาตให้ใช้ได้ เช่น สะเดา กำมะถัน น้ำหมัก สมุนไพร       เป็นต้น

2.6.2 ตรวจประเมินและบันทึกการระบาดและวิธีป้องกันกำจัด (ถ้ามี) ตรวจชนิดสารที่ใช้และแหล่งที่มา

2.6.3 โรคข้าว

2.6.3 ให้ธาตุอาหารพืชอย่างสมดุลโดยเฉพาะธาตุไนโตรเจนจะต้องไม่มากเกินไป จะได้ต้นข้าวที่แข็งแรง ทนทานต่อโรค กรณีมีการระบาดมากอาจใช้สารจากพืช สัตว์และแร่ธาตุธรรมชาติที่อนุญาต เช่น บอร์โดมิกเจอร์ หรือจุลินทรีย์

2.6.3 ตรวจประเมินและบันทึกการระบาดและวิธีป้องกันกำจัด (ถ้ามี) ตรวจชนิดและแหล่งที่มาของสารที่ใช้

 

2.6.4 วัชพืช

2.6.4 กรณีแหล่งปลูกมีวัชพืชมาก  ให้ทำนาดำ รักษาระดับน้ำขังในนาให้พอดีตามระยะการเติบโตของข้าว เตรียมดินให้ราบเรียบสม่ำเสมอและจมน้ำโดยทั่ว หากยังมีวัชพืชอยู่ในนา ให้ถอนหรือใช้เครื่องมือกำจัดวัชพืช

2.6.4 ตรวจประเมินและบันทึกวิธีการเตรียมดินและวิธีปลูก  ปริมาณวัชพืชในนา การถอน หรือใช้เครื่องมือกำจัดวัชพืช

2.7 การเก็บเกี่ยวและลดความชื้นข้าวเปลือก

2.7 เก็บเกี่ยวข้าวที่ระยะพลับพลึง หลังออกรวงประมาณ 28-32 วัน โดยใช้คนเกี่ยวด้วยเคียวหรือเครื่องเกี่ยววางราย ตากสุ่มซัง 2-3 วัน      แล้วรวมกองไว้รอการนวดด้วยแรงคน หรือเครื่องนวดข้าวต่อไป หรืออาจใช้เครื่องเกี่ยวนวดแล้วลดความชื้นภายใน 24 ชม. หลังเก็บเกี่ยว กรณีใช้เครื่องนวดข้าวหรือเครื่องเกี่ยวนวด (Combined harvester) ให้ทำความสะอาดเครื่องและกำจัดเมล็ดข้าวที่ติดมากับเครื่องก่อนไปปฏิบัติงาน

2.7 ตรวจพินิจการเก็บเกี่ยวตากและนวด การแยกข้าวอินทรีย์จากข้าวทั่วไป สุ่มเก็บตัวอย่างข้าวเปลือก รักษาไว้เพื่อการทวนสอบ

(3) การจัดการ

    ผลผลิตข้าว

(3) จะต้องแจ้งประมาณการผลผลิตที่คาดว่า   จะได้ กำหนดการเก็บเกี่ยว เมื่อบรรจุกระสอบแล้วติดรหัส เก็บรักษาเบื้องต้นระหว่างขนย้าย แปรรูป และบรรจุผลิตภัณฑ์แต่ละครั้ง (Lot)

(3) ตรวจปริมาณผลผลิต การบรรจุและติดรหัส บันทึกปริมาณผลผลิต เก็บตัวอย่างไปตรวจวิเคราะห์คุณภาพและสารตกค้าง (กรณีที่มีความเสี่ยง)

3.1 การขนย้าย

     ผลผลิตข้าวเปลือก

3.1 อุปกรณ์ (กระสอบ) ที่ใช้บรรจุและพาหนะขนย้าย จะต้องสะอาด ปราศจากการปนเปื้อนของวัตถุอันตรายและจากข้าวอื่น ๆ

3.1 ตรวจบันทึกปริมาณผลผลิต    ที่ขนย้ายเอกสารประกอบการ      ซื้อขาย/รวบรวมผลผลิตข้าวเปลือกในแต่ละงวดที่ดำเนินการ

3.2 การเก็บรักษาข้าวเปลือก

 

 3.2  สถานที่เก็บรักษาจะต้องสะอาดและถูกสุขลักษณะ เป็นโรงเก็บที่แยกมาเป็นสัดส่วน สามารถป้องกันการปนจากข้าวทั่วไปได้ มีการระบายอากาศดี กำจัดศัตรูข้าวในโรงเก็บด้วยวิธีกลและการรักษาความสะอาดในโรงเก็บ

 3.2 ตรวจสถานที่เก็บรักษาผลผลิต บันทึกปริมาณผลผลิตที่นำเข้า    เก็บรักษา

3.3 การแปรรูป

     (การสีข้าว)

3.3 ก่อนการสีข้าวจะต้องทำความสะอาดและกำจัดข้าวปนออกจากเครื่องสีข้าว แจ้งปริมาณ (lot) ข้าว     ที่จะแปรรูปให้แก่หน่วยตรวจสอบ เมื่อแปรรูปแล้ว จัดเก็บข้าวสาร/ข้าวกล้องที่ได้แยกจากข้าวทั่วไป แล้วแจ้งหน่วยตรวจสอบ

3.3 ตรวจพินิจการทำความสะอาด 

เครื่องสีข้าว เก็บตัวอย่างข้าวเปลือกที่จะแปรรูป บันทึกปริมาณและรหัสข้าวที่จะแปรรูป ตรวจบันทึกข้าวสาร/ข้าวกล้องที่ได้จากการแปรรูป เก็บตัวอย่างข้าวแต่ละ Lot

3.4 การบรรจุผลิตภัณฑ์    

    (ข้าวสาร ข้าวกล้อง)

3.4 ขนส่งหรือลำเลียงข้าวสาร/ข้าวกล้องไปคัดคุณภาพ (grading) และบรรจุถุงขนาดต่าง ๆ ป้องกันแมลงในถุงผลิตภัณฑ์ ด้วยการบรรจุแบบสุญญากาศหรือเติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

3.4 ตรวจสอบปริมาณผลิตภัณฑ์

การบรรจุผลิตภัณฑ์ และบันทึกรายงาน

(4) การบันทึกข้อมูล

(4) ต้องมีการบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวกับการได้มาซึ่งวัสดุที่นำเข้ามาใช้ในระบบการผลิต การปฏิบัติในขั้นตอนต่าง ๆ ตามองค์ประกอบการผลิต ลงในแบบฟอร์มที่หน่วยรับรองกำหนด

(4) บันทึกรายงานผลการตรวจประเมิน/ตรวจสอบและตรวจวิเคราะห์ ให้แก่หน่วยรับรอง (Certify body) เพื่อพิจารณาให้การรับรองผลิตภัณฑ์