เครื่องจักรกลและเขตกรรม

วิธีการปลูกข้าวของประเทศไทย

 

          ประเทศไทยมีพื้นที่การปลูกข้าวประมาณ 64 ล้านไร่ ซึ่งในแต่ละภาคก็จะพื้นที่การปลูกข้าวที่ไม่เท่ากัน โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่การปลูกข้าวมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือและภาคใต้ ตามลำดับ ในปัจจุบันมีการแบ่งวิธีการปลูกข้าวอยู่ 4 วิธี คือ การปลูกข้าวนาดำ การปลูกข้าวนาหว่าน การปลูกข้าวนาไร่ และการปลูกข้าวนาขั้นบันได ซึ่งการปลูกข้าวในแต่ละวิธีก็จะขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นที่นั้นๆ เช่น ในพื้นที่ราบลุ่มก็จะมีการปลูกข้าวแบบข้าวนาหว่านหรือข้าวนาดำ ส่วนในพื้นที่สูง หรือบนดอยก็จะปลูกข้าวแบบข้าวไร่หรือข้าวนาขั้นบันได เป็นต้น

          การปลูกข้าวในปัจจุบันมีการใช้แรงงานคนน้อยเนื่องจากแรงงานในภาคเกษตรลดลงมีไม่เพียงพอต่อความต้องการและมีค่าจ้างแรงงานสูงทำให้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน รวมทั้งจะใช้เวลาในการผลิตข้าวมาก  ทำให้ไม่ทันต่อการทำนาในครั้งต่อไป ดังนั้นเครื่องจักรกลเกษตรในรูปแบบต่างๆ จึงเข้ามาบทบาทสามารถทดแทนแรงงานคนได้ในเกือบทุกขั้นตอนของการผลิตข้าวในปัจจุบันและอนาคต  

 

การปลูกข้าวนาดำ

การปลูกข้าวนาดำ หมายถึง การปลูกข้าวนาสวนในสภาพพื้นที่ลุ่มน้ำขัง โดยใช้ต้นกล้าข้าวทำการ
ปักดำลงไปในดินแปลงนา ซึ่งจะมีขั้นตอนของการปลูกข้าวแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะต้นกล้า และระยะปักดำ โดยในแต่ระยะจะสามารถนำเครื่องจักรกลเกษตรมาใช้ ดังนี้

ระยะต้นกล้า จะมีขั้นตอน ดังนี้

         1. ทดน้ำเข้าแปลง                  เครื่องสูบน้ำ

         2. เปิดหน้าดิน                       ไถหัวหมู, ไถจาน, โรตารี

         3. ย่อยดิน                             ขลุบ, คราด

         4. ทำเทือก                            แผ่นปรับระดับดิน, เครื่องชักร่องน้ำ

         5. ระบายน้ำออกจากแปลง      เครื่องสูบน้ำ

         5. หว่านเมล็ด                        เครื่องหว่านเมล็ด

         6. หว่านปุ๋ย                           เครื่องหว่านปุ๋ย

         7. ทดน้ำเข้าแปลง                  เครื่องสูบน้ำ

         8. ถอนกล้า                           แรงงานคน

 

ระยะปักดำ จะมีขั้นตอน ดังนี้

         1.ทดน้ำเข้าแปลง                   เครื่องสูบน้ำ

         2. เปิดหน้าดิน                       ไถหัวหมู, ไถจาน, โรตารี

         3. ย่อยดิน                             ขลุบ, คราด

         4. ปักดำ                               เครื่องปักดำแบบเดินตาม, เครื่องปักดำแบบนั่งขับ

         5. ระบายน้ำเข้าแปลง             เครื่องสูบน้ำ

         6. หว่านปุ๋ย                           เครื่องหว่านปุ๋ยแบบสะพายหลัง, เครื่องหว่านปุ๋ยแบบติดเครื่องต้นกำลัง

         7. พ่นยา                               เครื่องพ่นยาแบบสะพายหลัง, เครื่องพ่นยาแบบติดเครื่องต้นกำลัง

         8. ระบายน้ำออกจากแปลง      เครื่องสูบน้ำ

         9. เก็บเกี่ยว                           เครื่องเก็บเกี่ยวนวด, เครื่องเกี่ยววางราย, เคียว

       10. นวดข้าว                            เครื่องนวดข้าวแบบใช้แรงงานคน, เครื่องนวดข้าวแบบใช้เครื่องยนต์

        11. ลดความชื่นข้าวเปลือก       รถเกลี่ย/รถตักข้าว, เครื่องอบลดความชื้น

        12. เก็บรักษา                          ไซโล, ฉางข้าว

        13. ขนส่ง                                รถอีแต๊ก, รถอีแต๋น, รถยนต์ 4-10 ล้อ

 

การปลูกข้าวนาหว่าน

      การปลูกข้าวนาหว่าน หมายถึง การปลูกข้าวนาสวนในสภาพพื้นที่ลุ่มน้ำขัง โดยใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว          หว่านในพื้นที่แปลงนา ในการปลูกข้าวนาหว่านจะมีอยู่ 2 แบบ คือ การหว่านข้าวนาน้ำตมและการหว่านข้าวนาแห้ง ซึ่งทั้ง 2 แบบขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นที่ โดยแต่ละวิธีมีการใช้เครื่องจักรกลเกษตรใน
แต่ละขั้นตอนการปลูก ดังนี้

  • การหว่านน้ำตม  

       เป็นการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวในพื้นที่ที่มีน้ำหรือในเขตชลประทาน ซึ่งจะต้องมีการเตรียมพื้นที่ทำนาให้เป็นตมเสียก่อนที่จะทำการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เพาะให้งอกเล็กน้อยลงไป โดยมีการใช้เครื่องจักรกลเกษตรในแต่ละขั้นตอนการปลูกข้าว ดังนี้

         1. ทดน้ำเข้าแปลง                 เครื่องสูบน้ำ

         2. เปิดหน้าดิน                       ไถหัวหมู, ไถจาน, โรตารี

         3. ย่อยดิน                             ขลุบ, คราด

         4. ทำเทือก                            แผ่นปรับระดับดิน, เครื่องชักร่องน้ำ

         5. ระบายน้ำออกจากแปลง      เครื่องสูบน้ำ

         6. หว่านเมล็ดข้าว                  เครื่องหว่านเมล็ดแบบสะพายหลัง, เครื่องหว่านเมล็ดแบบจานเหวี่ยง

         7. หว่านปุ๋ย                           เครื่องหว่านปุ๋ยแบบสะพายหลัง, เครื่องหว่านปุ๋ยแบบติดเครื่องต้นกำลัง

         8. ทดน้ำเข้าแปลง                  เครื่องสูบน้ำ

         9. พ่นยา                               เครื่องพ่นยาแบบสะพายหลัง, เครื่องพ่นยาแบบติดเครื่องต้นกำลัง

        10. ระบายน้ำออกจากแปลง    เครื่องสูบน้ำ

        11. ลดความชื่นข้าวเปลือก      รถเกลี่ย/รถตักข้าว, เครื่องอบลดความชื้น

        12. เก็บเกี่ยว                         เครื่องเก็บเกี่ยวนวด, เครื่องเกี่ยววางราย, เคียว

        13. นวดข้าว                          เครื่องนวดข้าวแบบใช้แรงงานคน, เครื่องนวดข้าวแบบใช้เครื่องยนต์

        14. เก็บรักษา                        ไซโล, ฉางข้าว

        15. ขนส่ง                              รถอีแต๊ก, รถอีแต๋น, รถยนต์ 4-10 ล้อ

 

  •  การหว่านข้าวแห้ง

      การหว่านข้าวแห้ง หรือเรียกว่า หว่านสำรวย เป็นการหว่านข้าวในพื้นที่ที่ไม่มีน้ำหรือหว่านเพื่อรอฝนตก ซึ่งจะต้องมีการเตรียมพื้นที่ในลักษณะการไถพลิกหน้าดินก่อนรอบแรกเพื่อทำการตากหน้าดิน จากนั้นจึงใช้พรวนจานอีกครั้งเพื่อทำการย่อยดินให้ละเอียดมากขึ้น แล้วจึงค่อยทำการหว่านข้าวหรือทำพร้อมกับการพรวนดินรอบสองก็ได้ โดยมีการใช้เครื่องจักรกลเกษตรในแต่ละขั้นตอนการปลูกข้าว ดังนี้

         1. เปิดหน้าดิน                       ไถหัวหมู, ไถจาน

         2. ย่อยดิน                             พรวนจาน

         3. หว่านเมล็ดข้าวแห้ง            เครื่องหว่านเมล็ดแบบสะพายหลัง, เครื่องหว่านเมล็ดแบบจานเหวี่ยง

         4. หว่านปุ๋ย                           เครื่องหว่านปุ๋ยแบบสะพายหลัง, เครื่องหว่านปุ๋ยแบบติดเครื่องต้นกำลัง

         5. พ่นยา                               เครื่องพ่นยาแบบสะพายหลัง, เครื่องพ่นยาแบบติดเครื่องต้นกำลัง

         6. ระบายน้ำออกจากแปลง     เครื่องสูบน้ำ

         7. เก็บเกี่ยว                           เครื่องเก็บเกี่ยวนวด, เครื่องเกี่ยววางราย, เคียว

         8. นวดข้าว                            เครื่องนวดข้าวแบบใช้แรงงานคน, เครื่องนวดข้าวแบบใช้เครื่องยนต์

         9. ลดความชื่นข้าวเปลือก       รถเกลี่ย/รถตักข้าว, เครื่องอบลดความชื้น

       10. เก็บรักษา                          ไซโล, ฉางข้าว

       11. ขนส่ง                                รถอีแต๊ก, รถอีแต๋น, รถยนต์ 4-10 ล้อ

 

การปลูกข้าวไร่

     การปลูกข้าวนาไร่ หมายถึง การปลูกข้าวในสภาพที่ไม่มีน้ำขัง และจะต้องใช้น้ำฝนเท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่สูง เชิงเขา ที่ดอนหรือบนดอยสูง ซึ่งการปลูกข้าวจะใช้วิธีการหยอดเป็นหลุม หรือการโรยเป็นแถว ในการใช้เครื่องจักรกลเกษตรส่วนใหญ่จะใช้เครื่องจักรกลเกษตรขนาดเล็กเท่านั้น ไม่สามารถใช้เครื่องจักรกลเกษตรขนาดใหญ่ได้เนื่องสภาพพื้นที่มีความลาดชันสูง โดยมีการใช้เครื่องจักรกลเกษตรในแต่ละขั้นตอน               การปลูกข้าว ดังนี้

         1. เปิดหน้าดิน                       ไถหัวหมู, ไถจาน, จอบ

         2. หยอด/โรยเมล็ดข้าว          เครื่องหยอดเมล็ดแบบหลุม, เครื่องโรยเมล็ดแบบแถว

         3. หว่านปุ๋ย                           เครื่องหว่านปุ๋ยแบบสะพายหลัง

         4. พ่นยา                               เครื่องพ่นยาแบบสะพายหลัง

         5. เก็บเกี่ยว                           เคียว

         7. นวดข้าว                            เครื่องนวดข้าวแบบใช้แรงงานคน, เครื่องนวดข้าวแบบใช้เครื่องยนต์ (ขนาดเล็ก)

         8. เก็บรักษา                           ฉางข้าว

         9. ขนส่ง                                รถอีแต๊ก, รถอีแต๋น

 

การปลูกข้าวแบบนาขั้นบันได

     การปลูกข้าวแบบนาขั้นบันได หมายถึง การปลูกข้าวในพื้นที่สูงหรือบนดอย โดยมีการปรับพื้นที่ตาม
ไหล่เขาให้เป็นขั้นบันไดและมีคันนาที่ความกว้างเพียงพอที่จะสามารถขังน้ำได้ วิธีการปลูกข้าวส่วนใหญ่จะใช้วิธีการปลูกแบบหยอดข้าวแห้งเช่นเดียวกับข้าวไร่ แบบปักดำเหมือนกับทางพื้นราบ และมีคลองขนาดเล็ก    หรือท่อส่งน้ำเข้าแปลงนาได้ ซึ่งจะมีขั้นตอนของการปลูกข้าวแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะต้นกล้าและระยะปักดำ โดยมีการใช้เครื่องจักรกลเกษตรในแต่ละขั้นตอนการปลูกข้าว ดังนี้

ระยะต้นกล้า จะมีขั้นตอน ดังนี้

         1. ทดน้ำเข้าแปลง                 เครื่องสูบน้ำขนาดเล็ก

         2. เปิดหน้าดิน                      ไถหัวหมู, ไถจาน

         3. ย่อยดิน                            ขลุบ, คราด

         4. ทำเทือก/ขึ้นแปลง              แผ่นปรับระดับดิน, เครื่องชักร่องน้ำ

         5. น้ำออกจากแปลง               เครื่องสูบน้ำ

         5. หว่านเมล็ด                        แรงงานคน

         6. หว่านปุ๋ย                           เครื่องหว่านปุ๋ย

         7. ทดน้ำเข้าแปลง                  เครื่องสูบน้ำ

         8. ถอนกล้า                            แรงงานคน

 

ระยะปักดำ จะมีขั้นตอน ดังนี้

         1. ทดน้ำเข้าแปลง                 เครื่องสูบน้ำ

         2. เปิดหน้าดิน                      ไถหัวหมู, ไถจาน

         3. ย่อยดิน                            ขลุบ, คราด

         4. ปักดำ                              เครื่องปักดำแบบเดินตาม

         5. ทดน้ำเข้าแปลง                 เครื่องสูบน้ำ

         6. หว่านปุ๋ย                          เครื่องหว่านปุ๋ยแบบสะพายหลัง

         7. พ่นยา                              เครื่องพ่นยาแบบสะพายหลัง

         8. ระบายน้ำออกจากแปลง     ขุดร่องระบายน้ำออก

         9. เก็บเกี่ยว                           เครื่องเกี่ยววางราย, เคียว

       10. นวดข้าว                            เครื่องนวดข้าวแบบใช้แรงงานคน, เครื่องนวดข้าวแบบใช้เครื่องยนต์ (ขนาดกเล็ก)

        11. เก็บรักษา                          ฉางข้าว

        12. ขนส่ง                               รถอีแต๊ก, รถอีแต๋น